สวัสดีครับเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้ซาลาเปาแอดมินอัพยิ้มจะพาเพื่อนๆมาเปิดตำนาน
หมู่บ้านคนตาย เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อยู่ใน จังหวัด นครพนม
ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ไม่มีคนเป็นอาศัยอยู่เพียงคนเดียว
จึงถูกเรียกว่าหมู่บ้านคนตาย
เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัวชวนขนลุกเป็นอย่างมาก
วันนี้ซาลาเปาแอดมินอัพยิ้ม
จะพาเพื่อนๆไปติตตามเรื่องราวที่เกี่ยวกับหมู่บ้านแห่งนี้ ว่าเป็นมาอย่างไร
ตามซาลาเปาแอดมินอัพยิ้มมาติดตามเรื่องราวกันต่อด้านล่างได้เลยครับ
หมู่บ้านคนตาย ในปีที่ ๒๖ แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีชนเผ่าหนึ่งอยู่ทางตอนเหนือของหลวงพระบาง ภายในราชอาณาจักรลาว โดยเรียกตนเองว่า“ญ้อ” มี“ท้าวหม้อ” เป็นหัวหน้า ภรรยาชื่อ“สุนันทา” ปกครองเมืองหงสาวดีซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ต่อมาเกิดมีการแย่งความเป็นใหญ่กันขึ้น ท้าวหม้อสู้ไม่ได้จึงได้อพยพภรรยาบุตร และบ่าวไพร่ ประมาณ ๑๐๐ คน ล่องแพมาตามแม่น้ำโขง พอมาถึงนครเวียงจันทน์ท้าวหม้อขอสวามิภักดิ์พึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์จึงอนุญาตให้ไปตั้งเมืองอยู่ที่ปากน้ำสงคราม ซึ่งเป็นชัยภูมิดีเหมาะแก่การเพาะปลูกทุกอย่าง อีกทั้งข้าวปลาอาหารก็อุดมสมบูรณ์ หลังจากสร้างเมืองขึ้นเรียบร้อยแล้ว
เจ้าอนุวงศ์ก็ตั้งท้าวหม้อเป็น“พระยาหงสาวดี” มีเมืองที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ริมปากน้ำสงครามข้างเหนือ หรือฝั่งขวาของแม่น้ำโขง มีนามเมืองแห่งนี้ว่า“เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี”(ปัจจุบันมีฐานะเป็นแค่ตำบลไชยบุรี อยู่เหนืออำเภอท่าอุเทน ขึ้นไป ๑๖ กิโลเมตร) ฝ่ายพรรคพวกและชาวประชาทราบข่าว“ท้าวหม้อ” ได้เป็นเจ้าเมืองปกครองบ้านเมืองให้มีความสุขสบายจึงได้พากันอพยพครอบครัวมาสมทบกันมากขึ้น ทำให้พลเมืองในไชยสุทธิอุตตมบุรีมีมากถึง ๕๐๐ คน ในปี พ.ศ.๒๓๕๗ หรือหลังจากสร้างเมืองได้ ๖ ปี ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระยาหงสาวดี(หม้อ) และอุปฮาด(เล็ก) ได้ร่วมใจกันสร้าง“วัดไตรภูมิ”ขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า“วัดศรีสุนันทราอาราม” ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำสงครามด้านเหนือ ครั้งปีกุน อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ พ.ศ.๒๓๖๙ อันเป็นปีที่ ๔ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ แต่ก็พ่ายแพ้แก่พระบรมเดชานุภาพ เจ้าอนุวงศ์หนีไปขอพึ่งญวน ฝ่ายพระยาหงสาวดีแห่งเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี
เดิมที่เคยพึ่งบารมีเจ้าอนุวงศ์เกิดมีความหวาดกลัวภัยจากกองทัพกรุงเทพฯ ประกอบกับชาวบ้านเกิดโรคระบาดด้วย จำเป็นต้องตัดสินใจละทิ้งเมืองพาครอบครัวและชาวเมืองอพยพข้ามแม่น้ำโขง เพราะอยู่ที่เดิมเกรงจะไม่ปลอดภัย ขณะที่ข้ามแม่น้ำโขง พระยาหงสาวดีได้ขี่ม้าตัวเมียชื่อ“อีก้อม” ฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว อีก้อมได้พาพระยาหงสาวดีผ่านมาได้จนสำเร็จ แต่พอถึงชายหาดฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงก็ถึงแก่ความตายศพม้าจึงถูกฝังไว้ที่ชายหาดนั้น ผู้คนที่ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับชายหาดนั้นเลยพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า“บ้านหาดอีก้อม” ทุกวันนี้ยังมีชื่อปรากฏอยู่ พอพระยาหงสาวดีพาผู้คนอพยพไปเรียบร้อยแล้ว ได้พักอยู่ที่ท่าจำปาก่อน จากนั้นได้เดินทางต่อไปถึงเมืองญวน และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้นามเมืองที่สร้างครั้งนี้ว่า“เมืองหลวงปุงลิง” บางคนก็เรียกว่า“โปงเลง” หลังจากสร้างเมืองหลวงปุงลิง ผ่านไปประมาณ ๑ ปี พระยาหงสาวดี(ท้าวหม้อ) และอุปฮาด(เล็ก)ก็ถึงแก่กรรมที่เมืองนั้น เนื่องจากเมืองหลวงปุงลิงเป็นเมืองขึ้นของญวน เจ้ากรุงเว้อานามจึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้
ท้าวประทุม เป็นเจ้าเมือง ท้าวจรรยา เป็นอุปฮาด หมายถึงผู้ได้รับอำนาจสมบัติกึ่งหนึ่ง ท้าวจันทร์ศรีสุราช(โสม) บุตรพระยาหงสาวดี(ท้าวหม้อ) เป็นราชวงศ์ โดยตำแหน่งต้องเป็นเชื้อสายเครือญาติเจ้าเมือง มีหน้าที่เกี่ยวกับตัดสินคดีชำระถ้อยความ ท้าวปุตร เป็นราชบุตร แปลว่า ลูกเจ้าเมือง แต่กรรมการเมืองไม่พอใจขึ้นกับญวน เพราะไม่ใช่ชนชาติเดียวกัน ทั้งการคมนาคมไปมาก็ไม่สะดวกและห่างไกลกันมาก แต่ก็ต้องจำใจเป็นเมืองขึ้นไปก่อน เพราะเกรงอำนาจบารมี เนื่องจากที่พึ่งเดิมทางเวียงจันทน์ยังระส่ำระส่ายอยู่ เลยพยายามคิดหาหนทางและคอยโอกาสหนี เพื่อไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้ากรุงสยาม ครั้น พ.ศ.๒๓๗๓ เจ้าอนุวงศ์กลับจากเมืองญวนมานครเวียงจันทน์อีกและคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ อีกเป็นครั้งที่ ๒ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนีย์)ได้เป็นแม่ทัพคุมกองขึ้นมารบกับเจ้าราชวงศ์ แม่ทัพนครเวียงจันทน์ที่ค่ายบุกหวาน เจ้าราชวงศ์ต้องอาวุธในที่รบ
จึงหนีทัพกลับไปนครเวียงจันทน์พร้อมกับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งต่างคนต่างก็พ่ายแพ้กองทัพไทย หนีไปเมืองญวนอีก แม่ทัพไทยตามจับเจ้าอนุวงศ์และครอบครัวได้ จึงนำตัวลงไปกรุงเทพฯ ส่วนเจ้าราชวงศ์ยังจับไม่ได้ พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพใหญ่จัดให้พระวิชิตสงครามเป็นแม่ทัพคุมทัพอีกกองหนึ่งไปตั้งอยู่ที่นครพนม ให้ตรวจตราด่านช่องทางคอยสืบจับตัวเจ้าราชวงศ์ ราชวงศ์เสนเมืองเขมราฐเป็นแม่ทัพอีกกองคุมไพร่พลเมืองอุบล เมืองยโสธร จำนวน ๑๘๐ คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่นั้น ให้รักษาปากน้ำสงครามอันเป็นด่านช่องทางของกองทัพนครเวียงจันทน์เข้าออกให้กวดขัน และให้สืบจับเจ้าราชวงศ์นครเวียงจันทน์ต่อไป ครั้นการศึกสงครามขบถเวียงจันทน์สงบลงแล้ว
ราชวงศ์เสนและกรมการเมืองได้พร้อมใจกันปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งชำรุดทรุดโทรมอยู่ให้มีสภาพดีขึ้น และเกลี้ยกล่อมครอบครัวชาวเมืองคำม่วน-คำเกิด ให้ข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นจำนวนมาก รวมชายฉกรรจ์ได้ ๖๐๐ คน เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ต่อมาถูกเรียกหดสั้นเข้าไปเป็น“เมืองไชยบุรี”
เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องราวสุดสะพรึงที่ซาลาเปาแอดมินอัพยิ้ม ได้นำมาฝากกันในวันนี้ อ่านแล้วขนลุกขนพองกันพอสมควร กลัวนะแต่ชอบอ่านเป็นอะไรก็ไม่รู้ ชอบกันหรือเปล่าครับเพื่อนๆขอบคุณเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนที่เข้ามาอ่านเรื่องราวนี้
หมู่บ้านคนตาย ในปีที่ ๒๖ แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีชนเผ่าหนึ่งอยู่ทางตอนเหนือของหลวงพระบาง ภายในราชอาณาจักรลาว โดยเรียกตนเองว่า“ญ้อ” มี“ท้าวหม้อ” เป็นหัวหน้า ภรรยาชื่อ“สุนันทา” ปกครองเมืองหงสาวดีซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ต่อมาเกิดมีการแย่งความเป็นใหญ่กันขึ้น ท้าวหม้อสู้ไม่ได้จึงได้อพยพภรรยาบุตร และบ่าวไพร่ ประมาณ ๑๐๐ คน ล่องแพมาตามแม่น้ำโขง พอมาถึงนครเวียงจันทน์ท้าวหม้อขอสวามิภักดิ์พึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์จึงอนุญาตให้ไปตั้งเมืองอยู่ที่ปากน้ำสงคราม ซึ่งเป็นชัยภูมิดีเหมาะแก่การเพาะปลูกทุกอย่าง อีกทั้งข้าวปลาอาหารก็อุดมสมบูรณ์ หลังจากสร้างเมืองขึ้นเรียบร้อยแล้ว
เจ้าอนุวงศ์ก็ตั้งท้าวหม้อเป็น“พระยาหงสาวดี” มีเมืองที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ริมปากน้ำสงครามข้างเหนือ หรือฝั่งขวาของแม่น้ำโขง มีนามเมืองแห่งนี้ว่า“เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี”(ปัจจุบันมีฐานะเป็นแค่ตำบลไชยบุรี อยู่เหนืออำเภอท่าอุเทน ขึ้นไป ๑๖ กิโลเมตร) ฝ่ายพรรคพวกและชาวประชาทราบข่าว“ท้าวหม้อ” ได้เป็นเจ้าเมืองปกครองบ้านเมืองให้มีความสุขสบายจึงได้พากันอพยพครอบครัวมาสมทบกันมากขึ้น ทำให้พลเมืองในไชยสุทธิอุตตมบุรีมีมากถึง ๕๐๐ คน ในปี พ.ศ.๒๓๕๗ หรือหลังจากสร้างเมืองได้ ๖ ปี ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระยาหงสาวดี(หม้อ) และอุปฮาด(เล็ก) ได้ร่วมใจกันสร้าง“วัดไตรภูมิ”ขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า“วัดศรีสุนันทราอาราม” ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำสงครามด้านเหนือ ครั้งปีกุน อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ พ.ศ.๒๓๖๙ อันเป็นปีที่ ๔ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ แต่ก็พ่ายแพ้แก่พระบรมเดชานุภาพ เจ้าอนุวงศ์หนีไปขอพึ่งญวน ฝ่ายพระยาหงสาวดีแห่งเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี
เดิมที่เคยพึ่งบารมีเจ้าอนุวงศ์เกิดมีความหวาดกลัวภัยจากกองทัพกรุงเทพฯ ประกอบกับชาวบ้านเกิดโรคระบาดด้วย จำเป็นต้องตัดสินใจละทิ้งเมืองพาครอบครัวและชาวเมืองอพยพข้ามแม่น้ำโขง เพราะอยู่ที่เดิมเกรงจะไม่ปลอดภัย ขณะที่ข้ามแม่น้ำโขง พระยาหงสาวดีได้ขี่ม้าตัวเมียชื่อ“อีก้อม” ฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว อีก้อมได้พาพระยาหงสาวดีผ่านมาได้จนสำเร็จ แต่พอถึงชายหาดฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงก็ถึงแก่ความตายศพม้าจึงถูกฝังไว้ที่ชายหาดนั้น ผู้คนที่ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับชายหาดนั้นเลยพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า“บ้านหาดอีก้อม” ทุกวันนี้ยังมีชื่อปรากฏอยู่ พอพระยาหงสาวดีพาผู้คนอพยพไปเรียบร้อยแล้ว ได้พักอยู่ที่ท่าจำปาก่อน จากนั้นได้เดินทางต่อไปถึงเมืองญวน และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้นามเมืองที่สร้างครั้งนี้ว่า“เมืองหลวงปุงลิง” บางคนก็เรียกว่า“โปงเลง” หลังจากสร้างเมืองหลวงปุงลิง ผ่านไปประมาณ ๑ ปี พระยาหงสาวดี(ท้าวหม้อ) และอุปฮาด(เล็ก)ก็ถึงแก่กรรมที่เมืองนั้น เนื่องจากเมืองหลวงปุงลิงเป็นเมืองขึ้นของญวน เจ้ากรุงเว้อานามจึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้
ท้าวประทุม เป็นเจ้าเมือง ท้าวจรรยา เป็นอุปฮาด หมายถึงผู้ได้รับอำนาจสมบัติกึ่งหนึ่ง ท้าวจันทร์ศรีสุราช(โสม) บุตรพระยาหงสาวดี(ท้าวหม้อ) เป็นราชวงศ์ โดยตำแหน่งต้องเป็นเชื้อสายเครือญาติเจ้าเมือง มีหน้าที่เกี่ยวกับตัดสินคดีชำระถ้อยความ ท้าวปุตร เป็นราชบุตร แปลว่า ลูกเจ้าเมือง แต่กรรมการเมืองไม่พอใจขึ้นกับญวน เพราะไม่ใช่ชนชาติเดียวกัน ทั้งการคมนาคมไปมาก็ไม่สะดวกและห่างไกลกันมาก แต่ก็ต้องจำใจเป็นเมืองขึ้นไปก่อน เพราะเกรงอำนาจบารมี เนื่องจากที่พึ่งเดิมทางเวียงจันทน์ยังระส่ำระส่ายอยู่ เลยพยายามคิดหาหนทางและคอยโอกาสหนี เพื่อไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้ากรุงสยาม ครั้น พ.ศ.๒๓๗๓ เจ้าอนุวงศ์กลับจากเมืองญวนมานครเวียงจันทน์อีกและคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ อีกเป็นครั้งที่ ๒ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนีย์)ได้เป็นแม่ทัพคุมกองขึ้นมารบกับเจ้าราชวงศ์ แม่ทัพนครเวียงจันทน์ที่ค่ายบุกหวาน เจ้าราชวงศ์ต้องอาวุธในที่รบ
จึงหนีทัพกลับไปนครเวียงจันทน์พร้อมกับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งต่างคนต่างก็พ่ายแพ้กองทัพไทย หนีไปเมืองญวนอีก แม่ทัพไทยตามจับเจ้าอนุวงศ์และครอบครัวได้ จึงนำตัวลงไปกรุงเทพฯ ส่วนเจ้าราชวงศ์ยังจับไม่ได้ พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพใหญ่จัดให้พระวิชิตสงครามเป็นแม่ทัพคุมทัพอีกกองหนึ่งไปตั้งอยู่ที่นครพนม ให้ตรวจตราด่านช่องทางคอยสืบจับตัวเจ้าราชวงศ์ ราชวงศ์เสนเมืองเขมราฐเป็นแม่ทัพอีกกองคุมไพร่พลเมืองอุบล เมืองยโสธร จำนวน ๑๘๐ คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่นั้น ให้รักษาปากน้ำสงครามอันเป็นด่านช่องทางของกองทัพนครเวียงจันทน์เข้าออกให้กวดขัน และให้สืบจับเจ้าราชวงศ์นครเวียงจันทน์ต่อไป ครั้นการศึกสงครามขบถเวียงจันทน์สงบลงแล้ว
ราชวงศ์เสนและกรมการเมืองได้พร้อมใจกันปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งชำรุดทรุดโทรมอยู่ให้มีสภาพดีขึ้น และเกลี้ยกล่อมครอบครัวชาวเมืองคำม่วน-คำเกิด ให้ข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นจำนวนมาก รวมชายฉกรรจ์ได้ ๖๐๐ คน เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ต่อมาถูกเรียกหดสั้นเข้าไปเป็น“เมืองไชยบุรี”
เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องราวสุดสะพรึงที่ซาลาเปาแอดมินอัพยิ้ม ได้นำมาฝากกันในวันนี้ อ่านแล้วขนลุกขนพองกันพอสมควร กลัวนะแต่ชอบอ่านเป็นอะไรก็ไม่รู้ ชอบกันหรือเปล่าครับเพื่อนๆขอบคุณเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนที่เข้ามาอ่านเรื่องราวนี้