เชื้อราในช่องคลอด ที่ก่อให้เกิดอาการคันในร่มผ้า
หรือที่เรียกว่าการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด
เตือนไว้เลยว่าผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์เป็นได้ โดยเฉพาะหากมีพฤติกรรมเหล่านี้ !
เชื้อราในร่มผ้าส่งผลให้เกิดอาการคันในช่องคลอด หรือมีตกขาวมากผิดปกติ แต่กระนั้นบางทีภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด หรือการติดเชื้อราในร่มผ้า ก็อาจไม่แสดงอาการรุนแรงให้เราได้เอะใจเลยสักนิด ทว่าหากติดเชื้อราในช่องคลอดแบบไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการรักษา อาการคันที่จุดซ่อนเร้นจะยิ่งทวีคูณขึ้น รวมทั้งอาการแสบเวลาปัสสาวะก็อาจจะเจอบ้าง แต่ถ้าใครไม่อยากมีอาการที่ว่า และไม่เคยคิดอยากจะติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ขอเตือนไว้ก่อนว่าอย่าทำพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อราในร่มผ้าเลยดีกว่า
เชื้อราในช่องคลอดคืออะไร
เชื้อราในช่องคลอด คือ เชื้อโรคชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา (Candida) โดยเชื้อราในกลุ่มนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย แต่เชื้อราในช่องคลอดที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)
เชื้อราในช่องคลอดชนิดนี้เป็นเซลล์รูปร่างกลม หรือที่เรียกว่า เชื้อยีสต์ ซึ่งเชื้อยีสต์ในช่องคลอดจะมีอยู่เป็นปกติโดยไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อไรที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เกิดความไม่สมดุลกันของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องคลอด เมื่อนั้นเชื้อยีสต์ช่องคลอดที่ปกติก็อยู่อย่างสงบ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนทำให้ช่องคลอดติดเชื้อราหรือมีอาการอักเสบเกิดขึ้นได้
เชื้อราในร่มผ้า เกิดจากอะไร
โดยธรรมชาติของเชื้อรา มักจะชอบอยู่ในแหล่งที่มีความร้อนชื้นเป็นพิเศษ และช่องคลอดของสาว ๆ ก็เป็นอวัยวะที่มีความชื้นจากตกขาว ซึ่งเป็นเมือกจากต่อมที่ปากช่องคลอดและปากมดลูกคอยควบคุมสภาพความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดให้มีความสมดุลกัน และช่วยให้เพิ่มความหล่อลื่นแก่ช่องคลอด ช่วยขับสิ่งแปลกปลอม และฆ่าเชื้อโรคต่างถิ่นในช่องคลอดให้ด้วย แต่ก็อย่างที่บอกค่ะว่า ในภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น ภูมิต้านทานต่ำ หรือมีเหตุให้เชื้อยีสต์ในช่องคลอดและแบคทีเรียในช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลกัน เมื่อนั้นสาว ๆ ก็จะมีเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งก่อโรคได้
ทั้งนี้สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเราได้จำแนกให้เห็นถึงสาเหตุการเกิดเชื้อราในร่มผ้า ตามนี้ค่ะ
1. สภาพอากาศ
สภาพของบ้านเราที่มีความร้อนชื้น อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตได้ดี
2. ตั้งครรภ์
เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้นด้วย
3. ยา
โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่กินเป็นเวลานาน ๆ ตัวยาจะเข้าไปทำลายเชื้อโรคและแบคทีเรียในร่างกายจนขาดความสมดุล ก่อให้เกิดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้สาว ๆ ที่กินยาสเตียรอยด์ ยาตัวนี้ก็มีผลให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายต่ำลง เป็นเหตุในเชื้อราในช่องคลอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น
4. เป็นเบาหวาน
โรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้ยีสต์ในช่องคลอดอยู่ดีกินดี เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยอัตโนมัติ
5. ภูมิต้านทานต่ำ
ในภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อแบคทีเรียชนิดดีจะอ่อนแอลง ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเหิมเกริมจนก่ออาการผิดปกติให้น้องหนูของเราได้
6. วัยทอง
สาวใหญ่วัยทองมักจะต้องเจอกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดเชื้อราในร่มผ้าได้ค่ะ
และนอกจากปัจจัยที่เราควบคุมค่อนข้างยากดังกล่าวแล้ว พฤติกรรมของสาว ๆ เองก็อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้เช่นกัน ดังพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดต่อไปนี้
เชื้อราในช่องคลอด ยังไงก็ไม่รอดถ้ามีพฤติกรรมเหล่านี้
1. ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
อากาศที่ร้อนชื้นเป็นแหล่งโปรดของเชื้อราแคนดิดา ดังนั้นหากคุณสาว ๆ ชอบใส่เสื้อผ้าที่รัดแนบตัว ความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นจะมีมากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ดังนั้นหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อราในช่องคลอด ก็พยายามใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป โดยเฉพาะในส่วนกางเกงและกระโปรง
2. ใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
กรณีนี้อาจเกิดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เพราะอากาศทำให้ผ้าไม่ค่อยแห้งสนิท มีความอับชื้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อราได้ แต่นอกจากสภาพอากาศแล้ว เชื่อไหมคะว่าผู้หญิงบางคนก็ชอบใส่ชุดซ้ำ ๆ หรือมีเหตุจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นบ้างในบางครั้ง ซึ่งนี่ก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อยีสต์ในร่มผ้า
3. ปล่อยให้ตัวเองอ้วน
ความอ้วนย่อมก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง แต่นอกจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้ว ภาวะขาเบียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้นมากกว่าปกติ ส่งผลให้เชื้อยีสต์ (รา) เพิ่มจำนวนขึ้นได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดอย่างเห็นได้ชัด
- 7 คลิปออกกำลังกายลดต้นขาด้านใน บ๊ายบายขาเบียด !
4. พฤติกรรมกินติดหวานและชอบทานอาหารแปรรูป
สำหรับสาว ๆ สายน้ำหวาน สายแป้ง หรือสายฟาสต์ฟู้ด กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อราในร่มผ้าได้เช่นกัน เนื่องจากเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดชอบกินน้ำตาล ดังนั้นหากร่างกายเรามีน้ำตาลเยอะ ยีสต์เหล่านี้ก็จะอิ่มหนำสมบูรณ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้
5. เครียด
เพียงแค่เครียดก็ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุลแล้วล่ะค่ะ นอกจากนั้นความเครียดยังส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความหิวออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากกินของหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูง หล่อเลี้ยงเชื้อยีสต์ในช่องคลอดโดยไม่รู้ตัว
6. อดนอน
ร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอก็ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นได้ สังเกตง่าย ๆ จากวันไหนที่เราไม่ค่อยได้นอน วันนั้นเราจะอยากกินน้ำหวาน อยากกินอาหารไขมันสูงมากกว่าปกติ และการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลแบบนี้ ยีสต์ในช่องคลอดก็หวานปากเลย
7. ชุดชั้นในขึ้นรา !
โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ชอบตากกางเกงชั้นในในห้องนอน โดยไม่ได้ตากกางเกงชั้นในในที่ที่มีอากาศถ่ายเท และแสงแดดเข้าถึงได้สะดวก โอกาสในการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในกางเกงชั้นในก็ย่อมเพิ่มขึ้น และเมื่อไรที่คุณสวมกางเกงชั้นในที่มีเชื้อราฝังตัวอยู่ เชื้อราเหล่านี้ก็จะเคลื่อนตัวเข้าหาเขตอบอุ่นและร้อนชื้นกว่าอย่างช่องคลอดของสาว ๆ ส่งผลให้เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ไม่น้อย
8. สวนล้างช่องคลอด
การสวนล้างช่องคลอดเป็นการทำร้ายแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด ส่งผลให้เชื้อราในช่องคลอดเติบโตแย่งพื้นที่อาศัยในจุดซ่อนเร้นเราได้มากขึ้น อีกทั้งการสวนล้างช่องคลอดยังเสี่ยงต่ออาการอักเสบอื่น ๆ อีกด้วยนะคะ
9. ใส่แผ่นอนามัยตลอด
สาว ๆ บางคนนิยมใส่แผ่นอนามัยตลอด ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อน้องน้อยของเราเลยนะคะ เพราะการใส่แผ่นอนามัยจะยิ่งเพิ่มความอับชื้น ยีสต์ในช่องคลอดก็ฟินกันไป ส่วนเราก็เสี่ยงติอเชื้อราในร่มผ้าไปสิ
10. เปลี่ยนคู่นอน
เชื้อราในช่องคลอดสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ด้วยนะคะ โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือมีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย
11. ใส่กางเกงชั้นในคับ ๆ นอน
ผู้หญิงบางคนไม่มั่นใจที่จะปล่อยให้น้องสาวโล่ง ๆ ขนาดจะเข้านอนในห้องส่วนตัวยังต้องสวมใส่กางเกงในตามปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นได้นะคะ ฉะนั้นเปลี่ยนมาใว่กางเกงขาสั้นหลวม ๆ ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกจะดีกว่า แต่หากต้องนอนนอกสถานที่ ไม่สะดวกจะสวมเพียงกางเกงขาสั้น อาจเลือกใช้กางเกงในชนิดกระดาษที่ใส่ครั้งเดียวแล้วทิ้งได้ค่ะ
12. ใส่ผ้าอนามัยนาน ๆ
ในระหว่างมีประจำเดือน ใครที่ชอบใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดียวเป็นเวลานาน ไม่ค่อยจะเปลี่ยนผ้าอนามัย เตือนไว้ก่อนเลยค่ะว่าเสี่ยงต่อการเพิ่มเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดมากขึ้นจนอาจเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ เพราะความอับชื้นที่มาจากผ้าอนามัยจะส่งผลให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเชื้อราเหล่านี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางช่องคลอด ดังนั้นทางที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง หรือสาวที่มีประจำเดือนมามากควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดค่ะ
สาวคนไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่กล่าวไป รีบกลับตัวกลับใจให้ไวก่อนมีอาการเชื้อราในช่องคลอดนะคะ
เชื้อราในช่องคลอด อาการเป็นอย่างไร
ในกรณีที่ติดเชื้อราในช่องคลอดไม่มาก อาการอาจไม่แสดงเลย แต่หากไปตรวจภายใน (ด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) ก็อาจจะเจอว่ามีการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ ทว่าในรายที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอดค่อนข้างมาก อาการสำคัญที่สังเกตได้หากเป็นเชื้อราในช่องคลอดก็คืออาการแสบ คัน ภายในช่องคลอด มีตกขาวแปลกไปโดยมีสีคล้ายซีส (สีออกเหลือง) หากส่องกล้องดูอาจเห็นก้อนจกขาวคล้าย ๆ ดอกเห็ด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อราในช่องคลอดจะเจริญต่อไปกลายเป็นสายยาว ๆ (Mycelia) ซึ่งยีสต์เหล่านี้สามารถแทรกเข้าไปในผนังช่องคลอดได้ ซึ่งในเคสนี้ก็จะมีอาการคันในช่องคลอด มีตกขาวสีเหลือง หรือตกขาวขุ่นและจับตัวคล้ายแป้งเปียก
เชื้อราในช่องคลอด รักษาให้หายขาดได้ไหม
ในกรณีที่เกิดภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดที่ไม่รุนแรงมาก ไม่แสดงอาการคัน แสบ หรือมีตกขาวที่ผิดปกติ เคสนี้อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาก็ได้ค่ะ เพราะตกขาวที่ต่อมจากปากช่องคลอดและปากมดลูกผลิตออกมา จะทำหน้าที่ดันเชื้อราในช่องคลอดออกไป และรักษาสมดุลกรด-ด่างในช่องคลอดให้เป็นปกติ
แต่สำหรับในรายที่มีอาการคัน แสบ และมีตกขาวอันเกิดจากติดเชื้อราในช่องคลอด สามารถเข้าไปรับการรักษาได้ในหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
- รักษาด้วยการกินยาต้านเชื้อรา
- รักษาด้วยครีมต้านเชื้อรา (ทาในช่องคลอด)
- รักษาด้วยการเหน็บยา
ทั้งนี้การรักษาอาการติดเชื้อราในช่องคลอด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ว่าจะใช้วิธีไหนรักษาเชื้อราในร่มผ้าเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ในขณะที่ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด
เชื้อราในช่องคลอดของหญิงตั้งครรภ์ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้หรือไม่
ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเชื้อราไม่มีความสามารถมากพอจะก่อให้เกิดการติดเชื้อราในเด็กทารกได้ แต่หากแม่ท้องเป็นเชื้อราในช่องคลอดแล้วไม่ได้รักษาให้หาย และเป็นเชื้อราในช่องคลอดขณะที่คลอดลูกผ่านทางช่องคลอด จะทำให้เด็กอาจมีเชื้อราในลิ้น ในปาก และก้นได้ ซึ่งแพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยาทาหรือสอด เพื่อจะได้ไม่กระทบกับเด็กในครรภ์
เชื้อราในช่องคลอด อันตรายแค่ไหน
หากเป็นเชื้อราในช่องคลอด หรือมีอาการคันในร่มผ้า ตกขาวมีสีผิดปกติ สาว ๆ อย่าเพิ่งกังวลว่าจะอันตรายถึงชีวิตนะคะ การติดเชื้อราในช่องคลอดทำอันตรายได้มากสุดก็แค่อาการคันในร่มผ้า ซึ่งอาจส่งผลให้เสียบุคลิกและสร้างความทรมานให้ได้ไม่น้อย และหากใครยิ่งคันยิ่งเก่า บอกเลยว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อตามมาได้ ดังนั้นหากมีความผิดปกติใด ๆ กับจุดซ่อนเร้น รีบไปพบสูตินรีแพทย์จะดีที่สุด
เชื้อราในช่องคลอด ป้องกันอย่างไรดี
วิธีป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด จริง ๆ ก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่เราได้ชี้แจงไป โดยหัวใจหลักของการป้องกันเชื้อราในช่อคลอด ก็คือ การพยายามอย่าให้จุดซ่อนเร้นอับชื้น และพยายามรักษารูปร่างตัวเองไม่ให้อ้วน ซึ่งอาจทำให้ขาเบียด เพิ่มโอกาสให้จุดซ่อนเร้นมีความอับชื้นมากขึ้น
ดูแลน้องสาวให้ห่างไกลเชื้อราในช่องคลอด
สาว ๆ สามารถดูแลน้องสาวให้ห่างไกลจากเชื้อราในช่องคลอด พร้อมทั้งดูแลสุขภาพของจุดช่อนเร้นให้ดีได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อช่องคลอดตามนี้
- 5 อาหารเพื่อสุขภาพช่องคลอด กินเท่านี้น้องสาวก็แฮปปี้
นอกจากอาหารที่ควรกินเพื่อดูแลสุขภาพน้องสาวของเราแล้ว กระปุกดอทคอมก็อยากเตือนให้สาว ๆ รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับเรื่องใกล้ตัวอย่างผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน ที่ควรนำมาตากแดดทุกครั้งหลังการใช้งาน หรืออาจเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวทุก ๆ 3 วัน และไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำกันโดยที่ยังไม่ได้ซัก เพราะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ในผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าเหล่านี้ อาจพาเชื้อราเข้ามาสู่ช่องคลอด ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอดได้
อ้อ ! และเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรง มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
healthline
เชื้อราในร่มผ้าส่งผลให้เกิดอาการคันในช่องคลอด หรือมีตกขาวมากผิดปกติ แต่กระนั้นบางทีภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด หรือการติดเชื้อราในร่มผ้า ก็อาจไม่แสดงอาการรุนแรงให้เราได้เอะใจเลยสักนิด ทว่าหากติดเชื้อราในช่องคลอดแบบไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการรักษา อาการคันที่จุดซ่อนเร้นจะยิ่งทวีคูณขึ้น รวมทั้งอาการแสบเวลาปัสสาวะก็อาจจะเจอบ้าง แต่ถ้าใครไม่อยากมีอาการที่ว่า และไม่เคยคิดอยากจะติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ขอเตือนไว้ก่อนว่าอย่าทำพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อราในร่มผ้าเลยดีกว่า
เชื้อราในช่องคลอดคืออะไร
เชื้อราในช่องคลอด คือ เชื้อโรคชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา (Candida) โดยเชื้อราในกลุ่มนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย แต่เชื้อราในช่องคลอดที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)
เชื้อราในช่องคลอดชนิดนี้เป็นเซลล์รูปร่างกลม หรือที่เรียกว่า เชื้อยีสต์ ซึ่งเชื้อยีสต์ในช่องคลอดจะมีอยู่เป็นปกติโดยไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อไรที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เกิดความไม่สมดุลกันของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องคลอด เมื่อนั้นเชื้อยีสต์ช่องคลอดที่ปกติก็อยู่อย่างสงบ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนทำให้ช่องคลอดติดเชื้อราหรือมีอาการอักเสบเกิดขึ้นได้
โดยธรรมชาติของเชื้อรา มักจะชอบอยู่ในแหล่งที่มีความร้อนชื้นเป็นพิเศษ และช่องคลอดของสาว ๆ ก็เป็นอวัยวะที่มีความชื้นจากตกขาว ซึ่งเป็นเมือกจากต่อมที่ปากช่องคลอดและปากมดลูกคอยควบคุมสภาพความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดให้มีความสมดุลกัน และช่วยให้เพิ่มความหล่อลื่นแก่ช่องคลอด ช่วยขับสิ่งแปลกปลอม และฆ่าเชื้อโรคต่างถิ่นในช่องคลอดให้ด้วย แต่ก็อย่างที่บอกค่ะว่า ในภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น ภูมิต้านทานต่ำ หรือมีเหตุให้เชื้อยีสต์ในช่องคลอดและแบคทีเรียในช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลกัน เมื่อนั้นสาว ๆ ก็จะมีเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งก่อโรคได้
