Home »
ข่าว
»
จากสินค้าส่งออกมีชื่อเสียง และมีค่าที่สุดของราชอาณาจักร “กัญชาไทย” อาจเหลือไว้เพียงตำนาน
จากสินค้าส่งออกมีชื่อเสียง และมีค่าที่สุดของราชอาณาจักร “กัญชาไทย” อาจเหลือไว้เพียงตำนาน
ในยุคที่กัญชาฟีเวอร์ หลายๆประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนนาดา
หรือแม้ประทั้งประเทศลาว ตอนนี้ก็สามารถสร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศจากกั ญ
ช า
แต่กับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้
ทั้งในเรื่องของกฎหมาย หรือเหตุผลต่างๆนาๆ
จนทำให้ประเทศไทยนั้นเสียโอกาสและเสียผลประโยชน์ไป ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป กั ญ ช า ไทย ที่เคยได้ชื่อว่า ดีที่สุดในโลก อาจจะเหลือไว้เพียงแค่ตำนาน
“กัญชาไทย” อาจเหลือไว้เพียงตำนาน
ในประเทศของเราตอนนี้
ประเด็นที่หลายคนยังคงถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบคงมีอยู่มากมาย
แต่ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยหนึ่งในนั้นคือประเด็นเรื่องกั ญ ช า
หลายคนคงหวังอยู่ลึกๆว่าการถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบนี้จะเป็นการประกายการกลับมาของกัญชาในตำนานซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงและมีค่าที่สุดของราชอาณาจักรไทย
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่ตั้งในปี 1960
และให้ทหารประจำการอยู่นับหมื่นนาย
เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคทองของอุตสาหกรรมกัญชาไทย
ด้วยราคาที่ถูกแต่มีอานุภาพทรงพลัง
กัญชาไทยในยุคนั้นหาได้ทั่วไปเหมือนเหล้าเบียร์ในยุคนี้
“พวกเขาใช้ด้ายพันมันไว้ เอามันเสียบไม้ ทำมันอย่าพิถีพิถัน
ไม่แปลกเลยที่จะขายได้ง่ายกับพวกGI สองไม้ห้าไม้ต่อหนึ่งดอลลาร์
จำได้ว่ามีคนไทยเริ่มเอามาขายให้กับทหารอเมริกา ที่ไหนก็ตามที่มีพวกGI
ที่นั้นมีการซื้อขายเกิดขึ้น ”
แน่นอนครับมันคงเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกเสียจาก Thai stick อันเลื่องชื่อระบือนาม
“ทหารผ่านศึ กชาวเวียดนามคนหนึ่งเล่าว่า เพียงเห ล้ าจินขวดละแปดสิบเซ็น คุณสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเจ้าแท่งนั้นได้ยี่สิบแท่ง”
เจ้าThai stickแท่งแรกได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเหยียบแผ่นดินอเมริกาในปี
1960 ผ่านทางที่ทำการไปรษณีย์ของกองทัพบก
ความแตกต่างระหว่างกัญชาไทยกับกัญชาเวียดนามและกัมพูชานั้น
ถ้าจะให้เทียบก็น่าจะเป็นความแตกต่างระหว่างเหล้าข้าวโพดกับซิงเกิลมอลต์
วิสกี้ชั้นดีเลยทีเดียว ในปี 1967 มีเอเย่นในสหรัฐอเมริกาเรียกมันว่า
“ซิการ์คิวบาแห่งโลกกัญชา” เลยทีเดียว
“ ใครจะลืมเจ้าแท่งสีเขียวจากประเทศไทยที่หนาแน่นไร้เมล็ด แถมยังแข็งแกร่งซะยิ่งกว่ากระทิงแท่งนั้นได้”
เป็นปีๆที่อเมริกาคิดค้นเทคนิคการทำ sinsemilla
อันซับซ้อนนำมาผนวกเข้ากับการจัดการพืชผลของเกษตรกรนักปลูกกัญชาชาวอเมริกา(sinsemilla
คือส่วนยอดสุดของดอก ที่ไม่ได้เอาเกสรออก มีความเข้มข้นของ THC สูง)
นิตยสาร High Times ได้กล่าวไว้ว่า“
คนไทยอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าด้วยเทคนิคใดๆ”
ราคาเพียง 3 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัมจากไร่ในภาคอีสาน
แต่สามารถเรียกเงินได้สูงถึง 4,000
เหรียญสหรัฐในเมืองใดๆก็ตามในสหรัฐอเมริกายุค 1970 ได้อย่างง่ายดาย
ความต้องการของต่างประเทศสำหรับกัญชาสร้างความเจริญในภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศไทยในช่วงปี
1970 และ 80
ทางตอนเหนือของอุดรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในภาคอีสานซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่เท่ากับรัฐในอเมริกาหลายแห่ง
(62,000 ตารางไมล์)
ถึงแม้จะแห้งแล้งและมีฝุ่นมากในฤดูแล้ง
ถึงแม้ว่านาข้าวจะยากต่อการชะล้างและไม่ให้ผลผลิตมากนัก
แต่กัญชาไทยก็ยังคงต้องขอบคุณที่ดินลุ่มแม่น้ำโขงเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์และทรายปน
เกษตรกรในภาคอิสานของประเทศไทยใช้ความพิถีพิถันกับพืชกัญชาเช่นเดียวกับที่ชาวฝรั่งเศสใช้กับต้นองุ่น
“ พวกเขารู้วิธีเพาะปลูกที่ดี ผมหมายถึงวิธีการดูแลดอก
วิธีการแยกเพศกัญชา รู้ว่าควรแยกตัวผู้ออก” ชาวไทยคนหนึ่งกล่าว
หลังจากที่พวกเขาเก็บเกี่ยวและอบแห้งเจ้าดอกไม้พาสวรรค์
เขาและครอบครัวช่วยกันนำดอกกัญชาที่ได้มาเสียบกับแท่งไม้ไผ่ขนาดเล็กอย่างเป็นระเบียบและมัดเจ้าดอกสีเขียวนี้ด้วยเส้นใยป่าน
สิ่งที่ทำให้การทำให้กั ญ ช า เป็นอ าช ญ า ก ร ร
มเป็นเรื่องที่ลึกลงไปในจิตใจของคนเจ็นเนอเรชั่นหนึ่ง
ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือว่ามันถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงสมุนไพรหรือถูกนำมาใช้ทำอาหาร
หรือนำมาสันทนาการเหมือนย าสู บเท่านั้น
เจ้าพืชวิเศษที่ปลูกในประเทศไทย, ลาว,
กัมพูชาและเวียดนามมานานหลายศตวรรษและถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆเช่น
ปวดหัวไมเกรน, อหิวาตกโรค, มาลาเรีย, โรคบิด, โรคหอบหืด, การย่อยอาหาร, ป ร
สิ ต และอาการปวดหลังคลอด
“ เกือบทุกมุม บ้านทุกหลังพวกเขามีมันในบ้าน
ผู้สูงอายุทั้งหลายจะชอบมันมากๆ คนที่ทำงานหนักๆเขาจะชอบใช้เพื่อผ่อนคลาย
แต่พวกเขาจะใช้เป็นย าเมื่อรู้สึกเจ็บไข้ ดังนั้นหากคุณไม่อะไร
ก็เดินไปหยิบมันมาสักแท่งสิ” ชาวไร่วัยชราคนหนึ่งกล่าว
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Redpipeth