หู เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญมากๆ ทำหน้าที่ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
นอกจากการฟังแล้วนั้น ยังช่วยควบคุมการทรงตัวอีกด้วย
ในจังหวะที่ร่างกายเคลื่อนไหว และหากเกิดความผิดปกติใดๆ
กับหูก็จะนำมาซึ่งปัญหาและอันตรายต่างๆ ได้
ซึ่งเหตุการณ์ที่แมลงจะเข้าหูนั้นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เจ็บปวดได้เท่านั้น
ยังอาจส่งผลให้การทำงานที่ผิดปกติ เช่น เสียการทรงตัว หรือหูอื้อได้
ที่สำคัญแล้วแมลงนั้นอาจจะนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่หู ทำให้เกิดติดเชื้อ
อันตรายถึงขั้นสูญเสียความสามารถในการได้ยินได้
เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจมากเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าหากว่าแมลงเข้าหู
ควรทำอย่างไร?
อันตรายเมื่อมีแมลงเข้าหู
เมื่อแมลงเข้าไปในหูสามารถทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะแมลงนั้นอาจจะนำเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคหูอักเสบหรือเชื้อราในช่องหูได้ ยิ่งถ้าหากเป็นเห็บและหมัดสุนัขก็จะยิ่งอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เพราะน้ำลายของหมัดจะก่อให้เกิดอาการคันอย่างมาก ส่วนเห็บก็มีเชื้อแบคทีเรียที่เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
โดยธรรมชาติของรูหูจะมีความลึก สิ้นสุดที่แผ่นเยื่อแก้วหูยาวประมาณ 3 – 4 ซม. ในส่วนรูหูของเด็ก ความยาวของท่อจะสั้นลงตามอายุ ลักษณะของรูหูนี้ค่อนข้างคดเคี้ยวเป็นรูปตัวเอส (S) ไม่ได้เป็นท่อตรงๆ ถ้าหากว่าแมลงเข้าหู ยิ่งเข้าไปอยู่ลึกเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเอาออกยากมากขึ้น ที่สำคัญ ยิ่งลึกประสาทความรู้สึกเจ็บปวดจะมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู ที่บอบบางมากพร้อมจะฉีกขาด และทะลุได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นนี่จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญ หากแมลงที่เข้าไปอยู่ลึกมากเท่าไหร่ การเอาสิ่งแปลกปลอมออกก็จะยิ่งยากมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้เจ็บปวด และไม่ให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะเด็กเล็ก บางครั้งความยุ่งยาก อาจถึงขั้นนำไปสู่การต้องดมยาสลบ เพื่อคีบเอาสิ่งแปลกปลอมออก สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากรูหู คือต้องระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู เพราะถ้าเกิดทะลุแล้ว อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยินได้ หรืออาจอาจเกิดการติดเชื้อ เพาะเชื้อ ลุกลามถึงกระดูกหูชั้นกลาง และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการที่พบเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู คือ ถ้าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต อาการจะไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่างลักษณะ และความลึกที่สิ่งแปลกปลอมอยู่ เช่น รู้สึกแน่นๆ รำคาญในรูหู ถ้าขนาดใหญ่ก็จะอุดรูหู ทำให้ได้ยินเสียงลดลง หูอื้อ มีเสียงดังในหู ถ้าเป็นเศษผมที่เข้าไปติดอยู่ใกล้เยื่อแก้วหูก็จะเกิดเสียงดังคอกแคลก เวลาที่สั่นหรือเคลื่อนไหวศีรษะ
วิธีการปฐมพยาบาลดบื้องต้น เมื่อมีแมลงเข้าหู
เช่น แมลงตัวเล็กๆ ได้แก่ มด เห็บ แมลงหวี่ แมลงวัน มดมีปีก หรือแมลงสาบ เป็นต้น
วิธีการคือ
– ถ้าเป็นตัวแมลงตัวเล็ก ใช้วิธีการหลอกล่อให้ออกมาได้เอง โดยให้เข้าไปในที่มืด เช่น ปิดไฟห้อง เอาผ้าห่มคลุมโปง นอนนิ่งๆ แล้วใช้ไฟฉาย ส่งเข้าไปในรูหู แมลงเห็นแสงไฟ อาจจะออกมาได้เอง ลองรอประมาณ 5 – 10 นาที
– หากวิธีแรกไม่ได้ผล หรือแมลงกำลังดิ้นอยู่ เราต้องทำให้แมลงสงบนิ่งหรือตายเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ปวด โดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเอาหูข้างที่มีแมลงขึ้น แล้วใช้น้ำหยอดเข้าไปในหูให้เต็ม แมลงจะคลานออกมาหรือถ้ามันตายมันก็จะลอยขึ้นมา
– และถ้าหากว่าแมลงก็ยังไม่ออกอีก ให้ตะแคงหูให้น้ำในหูออกให้หมด แล้วใช้หลอดกาแฟ หยอดน้ำมันชนิดที่สามารถรับประทานได้ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันพืช หรือถ้าดีที่สุดคือยาหยอดหูชนิดใดก็ได้ที่มีไว้ประจำบ้าน หยอดเข้าไปในรูหูทีละน้อย ให้รู้สึกว่ายาหรือน้ำมัน ค่อยๆ ไหลเข้าสู่ภายในรูหู ไม่เทพรวดทีเดียว เพราะอาจจะไม่เข้าไปภายในรูเนื่องจากถูกอากาศในรูหูดันเอาไว้ ใส่จนเต็มเอ่อรูหู จากนั้นรอให้แมลงจมน้ำตาย จะรู้สึกได้ว่าแมลงดิ้นน้อยลงจนสงบนิ่งในที่สุด รอประมาณ 15 -30 นาที อย่ารีบเทน้ำมันออก เพราะมีแมลงบางชนิด นิ่งแต่ยังไม่ตาย สามารถดิ้นต่อหลังเราเทน้ำมันออกไปได้อีก ให้แน่ใจจึงเทน้ำมันออก แมลงที่ตายจะไหลออกมาพร้อมน้ำมัน หรือถ้ายังไม่ออกอาจเป็นเพราะแมลงตัวใหญ่ อย่าพยายามแคะออกเอง ควรไปให้แพทย์ส่องตรวจดู หรือคีบออกในภายหลัง
กรณีเป็นสิ่งของ
– กรณีที่ส่องไฟแล้วเห็นชัดเจน เป็นสิ่งที่คีบออกได้ อยู่ไม่ลึก เช่น เศษสำลี เศษผ้า ผม ก็ให้เอาแหนบชนิดปากเล็กที่สะอาด คีบออกได้
– กรณีที่เป็นสิ่งแปลกปลอมใหญ่ อยู่ตื้นๆ สามารถเอาออกเองได้ โดยใช้เครื่องมือที่ต้องสามารถสอดเข้าไประหว่างผนังรูหูและสิ่งแปลกปลอม เช่น ไม้แคะหูที่มีลักษณะปากแบนๆ หรือกิ๊บดำหนีบผม เพื่อให้เครื่องมือเข้าไปอยู่ด้านหลังของสิ่งแปลกปลอม แล้วค่อยๆ ลากหรือแคะสิ่งแปลกปลอมออกมาภายนอก ห้ามใช้ไม้แคะหูหรือปากคีบจับวัสดุที่ลื่นกลม เพราะจะยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้น ลงลึกไปเรื่อยๆ ถ้าสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก แสงไฟส่องเห็นไม่ชัดเจนหรือเครื่องมือไม่พร้อม ไม่แน่ใจ อย่าพยายามทำอะไร เพราะจะยิ่งเข้าไปลึกมากกว่าเดิมทำให้การเอาออกยากมากยิ่งขึ้น
ในกรณีของเด็กเล็ก หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เด็กจะไม่สามารถบอกได้ ดังนั้นพ่อแม่ต้องคอยสังเกต ถ้าหากเป็นเศษเมล็ดพืชจะสามารถเกิดการเน่าเสีย ก็จะทำให้มีกลิ่นเน่าเหม็นออกมาจากหู ร่วมกับการอักเสบของหูชั้นนอก มีน้ำไหลจากหู และเกิดการปวดขึ้นมาได้ หากเป็นแมลงจะเกิดอาการปวดขึ้นมาทันที เด็กจะได้ยินเสียงการบิน หรือเดินของแมลงในหู ยิ่งถ้าแมลงตัวใหญ่เดินหรือดิ้นไปมาใกล้แก้วหู จะปวดทรมานมาก
แนวทางการรักษา คือ การเอาสิ่งแปลกปลอมออกโดยไม่ทำอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู ซึ่งแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก จะมีเครื่องมือหลายชนิด เช่น เครื่องดูด, ตะขอขนาดเล็ก,ห่วงขนาดเล็ก, ปากคีบขนาดเล็กพิเศษ พร้อมเครื่องส่องขยายภาพรูหูที่มีแสงไฟส่องสว่างอย่างชัดเจน ฯลฯ และใช้ตามดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน
วิธีป้องกันแมลงเข้าหู
– หลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีแมลงชุกชุม ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
– หากจำเป็นต้องอยู่บริเวณที่มีแมลงชุกชุมเป็นเวลานานก็ควรที่จะสวมที่ครอบหู หรือใส่ที่อุดหู หากไม่มีจะใช้สำลีอุดแทน เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหู
– ไม่ควรให้สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงขึ้นมานอนบนที่นอน เพราะอาจจะทำให้เห็บและหมัดตกอยู่บนที่นอนและเข้าหูได้
– ไม่ควรเข้าสัมผัสชิดใกล้ สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่นๆ เพราะมีโอกาสที่เห็บและหมัดจะเข้าหูได้
หูเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นเราจึงควรหมั่นตรวจสอบความปกติสมบูรณ์ การใช้งานที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์เฉพาะทาง และปัญหาเรื่องแมลงเข้าหูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและอยู่ห่างจากแหล่งที่มีแมลงจะดีที่สุด หากแมลงเข้าหู จำไว้ว่าอย่าพยายามแคะ แกะเกา หรือใช้ของมีคมแคะออกโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการดันให้ตัวแมลงเข้าลึกกว่าเดิม เป็นอันตรายต่อแก้วหูได้ และปฏิบัติตามวิธีการที่เราได้แนะนำ ที่สำคัญควรหมั่นทำความสะอาดหูอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อันตรายเมื่อมีแมลงเข้าหู
เมื่อแมลงเข้าไปในหูสามารถทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะแมลงนั้นอาจจะนำเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคหูอักเสบหรือเชื้อราในช่องหูได้ ยิ่งถ้าหากเป็นเห็บและหมัดสุนัขก็จะยิ่งอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เพราะน้ำลายของหมัดจะก่อให้เกิดอาการคันอย่างมาก ส่วนเห็บก็มีเชื้อแบคทีเรียที่เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
โดยธรรมชาติของรูหูจะมีความลึก สิ้นสุดที่แผ่นเยื่อแก้วหูยาวประมาณ 3 – 4 ซม. ในส่วนรูหูของเด็ก ความยาวของท่อจะสั้นลงตามอายุ ลักษณะของรูหูนี้ค่อนข้างคดเคี้ยวเป็นรูปตัวเอส (S) ไม่ได้เป็นท่อตรงๆ ถ้าหากว่าแมลงเข้าหู ยิ่งเข้าไปอยู่ลึกเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเอาออกยากมากขึ้น ที่สำคัญ ยิ่งลึกประสาทความรู้สึกเจ็บปวดจะมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู ที่บอบบางมากพร้อมจะฉีกขาด และทะลุได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นนี่จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญ หากแมลงที่เข้าไปอยู่ลึกมากเท่าไหร่ การเอาสิ่งแปลกปลอมออกก็จะยิ่งยากมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้เจ็บปวด และไม่ให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะเด็กเล็ก บางครั้งความยุ่งยาก อาจถึงขั้นนำไปสู่การต้องดมยาสลบ เพื่อคีบเอาสิ่งแปลกปลอมออก สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากรูหู คือต้องระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู เพราะถ้าเกิดทะลุแล้ว อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยินได้ หรืออาจอาจเกิดการติดเชื้อ เพาะเชื้อ ลุกลามถึงกระดูกหูชั้นกลาง และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการที่พบเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู คือ ถ้าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต อาการจะไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่างลักษณะ และความลึกที่สิ่งแปลกปลอมอยู่ เช่น รู้สึกแน่นๆ รำคาญในรูหู ถ้าขนาดใหญ่ก็จะอุดรูหู ทำให้ได้ยินเสียงลดลง หูอื้อ มีเสียงดังในหู ถ้าเป็นเศษผมที่เข้าไปติดอยู่ใกล้เยื่อแก้วหูก็จะเกิดเสียงดังคอกแคลก เวลาที่สั่นหรือเคลื่อนไหวศีรษะ
วิธีการปฐมพยาบาลดบื้องต้น เมื่อมีแมลงเข้าหู
เช่น แมลงตัวเล็กๆ ได้แก่ มด เห็บ แมลงหวี่ แมลงวัน มดมีปีก หรือแมลงสาบ เป็นต้น
วิธีการคือ
– ถ้าเป็นตัวแมลงตัวเล็ก ใช้วิธีการหลอกล่อให้ออกมาได้เอง โดยให้เข้าไปในที่มืด เช่น ปิดไฟห้อง เอาผ้าห่มคลุมโปง นอนนิ่งๆ แล้วใช้ไฟฉาย ส่งเข้าไปในรูหู แมลงเห็นแสงไฟ อาจจะออกมาได้เอง ลองรอประมาณ 5 – 10 นาที
– หากวิธีแรกไม่ได้ผล หรือแมลงกำลังดิ้นอยู่ เราต้องทำให้แมลงสงบนิ่งหรือตายเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ปวด โดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเอาหูข้างที่มีแมลงขึ้น แล้วใช้น้ำหยอดเข้าไปในหูให้เต็ม แมลงจะคลานออกมาหรือถ้ามันตายมันก็จะลอยขึ้นมา
– และถ้าหากว่าแมลงก็ยังไม่ออกอีก ให้ตะแคงหูให้น้ำในหูออกให้หมด แล้วใช้หลอดกาแฟ หยอดน้ำมันชนิดที่สามารถรับประทานได้ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันพืช หรือถ้าดีที่สุดคือยาหยอดหูชนิดใดก็ได้ที่มีไว้ประจำบ้าน หยอดเข้าไปในรูหูทีละน้อย ให้รู้สึกว่ายาหรือน้ำมัน ค่อยๆ ไหลเข้าสู่ภายในรูหู ไม่เทพรวดทีเดียว เพราะอาจจะไม่เข้าไปภายในรูเนื่องจากถูกอากาศในรูหูดันเอาไว้ ใส่จนเต็มเอ่อรูหู จากนั้นรอให้แมลงจมน้ำตาย จะรู้สึกได้ว่าแมลงดิ้นน้อยลงจนสงบนิ่งในที่สุด รอประมาณ 15 -30 นาที อย่ารีบเทน้ำมันออก เพราะมีแมลงบางชนิด นิ่งแต่ยังไม่ตาย สามารถดิ้นต่อหลังเราเทน้ำมันออกไปได้อีก ให้แน่ใจจึงเทน้ำมันออก แมลงที่ตายจะไหลออกมาพร้อมน้ำมัน หรือถ้ายังไม่ออกอาจเป็นเพราะแมลงตัวใหญ่ อย่าพยายามแคะออกเอง ควรไปให้แพทย์ส่องตรวจดู หรือคีบออกในภายหลัง
กรณีเป็นสิ่งของ
– กรณีที่ส่องไฟแล้วเห็นชัดเจน เป็นสิ่งที่คีบออกได้ อยู่ไม่ลึก เช่น เศษสำลี เศษผ้า ผม ก็ให้เอาแหนบชนิดปากเล็กที่สะอาด คีบออกได้
– กรณีที่เป็นสิ่งแปลกปลอมใหญ่ อยู่ตื้นๆ สามารถเอาออกเองได้ โดยใช้เครื่องมือที่ต้องสามารถสอดเข้าไประหว่างผนังรูหูและสิ่งแปลกปลอม เช่น ไม้แคะหูที่มีลักษณะปากแบนๆ หรือกิ๊บดำหนีบผม เพื่อให้เครื่องมือเข้าไปอยู่ด้านหลังของสิ่งแปลกปลอม แล้วค่อยๆ ลากหรือแคะสิ่งแปลกปลอมออกมาภายนอก ห้ามใช้ไม้แคะหูหรือปากคีบจับวัสดุที่ลื่นกลม เพราะจะยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้น ลงลึกไปเรื่อยๆ ถ้าสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก แสงไฟส่องเห็นไม่ชัดเจนหรือเครื่องมือไม่พร้อม ไม่แน่ใจ อย่าพยายามทำอะไร เพราะจะยิ่งเข้าไปลึกมากกว่าเดิมทำให้การเอาออกยากมากยิ่งขึ้น
ในกรณีของเด็กเล็ก หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เด็กจะไม่สามารถบอกได้ ดังนั้นพ่อแม่ต้องคอยสังเกต ถ้าหากเป็นเศษเมล็ดพืชจะสามารถเกิดการเน่าเสีย ก็จะทำให้มีกลิ่นเน่าเหม็นออกมาจากหู ร่วมกับการอักเสบของหูชั้นนอก มีน้ำไหลจากหู และเกิดการปวดขึ้นมาได้ หากเป็นแมลงจะเกิดอาการปวดขึ้นมาทันที เด็กจะได้ยินเสียงการบิน หรือเดินของแมลงในหู ยิ่งถ้าแมลงตัวใหญ่เดินหรือดิ้นไปมาใกล้แก้วหู จะปวดทรมานมาก
แนวทางการรักษา คือ การเอาสิ่งแปลกปลอมออกโดยไม่ทำอันตรายต่อแผ่นเยื่อแก้วหู ซึ่งแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก จะมีเครื่องมือหลายชนิด เช่น เครื่องดูด, ตะขอขนาดเล็ก,ห่วงขนาดเล็ก, ปากคีบขนาดเล็กพิเศษ พร้อมเครื่องส่องขยายภาพรูหูที่มีแสงไฟส่องสว่างอย่างชัดเจน ฯลฯ และใช้ตามดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน
วิธีป้องกันแมลงเข้าหู
– หลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีแมลงชุกชุม ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
– หากจำเป็นต้องอยู่บริเวณที่มีแมลงชุกชุมเป็นเวลานานก็ควรที่จะสวมที่ครอบหู หรือใส่ที่อุดหู หากไม่มีจะใช้สำลีอุดแทน เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหู
– ไม่ควรให้สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงขึ้นมานอนบนที่นอน เพราะอาจจะทำให้เห็บและหมัดตกอยู่บนที่นอนและเข้าหูได้
– ไม่ควรเข้าสัมผัสชิดใกล้ สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่นๆ เพราะมีโอกาสที่เห็บและหมัดจะเข้าหูได้
หูเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นเราจึงควรหมั่นตรวจสอบความปกติสมบูรณ์ การใช้งานที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์เฉพาะทาง และปัญหาเรื่องแมลงเข้าหูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและอยู่ห่างจากแหล่งที่มีแมลงจะดีที่สุด หากแมลงเข้าหู จำไว้ว่าอย่าพยายามแคะ แกะเกา หรือใช้ของมีคมแคะออกโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นการดันให้ตัวแมลงเข้าลึกกว่าเดิม เป็นอันตรายต่อแก้วหูได้ และปฏิบัติตามวิธีการที่เราได้แนะนำ ที่สำคัญควรหมั่นทำความสะอาดหูอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com