10 คำถามน่ารู้...เริมที่อวัยวะเพศ (หมอชาวบ้าน)
โดย พญ.รสพร กิตติเวมาลย์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
เมื่อพูดถึง "เริม" คงเป็นโรคที่คุ้นหูของใครหลาย ๆ คนว่าเป็นโรคที่ติดต่อได้ แต่โรคเริมยังมีอะไรที่น่ารู้อีกหลายอย่าง ครั้งนี้เรามาดูกันว่าคุณรู้จักเริมมากน้อยแค่ไหน
1. เริมเป็นแล้วไม่หายขาด ใครรู้บ้าง
โรคเริมสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัส หลังจากการติดเชื้อเริมแล้ว เชื้อเริม (herpes simplex virus) จะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึกและรอคอยที่จะขึ้นมาที่ผิวหนังเมื่อร่างกายอ่อนแอ
2. คนส่วนใหญ่ติดเริมจากคู่นอนที่ไม่มีแผลเริมให้เห็น
เนื่องจากเริมจะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทของผู้เคยติดเชื้อและเมื่อเชื้อเริมกลับมาที่ผิวหนังอีกครั้ง คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าจะทำให้เกิดอาการทุกครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วการกลับมาของเชื้อเริมที่ผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดอาการทางเริมหรือไม่เกิดอาการก็ได้
ที่น่ากลัวกว่านั้นคือการกำเริบของเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการ ดังนั้นจึงสามารถถ่ายทอดเชื้อเริมให้กับคู่นอน โดยที่คู่นอนไม่รู้ตัว
3. อาการของเริมที่อวัยวะเพศ
ถ้าเป็นเริมที่ติดเชื้อครั้งแรกมักมีอาการรุนแรง เป็นตุ่มน้ำใสจำนวนมากและเจ็บ บางครั้งอาจมีไข้หรือปัสสาวะไม่ออกร่วมด้วย ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อรับยารักษา แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักไม่รุนแรง อาจมีเพียงตุ่มน้ำใสไม่กี่ตุ่ม และไม่มีไข้
4. ยาฆ่าเชื้อเริม หรือยาต้านเชื้อเริม
ปัจจุบันแม้ว่าจะมียาฆ่าเชื้อเริม (Anti-heres simpiex virus) แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าการติดเชื้อเริมสามารถเกิดซ้ำได้อีก เนื่องจากเชื้อเริมจะไปซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นการที่แพทย์ให้ยาฆ่าเชื้อเริม จะช่วยให้ระยะเวลาในการเป็นเริมสั้นลง และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แต่ไม่มีผลที่จะหยุดหรือลดการกลับเป็นซ้ำ
5. เริมเป็นแล้วเป็นอีก น่าเบื่อจัง ทำอย่างไร
กรณีที่เป็นเริมมากกว่า 6 ครั้งต่อปี แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อกดเชื้อเริมไม่ให้เกิดอาการหรือไม่
6. ผู้หญิงเสี่ยงติดเริมมากกว่าผู้ชาย
การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการถลอกของผิวหนังหรือฉีกขาดขนาดเล็ก (micro trauma) ที่อวัยวะเพศหญิงได้มากกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้หญิงเสี่ยงที่จะติดเริมได้มากกว่า
7. เริมกับผู้หญิงตั้งครรภ์
ในกรณีที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการติดเชื้อเริมครั้งแรก ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดมีความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อเริมร้อยละ 30-50 ดังนั้น จึงแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ กรณีสงสัยว่าติดเชื้อเริม
8. เป็นเริมเสี่ยงติดเอดส์เพิ่ม
กรณีผู้ติดเชื้อเริมมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ได้ป้องกันทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์เพิ่มมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
9. เอดส์กระตุ้นเริม และเริมกระตุ้นเอดส์
กรณีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีการติดเชื้อเริมร่วมด้วย จะทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะที่มีอาการ (เอดส์) ได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน การที่ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอชไอวีลดลง จะทำให้เป็นเริมได้บ่อยขึ้นเช่นกัน
10. คำตอบสุดท้าย "ถุงยางอนามัย"
การป้องกันการติดเชื้อเริมที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ การใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องทุกครั้ง และทุกช่องทางของการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โดย พญ.รสพร กิตติเวมาลย์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
