กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนให้ระมัดระวังการถูกฟ้าผ่า
โดยเฉพาะในช่วงอากาศแปรปรวนและมีฝนฟ้าคะนอง พร้อมแนะ 4
วิธีป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า
เน้นให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งขณะฝนตกฟ้าคะนอง
ไม่อยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา
หากพบเห็นผู้ถูกฟ้าผ่าให้โทรขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร 1669
ในช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนสลับฝนตก บางพื้นที่อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดฟ้าผ่าขึ้นได้ ประชาชนจึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยข้อมูลที่ผ่านๆมา พบว่าผู้บาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็ก เยาวชน และเกษตรกรรม สถานที่เกิดเหตุพบว่ากว่าร้อยละ 50 เป็นบริเวณนา ไร่ สวน สำหรับช่วงเวลาเกิดเหตุสูงสุด คือช่วงบ่ายถึงเย็น เวลา 14.00-17.59 น. นอกจากนี้ พบว่ายังมีผู้ถูกฟ้าผ่าอีกหลายรายที่ไม่ได้เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล
สาเหตุของการได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเกิดจากหัวใจหยุดเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง ช็อกทันที แม้บางครั้งฟ้าผ่าไม่ถูกคน แต่ก็เป็นอันตรายได้หากอยู่ใกล้สิ่งที่ฟ้าผ่า กระแสไฟจากสิ่งที่ฟ้าผ่าอาจพุ่งเข้าสู่คนที่อยู่ใกล้ได้หลายทาง เช่น ผ่านเสื้อผ้าหรือตัวที่เปียก อุปกรณ์โลหะที่ใช้ทำงาน เป็นต้น
การป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า มีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้ง ในขณะฝนตกฟ้าคะนอง หากจำเป็นควรนั่งยอง ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง
2. ควรหลบในตัวอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในขณะฟ้าร้องฟ้าผ่า
3. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
4. กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติ ไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน หากออกนอกรถจะมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่าสูง ที่สำคัญอย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ
สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
ในช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนสลับฝนตก บางพื้นที่อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดฟ้าผ่าขึ้นได้ ประชาชนจึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยข้อมูลที่ผ่านๆมา พบว่าผู้บาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็ก เยาวชน และเกษตรกรรม สถานที่เกิดเหตุพบว่ากว่าร้อยละ 50 เป็นบริเวณนา ไร่ สวน สำหรับช่วงเวลาเกิดเหตุสูงสุด คือช่วงบ่ายถึงเย็น เวลา 14.00-17.59 น. นอกจากนี้ พบว่ายังมีผู้ถูกฟ้าผ่าอีกหลายรายที่ไม่ได้เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล
สาเหตุของการได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเกิดจากหัวใจหยุดเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง ช็อกทันที แม้บางครั้งฟ้าผ่าไม่ถูกคน แต่ก็เป็นอันตรายได้หากอยู่ใกล้สิ่งที่ฟ้าผ่า กระแสไฟจากสิ่งที่ฟ้าผ่าอาจพุ่งเข้าสู่คนที่อยู่ใกล้ได้หลายทาง เช่น ผ่านเสื้อผ้าหรือตัวที่เปียก อุปกรณ์โลหะที่ใช้ทำงาน เป็นต้น
การป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า มีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอยู่กลางแจ้ง ในขณะฝนตกฟ้าคะนอง หากจำเป็นควรนั่งยอง ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง
2. ควรหลบในตัวอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในขณะฟ้าร้องฟ้าผ่า
3. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
4. กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติ ไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน หากออกนอกรถจะมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่าสูง ที่สำคัญอย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ
สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค