เผยศีล 1 ข้อ ของผู้ประเสริฐ

ใ น ศี ล ห้า เป็นศีลของ มนุษย์ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้อง มีศีลห้าบริบูรณ์ ศีลห้าจึงเป็นศีล ของมนุษย์

มีคำถ า ม ถามว่า “มีใครรักษาศีลห้าได้ครบถ้วนตลอดชีวิตบ้าง” โปรดยกมือขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่มี คนยกมื อ

นี่ก็แสดงว่า ลำพังแต่ศีล เพียงห้าข้อก็รักษากันไว้ ไม่ได้เสี ยแล้ว

พ ระพุทธองค์ทรง แสดงไว้ว่ า “ให้รักษาใจ ตัวเดียว” ดังในสมัยพุทธกาล ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐รูปผู้บวชใหม่ เมื่อบวชแล้วได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เ พื่ อขอลาสิกขา โดยกล่าวว่ า ศีลของภิกษุมาก เหลือเกิน ปฏิบัติไม่ไหว จึงขอลาสิกขา พระพุทธองค์จึงให้ภิกษุรูปนั้น รักษาศีลเพียงข้อเดียว คือให้รักษาใจ

พ ระภิกษุรูปนั้น จึงรับถือศีลข้อเดียว จนได้สำเร็จอริยบุคคล

ห ลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบคำถามที่ว่า “ทราบว่าท่านรักษาศีล เพียงข้อเดียว มิได้รักษาทั้ง ๒๒๗ข้อ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหม”

ห ลวงปู่ฯ ตอบว่ า “ใช่ อาตมารักษา เพียงอันเดียว คือใจ อาตมารักษาใจ ไม่ให้คิดพูดทำ ในทางผิ ด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้าม ที่ทรงบัญญัติไว้จะเป็น๒๒๗ ข้อ

หรือมากกว่านั้น ก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติ ห้า ม อาตมาก็ใจเย็นว่าตนมิได้ทำผิ ด ต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗หรือไม่นั้น

สุ ดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจ อันเป็นประธานของกาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขันมาตลอด นับแต่เริ่มอุปสมบท ฯลฯ”

ใ จ เป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างใจ ถึงก่อน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ

-ใ จดี ทุกอย่างดีตามไปทั้งหมด

-ใ จชั่ ว ทุกอย่างชั่ วตามไปหมด เหมือนกัน

ทุ กอย่างอยู่ที่ตัวเรา เป็นผู้กำหนดในปัจจุบัน อดีต อนาคตไม่ต้องสนใจ เพราะอะไ ร

เ พราะอดีต และอนาคต ก็คือ ผลจากปัจจุบัน นั่นเอง

ก ลิ่ นศีลหอมทวนลม หอมกลิ่นดอกไม้ ที่นับถือ

ห อมแต่ตามลมลือ กลับย้อนหอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ ศีลสัตย์ นี้นา

ห อมสุดหอมสะท้อน ทั่วใกล้ไกลถึง

ทำอย่างไรจึง จะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตได้

การรักษาศีล คือ การมีเจตนางดเว้นจากการทำความชั่ ว ดังคำพุทธพจน์รับรองว่า “เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วะทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็น

เครื่องงดเว้น นั่นแหละคือ ศีล”

การง ดเว้น มีอยู่ ๓ ประการ คื อ

๑. ส ม าทานวิรัติ คือ การงดเว้นด้วยการสมาทาน เช่น สมาทานศีลกับพระ

๒. สั ม ปัตตวิรัติ คือ การง ดเว้นเมื่อมีเหตุบังเกิดขึ้น เฉพาะหน้าแม้ไม่สมาทาน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่จะผิ ดศีล และตั้งใจงดเว้นขึ้นในขณะนั้น

ถือว่าเป็นศีลเพราะตั้งใจงดเว้นเอาเอง

๓. ส มุ จ เฉทวิรัติ คือ การงดเว้นโดยเ ด็ ดข าด นั่นคือศีลของพระอริยะบุคคลซึ่ง เป็นโลกุตตระศีล เป็นศีลขั้นสูง เช่น พระโสดาบันรักษาสิกขาบท๕

หรือศีล ๕นี้ได้ตลอดชีวิต เป็นศีลที่รักษาได้โดยอัตโนมัติ คื องดเว้นโดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทานและไม่ต้องตั้งเจตนา

ศี ลนี้ หากใครรักษาดีแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้นั้น มากมายเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คื อ มีความเย็นใจไม่เ ดื อดร้อน เพราะเป็นผู้มีศีล ประโยชน์ในชาติหน้ า

พ ระพุทธองค์ได้ ทรงแสดงสรุปผล ของศีลไว้ ๓ ประการว่า

“สี เ ล นะสุคะติง ยันติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีลสีเลนะโภคะ สัมปะทา บุคคลจะมีโภคะได้ก็เพราะศีลสีเลนะ นิพพุติง ยันติ

บุคคลจะบรรลุ พ ระนิพพานได้ ก็เพราะ ศี ล”