ผลไม้พื้นบ้าน "ตะคร้อ" รักษาสารพัดอาการป่วย ประโยชน์เพียบ หากินได้แค่ปีละครั้ง!

        ตะคร้อ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ลำต้นบิดงอ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปทรงกรวยหรือรูปร่ม เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรี โคนใบมนปลายใบมีหางสั้น ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ผลเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ปลายติ่งแหลม แข็ง ผลดิบมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสุก เนื้อในมีสีเหลืองส้ม ลักษณะเนื้อเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

        สรรพคุณทางยา

       เปลือกตะคร้อ

        - เป็นยาสมานท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ใช้เป็นยารักษาผิวหนังอักเสบ และแผลเปื่อยได้ดี ช่วยแก้ฝีหนอง

        ใบตะคร้อ

        - แก้ไข้ ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน รักษาฝี

        รากตะคร้อ

        - มีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษ

        เมล็ดตะคร้อ

        - เมล็ดที่บดแห้งสามารถใช้ในแผลอักเสบของสัตว์พวกวัว-ควาย เพื่อกำจัดหนอนและแมลงที่ตอมแผล

        น้ำมันจากเมล็ดตะคร้อ

        - มันที่สกัดจากเมล็ด หรือ Kusum oil บำรุงผมแก้ผมร่วง ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันที่ใช้ตกแต่งทรงผม และช่วยแก้อาการปวดไขข้อได้

        การนำมาทำเป็นยา

        1. เป็นยาแก้ไข้

        -โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำ แล้วนำมาเช็ดตัว

        2. เป็นยาระบาย

        -รับประทานเนื้อผลช่วยให้ระบาย ช่วยแก้อาการท้องร่วง บ้างว่าใช้แก้บิด มูกเลือดได้ด้วย โดยนำเปลือกต้นมาตำกิน

        3. แก้อาการท้องเสีย

        -เปลือกต้นตะคร้อนำมาแช่กับน้ำดื่ม โดยใช้ร่วมกับเปลือกต้นมะกอก เปลือกต้นเป๋ยเบาะ เปลือกต้นตะคร้ำ

        4. ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน โดยดื่มน้ำต้มจากเปลือกต้นตะคร้อ

        5. รักษาฝี ใบใช้ตำพอกบริเวรที่เป็นฝี

        6. ยาแก้ฝีหนอง เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง

        7. แก้อาการปวดไขข้อได้ ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาใช้นวดแก้อาการปวดไขข้อ

ข้อมูลและภาพจาก เพจแนวทางเกษตรเกร็ดความรู้/DaNai TV