เมื่อพูดถึง "เริม" คงเป็นโรคที่คุ้นหูของใครหลาย ๆ คนว่าเป็นโรคที่ติดต่อได้ แต่โรคเริมยังมีอะไรที่น่ารู้อีกหลายอย่าง ครั้งนี้เรามาดูกันว่าคุณรู้จักเริมมากน้อยแค่ไหน
1. เริมเป็นแล้วไม่หายขาด ใครรู้บ้าง
โรคเริมสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัส หลังจากการติดเชื้อเริมแล้ว เชื้อเริม (herpes simplex virus) จะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึกและรอคอยที่จะขึ้นมาที่ผิวหนังเมื่อร่างกายอ่อนแอ
2. คนส่วนใหญ่ติดเริมจากคู่นอนที่ไม่มีแผลเริมให้เห็น
เนื่องจากเริมจะซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทของผู้เคยติดเชื้อและเมื่อเชื้อเริมกลับมาที่ผิวหนังอีกครั้ง คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าจะทำให้เกิดอาการทุกครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วการกลับมาของเชื้อเริมที่ผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดอาการทางเริมหรือไม่เกิดอาการก็ได้
ที่น่ากลัวกว่านั้นคือการกำเริบของเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการ ดังนั้นจึงสามารถถ่ายทอดเชื้อเริมให้กับคู่นอน โดยที่คู่นอนไม่รู้ตัว
3. อาการของเริมที่อวัยวะเพศ
ถ้าเป็นเริมที่ติดเชื้อครั้งแรกมักมีอาการรุนแรง เป็นตุ่มน้ำใสจำนวนมากและเจ็บ บางครั้งอาจมีไข้หรือปัสสาวะไม่ออกร่วมด้วย ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อรับยารักษา แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักไม่รุนแรง อาจมีเพียงตุ่มน้ำใสไม่กี่ตุ่ม และไม่มีไข้
4. ยาฆ่าเชื้อเริม หรือยาต้านเชื้อเริม
ปัจจุบันแม้ว่าจะมียาฆ่าเชื้อเริม (Anti-heres simpiex virus) แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าการติดเชื้อเริมสามารถเกิดซ้ำได้อีก เนื่องจากเชื้อเริมจะไปซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นการที่แพทย์ให้ยาฆ่าเชื้อเริม จะช่วยให้ระยะเวลาในการเป็นเริมสั้นลง และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แต่ไม่มีผลที่จะหยุดหรือลดการกลับเป็นซ้ำ
5. เริมเป็นแล้วเป็นอีก น่าเบื่อจัง ทำอย่างไร
กรณีที่เป็นเริมมากกว่า 6 ครั้งต่อปี แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อกดเชื้อเริมไม่ให้เกิดอาการหรือไม่
6. ผู้หญิงเสี่ยงติดเริมมากกว่าผู้ชาย
การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการถลอกของผิวหนังหรือฉีกขาดขนาดเล็ก (micro trauma) ที่อวัยวะเพศหญิงได้มากกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้หญิงเสี่ยงที่จะติดเริมได้มากกว่า
7. เริมกับผู้หญิงตั้งครรภ์
ในกรณีที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการติดเชื้อเริมครั้งแรก ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดมีความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อเริมร้อยละ 30-50 ดังนั้น จึงแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ กรณีสงสัยว่าติดเชื้อเริม
8. เป็นเริมเสี่ยงติดเอดส์เพิ่ม
กรณีผู้ติดเชื้อเริมมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ได้ป้องกันทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์เพิ่มมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
9. เอดส์กระตุ้นเริม และเริมกระตุ้นเอดส์
กรณีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีการติดเชื้อเริมร่วมด้วย จะทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะที่มีอาการ (เอดส์) ได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน การที่ภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอชไอวีลดลง จะทำให้เป็นเริมได้บ่อยขึ้นเช่นกัน
10. คำตอบสุดท้าย "ถุงยางอนามัย"
การป้องกันการติดเชื้อเริมที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ การใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องทุกครั้ง และทุกช่องทางของการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก