Home »
Uncategories »
ชาวอีสานวางแผนไว้รอเลย เทงบ 2.7 พันล้าน บนเนื้อที่ 2 พันกว่าไร่ สร้างเป็น “นิคมอุบลฯ” เชื่อมโยมเศรษฐกิจชายแดน
ชาวอีสานวางแผนไว้รอเลย เทงบ 2.7 พันล้าน บนเนื้อที่ 2 พันกว่าไร่ สร้างเป็น “นิคมอุบลฯ” เชื่อมโยมเศรษฐกิจชายแดน
งานสร้างเงิน เงินขับเคลื่อนผู้คน ให้ก้าวต่อไป
เงินไม่ใช่ทุกสิ่งแต่เงินช่วยผู้คนได้มากจริงๆ หลายคนเดินทางเข้าเมืองใหญ่
เพื่อหวังว่าจะได้งานดีๆ เงินดีๆ ส่งทางบ้าน เก็บเงินเลี้ยงครอบครัว ฯ
วันนี้เราขอแนะนำโรงงานเปิดใหม่ ในภาคอีสาน
ที่เตรียมจะสร้างขึ้นเพื่อหวังปักธงแจ้งเกิด การลงทุนในอุตสาหกรรม
เป้าหมายรองรับเชื่อมโยงเศรษฐกิจชายแดน ใน จ.อุบลราชธานี
กับเนื้อที่กว้างกว่า 2.3 พันไร่ ใครอยากกลับไปทำงานแถวบ้านเกิด
ก็จะประหยัดค่ากิน ค่าเช่าห้อง ค่าเดินทาง แล้วยังมีเวลาอยู่กับครอบครัว
ไม่ต้องขึ้นมาเสี่ยงโชคที่กรุงเทพอีกแล้ว
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง 2 หรืออีสานใต้ (จ.อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และ อำนาจเจริญ)
ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จ.อุบลราชธานี
หนึ่งในโครงการสำคัญที่ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐข่วยผลักดันเป็นโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
ในพื้นที่ ต.นากระแซง และ ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม จ.ุบลราชธานี ขนาดพื้นที่
2,300 ไร่ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV
และเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ
มีโครงการรถไฟทางคุ่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4
ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน
ล่าสุด การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวถือว่ามีความคืบหน้าเป็นลำดับ
โดย บริษัท อุบลราชธาีอินดัสตรี้ จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ
ได้ดึงพันธมิตรจากญี่ปุ่น 3 รายได้แก่ บริษัท ไคไก แอดไวซอรี่ จำกัด,
บริษัท เวลเนสไลฟ์โปรเจ็ค (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท เอเซี่ยนไดนามิค
คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ร่วมจัดตั้งนิคมฯ ด้วยงบการลงทุนกว่า 2,700 ล้านบาท
นายณัฐวัฒน์ เลิศสุรวิทย์กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุบลราชธานีอินดัสตรี้
จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็ซๆนี้
บริษัทได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นเป็นแห่งแรกใน จ.อุบลราชธานีไปแล้ว
ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2563 กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2565
สำหรับนิคมฯ แห่งนี้ จะใช้เงินลงทุนพัฒนาราว 2,700 ล้านบาท บนเนื้อที่
2,300 ไร่ เพื่อรองรับกลุ่ม
อุตาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดมาขึ้นไม่ว่าจะเป็น
อุตสาหรรมเกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมเทคโนชีวภาพ ,
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้ามแดน,อุตสาหกรรมการบริการ, อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ
,
อุตสาหกรรมทางการเกษตร,อุตสาหกรรมเครื่องมือและยานยนต์ที่ใช้ในการเกษตรเป็นต้น
ซึ่งขณะนี้อยุ่ระหว่างการขอปรับเปลี่ยนผังเมืองการใช้ประโยชน์ที่ดินจากสีเขียวเป็นสีม่วงกับกรมโยธาธิการและผังเมือง
ควบคู่กับการจัดทำรายงานศักษาผลกระทบด้านสิ่งเวดล้อม (อีไอเอ)
และหลังจากนั้นจะยื่นเรื่องไปยังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
เพื่อจัดั้งเป็นนิคมร่วมดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ นิคมฯ
ดังกล่าวยังเป็นฐานการเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมมรกต
(กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม) ที่นักลงทุนต่าง ๆ จะ
สามารถกระจายสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ
ได้อย่างสะดวก เนื่องจาก จ.อุบลราชธานีนั้น
เป็นหนึ่งในจังหวัดเขตอีนานใต้ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ มีประชากรกว่า
1.8 ล้านคน และหากรวมกับจังหวัดในอีสานใต้จะมีประชากรกว่า 10 ล้านคน
“การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขั้น จากจากจะเป็นการยกระดับ
จ.อุบลราชธานี ให้เป็นศูนย์กลาง ลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องข้างต้นแล้ว นิคมฯ
แห่งนี้ยังมีบทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์อันทันสมัย
ที่พรั่งพร้อมไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ
จากผู้ประกอบธรุกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกด้วย”
นายณัฐวัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า
โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น
การร่วมลงทุน โดยตรงจากบริษัทภายในและต่างประเทศ
จึงถือเป็นโครงการตัวอย่างในการนนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
เพราะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น กระตุ้นการจ้างงาน
และรองรับการปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่สามารถสร้างมูลค่าการลงทุนให้กับภูมิภาคได้อีกเป็นจำนวนมาก
โดยเชื่อว่าภายหลังการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีขึ้นมา
จะกระตุ้นให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในเขตนี้ไม่ต่ำกว่า
20,000 ล้านบาทและก่อให้เกิดการสร้างงานราว 20,000 อัตราด้ภายในปี 2565
ขอบคุณที่มา – หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,460 วันที่ 11-13 เมษายน 2562,thansettakij