Home »
ธรรมะ
»
อานิสงส์การบวชพระ บวชชีพราหมณ์
อานิสงส์การบวชพระ บวชชีพราหมณ์
อานิสงส์การบวชพระ บวชชีพราหมณ์
การบวช
เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่าง
ๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น
การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ
ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน
ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช
ในพระพุทธศาสนา
เรียกการบวชว่า การอุปสมบท (บาลี : อุปสมฺปทา) แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่า
บรรพชา (บาลี : ปพฺพชฺชา แปลว่า เว้นทั่ว, เว้นจากความชั่วทุกอย่าง)
ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร
ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ
การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย
เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ
ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง
และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
ในสมัยพุทธกาล การบวชมี 8 อย่าง ได้แก่
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เป็นการบวชที่พระโคตมพุทธเจ้าประทานแก่พระสาวกบางองค์ด้วยพระองค์เอง
ด้วยการตรัสว่า “เอหิ ภิกขุ แปลว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด”
พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรกและพระสุภัททะเป็นคนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบวชด้วยวิธีนี้
ติสรณคมนูปสัมปทา
เป็นการบวชโดยให้ผู้ขอบวชเปล่งวาจาต่อหน้าพระสาวกว่าขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสามครั้ง
ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการบรรพชาสามเณร
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
เป็นการบวชโดยให้คณะสงฆ์ประชุมกันในอุโบสถ
โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งแจ้งว่ามีผู้ขอบวช
เมื่อประกาศครบสี่ครั้งไม่มีพระรูปใดคัดค้าน
ถือว่าผู้ขอบวชได้รับการยอมรับให้เป็นพระภิกษุ
ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา
เป็นการบวชโดยที่พระพุทธเจ้าประทานครุธรรม
8 ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีและสตรีชาวสากยะ 500 คน
เมื่อพวกนางยอมรับครุธรรมก็ได้รับสถานะเป็นภิกษุณ
อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
เป็นการบวชภิกษุณีโดยให้รับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนครั้งหนึ่ง
และจึงรับญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาจากภิกษุสงฆ์อีกครั้ง
เมื่อผ่านการอุปสมบททั้งสองครั้งแล้วจึงเป็นภิกษุณี
โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปะ เมื่อท่านรับโอวาทแล้วก็เป็นพระภิกษุ
ปัญหาพยากรณูปสัมปทา
เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของสามเณรโสปาก
ทูเตนอุปสัมปทา
เป็นการบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงส่งทูตของพระองค์ไปบวชหญิงโสเภณีชื่ออัฑฒกาสี
การบวชพระ
บวชชีพราหมณ์ ถือเป็นการบวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ
หรืออุทิศให้พ่อแม่เจ้ากรรมนายเวร
ซึ่งนอกจากจะสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้วยังได้อานิสงส์มากมายอีกหลายอย่างดังต่อไปนี้
-หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
-เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
-สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
-เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
-สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
-จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
-เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
-ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
-โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ
ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้าง
ส่วนคนที่ส่งเสริมให้บุคคลใดได้บวชสนับสนุนส่งเสริมโดยไม่มีจิตที่บังคับใดๆ
(ในที่นี่อาจจะเป็นพ่อแม่)
การให้คนได้บวช
ก็จะได้อานิสงส์ผลบุญเหล่านี้ตามไปด้วยเช่นกัน
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ที่ท่านพึงจะได้รับจงเร่งทำบุญเสียแต่วันนี้
เพราะเมื่อท่านล่วงลับท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด
หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำแรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต
ภพสัตว์นรกที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ
ดังนั้น
ท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมีซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