ภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ แพทย์แนะ 10 สัญญาณเตือนบ่งบอกความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไปในจำนวน 100 คน มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 5 คน และอายุมากขึ้นอัตราการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้น ถ้าคนอายุยืนถึง 80 ปี จะพบ โรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 คน ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่การทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อมผิดปกติไปจากเดิม ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และอารมณ์ผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วย หลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด สาเหตุของโรคสมองเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น การเสื่อมของเซลล์สมอง ขาดวิตามินบี 1 หรือบี 12 ติดเชื้อในสมอง การแปรปรวนของระบบเมตาโบลิกในร่างกาย เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ซึ่งโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดคือ อัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
10 สัญญาณเตือนบ่งบอกความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ได้แก่
1. สูญเสียความจำระยะสั้น หลงลืมจนมีผลกระทบต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน
2. ทำกิจกรรมที่เคยทำประจำไม่ได้ เช่น ลืมเครื่องปรุงอาหารที่เคยทำประจำหรือว่าลืมว่าต้องใส่อะไรก่อนหลัง 3. มีปัญหาในการใช้ภาษา ใช้คำผิด พูดไม่รู้เรื่อง
4. สับสนเรื่องเวลา สถานที่และทิศทาง มักหลงทางกลับบ้านไม่ถูก
5. ดุลยพินิจบกพร่อง วิจารณญาณไม่ดี เช่น ตัดสินใจและแยกความแตกต่างเรื่องระยะทาง สีสัญญาณไฟจราจรไม่ได้ จนอาจเป็นปัญหาด้านการขับรถ
6. สติปัญญาด้อยลง คิดหรือทำเรื่องซับซ้อนไม่ได้
7. วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอารีโมทโทรทัศน์ไปไว้ในตู้เย็น
8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวโกรธแล้วก็นิ่ง
9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น แต่งตัวผิดกาลเทศะใส่เสื้อหนาวทั้งที่อากาศร้อนจัด
10. ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนเฉื่อยๆ ไม่กระตือรือร้น เช่น นั่งเหม่อลอยเป็นชั่วโมง
วิธีการป้องกันภาวะสมองเสื่อมเพื่อช่วยชะลอความเสี่ยงของโรคด้วยการปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่สูบบุหรี่
2. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
4. กินอาหารที่มีประโยชน์
5. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง
6. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
7. ควบคุมน้ำหนัก
8. พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ
9. ตรวจสุขภาพประจำปี
10. ฝึกการทำงานของสมอง เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เป็นต้น
ภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ นอกจากนี้หากสงสัยว่าผู้สูงอายุอาจมีภาวะสมองเสื่อมควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยญาติหรือคนใกล้ชิดจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม
สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไปในจำนวน 100 คน มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 5 คน และอายุมากขึ้นอัตราการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้น ถ้าคนอายุยืนถึง 80 ปี จะพบ โรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 คน ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่การทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อมผิดปกติไปจากเดิม ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และอารมณ์ผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วย หลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด สาเหตุของโรคสมองเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น การเสื่อมของเซลล์สมอง ขาดวิตามินบี 1 หรือบี 12 ติดเชื้อในสมอง การแปรปรวนของระบบเมตาโบลิกในร่างกาย เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ซึ่งโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดคือ อัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
10 สัญญาณเตือนบ่งบอกความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ได้แก่
1. สูญเสียความจำระยะสั้น หลงลืมจนมีผลกระทบต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน
2. ทำกิจกรรมที่เคยทำประจำไม่ได้ เช่น ลืมเครื่องปรุงอาหารที่เคยทำประจำหรือว่าลืมว่าต้องใส่อะไรก่อนหลัง 3. มีปัญหาในการใช้ภาษา ใช้คำผิด พูดไม่รู้เรื่อง
4. สับสนเรื่องเวลา สถานที่และทิศทาง มักหลงทางกลับบ้านไม่ถูก
5. ดุลยพินิจบกพร่อง วิจารณญาณไม่ดี เช่น ตัดสินใจและแยกความแตกต่างเรื่องระยะทาง สีสัญญาณไฟจราจรไม่ได้ จนอาจเป็นปัญหาด้านการขับรถ
6. สติปัญญาด้อยลง คิดหรือทำเรื่องซับซ้อนไม่ได้
7. วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอารีโมทโทรทัศน์ไปไว้ในตู้เย็น
8. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวโกรธแล้วก็นิ่ง
9. บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น แต่งตัวผิดกาลเทศะใส่เสื้อหนาวทั้งที่อากาศร้อนจัด
10. ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนเฉื่อยๆ ไม่กระตือรือร้น เช่น นั่งเหม่อลอยเป็นชั่วโมง
วิธีการป้องกันภาวะสมองเสื่อมเพื่อช่วยชะลอความเสี่ยงของโรคด้วยการปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่สูบบุหรี่
2. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
4. กินอาหารที่มีประโยชน์
5. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง
6. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
7. ควบคุมน้ำหนัก
8. พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ
9. ตรวจสุขภาพประจำปี
10. ฝึกการทำงานของสมอง เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เป็นต้น
ภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ นอกจากนี้หากสงสัยว่าผู้สูงอายุอาจมีภาวะสมองเสื่อมควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยญาติหรือคนใกล้ชิดจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม
สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข