นี่คือ ความเชื่อเรื่องการตั้งศาลพระภูมิ อ่านไว้จะได้ทำถูก

คนไทยชาวสยามแต่อดีตกาล มีความเชื่อว่าตามฟ้า ดิน น้ำ ภูเขา ต้นไม้ และอาคารบ้านเรือน มีผีเจ้าที่เจ้าทาง ปกปักรักษาอยู่ ผนวกกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู ทำให้เกิดการพัฒนาพิธีการอัญเชิญผีเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประทับในศาล (ศาลพระภูมิ,ศาลเจ้าที่) เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแล รักษาสถานที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นสิริมงคล เจริญก้าวหน้าในทุกสถาน นิยมตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ในวันที่ปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่

เจ้าพิธีผู้ทำพิธีกรรม ตั้งศาลพระภูมิ นั้นเป็นได้ทั้งพระ,พราหมณ์,ฆราวาสผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรม ตามคติความเชื่อจากพิธีกรรมพื้นบ้านแต่เดิม ความเชื่อทางพุทธศาสนา และพราหมณ์ฮินดู นำมาพัฒนาพิธีกรรมพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ขึ้น เปลี่ยนคำนำหน้าใหม่ให้ดูดีมีมงคลขึ้นจากคำว่า “ผี” ที่ดีมีคุณธรรม ให้เป็นพระ เช่น พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง หรือพระภูมิ เพราะนับถือว่าเป็น ผี ชั้นสูง

การตั้งศาลพระภูมิ นำแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดูว่า พระอิศวร หรือพระศิวะ ทรงมีวิมาน ประทับบนยอดเขาพระสุเมรุ เปรียบประดุจมณฑลจักรวาล พระภูมิถือเป็นเทวดา ขั้นหนึ่งเหมือนกัน วิมานของศาลพระภูมิ จึงต้องมีเสาเดียว เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุมาศวิมานของ พระอิศวร

ฉะนั้น การตั้งศาลพระภูมิ ตามคติบ้านเรือนของคนไทย จึงมีเสาเดียว ส่วนศาลเจ้าที่ นั้นเปรียบเสมือนบ้านเรือนชาวบ้านจึงมี 4 เสา ส่วนศาลที่อยู่ตามโคนต้นไม้ ทางสามแพ่ง เป็นที่สิงสถิตของ วิณญาณเร่ร่อนเพนจร นิยมสร้างศาลมี 6 เสา หรือ 8 เสา

คนไทย นั้นเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เร้นลับ เป็นสี่งที่ผูกพันในชีวิตเราแทบทุกคน ศาลพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวอันแสดงถึงความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อสิ่งนี้

การประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับสิ่งนี้ จึงต้องมีการกระทำอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่ผู้อยู่อาศัย การบวงสรวงเซ่นสังเวย และการตั้งศาลพระภูมิ ถือเป็นวัฒนธรรมพิธีกรรมแบบโบราณของไทย โดยกระทำเมื่อปลูกบ้านใหม่ หรือย้ายที่อยู่เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการตั้งศาลจะเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ออกไปจากบ้าน แล้วจึงอัญเชิญ พระภูมิมาสถิติที่ ศาลพระภูมิเพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าบ้าน และบริวารให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง เพราะถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของบ้าน

การตั้งศาลพระภูมิ เจ้าบ้านจะต้องไปปรึกษาผู้รู้ พราหมณ์ ผู้ประกอบพิธี โดยเริ่มจากการตรวจ ดูฤกษ์ยาม เจ้าพิธีจะนำ วัน/เดือน/ปีเกิดของเจ้าของบ้านมาดูประกอบ เพื่อให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

สถานที่ที่ตั้งศาล มีหลักการพิจารณา ดังนี้

1. ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน

2. จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ

3. ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ สิ่งปฏิกูล

4. อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ

5. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน

6. ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร

7. ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย

อุปกรณ์ที่ใช้วางบนศาลพระภูมิชัยมงคล

๑. เจว็ด

๒. รูปปั้น ทาสี-ทาสา จำนวน ๒ คู่

๓. ช้าง-ม้า จำนวน ๒ คู่

๔. ตุ่มเงิน-ทอง จำนวน ๑ คู่

๕. ฉัตรเงิน – ทอง จำนวน ๑ คู่

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพิธีตั้งศาลพระภูมิ

ขันครู

ดอกบัว

ไม้มงคล ๙ ชนิด

พลอย ๙ สี

หมากพลู

จำนวน ๕ จีบ

บายศรีปากชาม จำนวน ๑ คู่

ชุดมัจฉมังสาหาร , กุ้งพล่า-ปลายำ จำนวน ๑ ชุด

ขนมต้มขาว-ต้มแด เผือก-มันต้ม จำนวน ๑ ชุด

ไม้ตีนกา พร้อมชุดอาหารสำหรับใส่ไม้ตีนกา จำนวน ๙ ชุด

ชุดสำหรับเบิกแม่ธรณี

ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่

พลอย ๙ สี จำนวน ๑ ชุด ไม้มงคล ๙ อย่าง ได้แก่ ไผ่ศรีสุข,กันเกรา,ทรงบาดาล,สักทอง,ขนุน,ทองหลาง,พยุง,ราชพฤกษ์,คูน

ใบไม้มงคล ๙ อย่าง ได้แก่ ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ใบขนุน ใบชัยพฤษ์ ใบคูณ ใบทองหลาง ใบโพธิ หญ้าแพรก

ดอกไม้มงคล ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกบานไม่รู้โรย ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกรัก ดอกกระดังงา ดอกขจร ดอกการเวก ดอกเข็ม ดอกฟักทอง

กลีบดอกไม้มงคลสำหรับโปรย ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกขจร เหรียญบาทสำหรับขอซื้อที่ จำนวนพอประมาณ

ผ้า ๓ สี จำนวน ๓ ผืน (ไม่ให้ใช้สีที่เป็นกาลกิณี ตามที่เป็นดวงวันเกิดของเจ้าของงานตามระบบทักษาให้ใช้ตามสีของทักษะที่ดี ได้แก่ เดช, ศรี ,มูลละ, มนตรี) ฟักทองแกงบวช

ผลไม้ จำนวน ๕ – ๙ ชนิด มะพร้าวอ่อน จำนวน ๑ คู่ ถั่วงาขาว – งาดำ

ขนมหวาน จำนวน ๙ อย่าง

นม, น้ำ , พวงมาลัยดาวเรือง พวงใหญ่

แผ่นทอง จำนวน ๙ แผ่น

ขอบคุณ http://www.mai95.net/