#วิธีทำฝายแม้ว #สุดยอดกลวิธีเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง

#วิธีทำฝายแม้ว #สุดยอดกลวิธีเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง

พอดีคุยกับลูกเพจ เขาเป็นเจ้าของโรงงานกระสอบ เขาเล่าเรื่องการทำฝายให้ฟัง ควีนรู้สึกว่าน่าสนใจ และอยากนำมาถ่ายทอดให้ลูกเพจได้อ่านเพิ่มรอยหยักในสมอง คือเกิดมาเพิ่งเคยเห็นเขาทำตั้งแต่เริ่มรู้สึกตื่นตาตื่นใจดี



"ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
แต่สิ่งที่ทุกวันนี้การทำฝาย ใช้กระสอบปุ๋ยที่มีอายุแค่ 1 ปีก็กรอบ ขาด เมื่อกระสอบขาดระดับน้ำก็จะลดลงตามชั้นกระสอบที่หายไป พอมันหายไปมากเข้าก็ทำให้ฝายแตก เก็บน้ำไม่อยู่ สุดท้ายแล้งแบบเดิม ฝายทุกฝายจะมีหน่วยงานเข้าไปจัดทำ ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน แต่พอทำแล้วก็ไม่มีการเข้าไปซ่อมแซม ชาวบ้านเองก็ไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ไปซ่อมแซม ฝายหลายๆแห่งเลยมีอายุแค่ไม่เกิน 3 ปีก็พัง แล้วไม่มีใครเข้าไปทำให้ใหม่เพราะมันเคยทำไปแล้ว
ความแตกต่างของฝายแบบเดิม กับแบบนี้ คือ


1.ต้นทุนที่ต่างกัน ฝายแบบเดิมจะแพงกว่าแบบใหม่ 30-40%
2.เวลาในการก่อสร้าง ฝายแบบเดิมใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ฝายแบบใหม่ใช้เวลา 3-7 วัน
3.อายุของฝาย ฝายแบบเดิมต้องซ่อมแซมทุกปี และอาจจะอยู่ได้3-5ปี แต่ฝายแบบใหม่ไม่ต้องซ่อมและอยู่ได้ 8-10 ปีหรือมากกว่า
เนื่องจากการสร้างฝายต้องมีการทำเรื่องขอหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน ซึ่งการสร้างฝายต่อให้เป็นงบเอกชนไปทำให้ บางทีหน่วยงานราชการในพื้นที่นั้นๆอาจจะไม่ชอบ เพราะในแต่ละปี ประเทศไทยมีงบภัยแล้งให้แต่ละอำเภอ ตำบล เบิกจ่าย ซึ่งมันมีการคอรัปชั่นมากมาย ทำให้ภาครัฐค่อนข้างต่อต้านฝาย หรือถึงแม้จะช่วยทำฝายก็โกงกินงบประมาณจากการเบิกมาทำฝาย ถ้าเปลี่ยนมาเป็นฝายรูปแบบนี้ ก็จะมีข้อดีเรื่องต้นทุนที่ลดลง และไม่ต้องมาเสียงบประมาณซ่อมอีกทุกๆปี ลดการคอรัปชั่น ไปได้ด้วย
แต่การเปลี่ยนแปลงมันยากมากๆครับ"
ส่วนนักอนุรักษ์มองว่าการสร้างฝายในป่าที่มีความสมบูรณ์อาจรบกวนระบบนิเวศน์และแนะนำให้ทำในส่วนที่มีการกสิกรรมจะดีกว่า อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่จ้า












http://www.seub.or.th/index.php…
Cr. Sannithet Sarotjitti