ทั้งนี้สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเราได้จำแนกให้เห็นถึงสาเหตุการเกิดเชื้อราในร่มผ้า ตามนี้ค่ะ
1. สภาพอากาศ
สภาพของบ้านเราที่มีความร้อนชื้น อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตได้ดี
2. ตั้งครรภ์
เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้นด้วย
3. ยา
โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่กินเป็นเวลานาน ๆ ตัวยาจะเข้าไปทำลายเชื้อโรคและแบคทีเรียในร่างกายจนขาดความสมดุล ก่อให้เกิดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้สาว ๆ ที่กินยาสเตียรอยด์ ยาตัวนี้ก็มีผลให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายต่ำลง เป็นเหตุในเชื้อราในช่องคลอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น
4. เป็นเบาหวาน
โรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้ยีสต์ในช่องคลอดอยู่ดีกินดี เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยอัตโนมัติ
5. ภูมิต้านทานต่ำ
ในภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อแบคทีเรียชนิดดีจะอ่อนแอลง ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเหิมเกริมจนก่ออาการผิดปกติให้น้องหนูของเราได้
6. วัยทอง
สาวใหญ่วัยทองมักจะต้องเจอกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดเชื้อราในร่มผ้าได้ค่ะ
และนอกจากปัจจัยที่เราควบคุมค่อนข้างยากดังกล่าวแล้ว พฤติกรรมของสาว ๆ เองก็อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้เช่นกัน ดังพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดต่อไปนี้
1. ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
อากาศที่ร้อนชื้นเป็นแหล่งโปรดของเชื้อราแคนดิดา ดังนั้นหากคุณสาว ๆ ชอบใส่เสื้อผ้าที่รัดแนบตัว ความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นจะมีมากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ดังนั้นหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อราในช่องคลอด ก็พยายามใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป โดยเฉพาะในส่วนกางเกงและกระโปรง
2. ใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
กรณีนี้อาจเกิดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เพราะอากาศทำให้ผ้าไม่ค่อยแห้งสนิท มีความอับชื้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อราได้ แต่นอกจากสภาพอากาศแล้ว เชื่อไหมคะว่าผู้หญิงบางคนก็ชอบใส่ชุดซ้ำ ๆ หรือมีเหตุจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นบ้างในบางครั้ง ซึ่งนี่ก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อยีสต์ในร่มผ้า
3. ปล่อยให้ตัวเองอ้วน
ความอ้วนย่อมก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง แต่นอกจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้ว ภาวะขาเบียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้นมากกว่าปกติ ส่งผลให้เชื้อยีสต์ (รา) เพิ่มจำนวนขึ้นได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดอย่างเห็นได้ชัด
- 7 คลิปออกกำลังกายลดต้นขาด้านใน บ๊ายบายขาเบียด !
สำหรับสาว ๆ สายน้ำหวาน สายแป้ง หรือสายฟาสต์ฟู้ด กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อราในร่มผ้าได้เช่นกัน เนื่องจากเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดชอบกินน้ำตาล ดังนั้นหากร่างกายเรามีน้ำตาลเยอะ ยีสต์เหล่านี้ก็จะอิ่มหนำสมบูรณ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้
5. เครียด
เพียงแค่เครียดก็ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุลแล้วล่ะค่ะ นอกจากนั้นความเครียดยังส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความหิวออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากกินของหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูง หล่อเลี้ยงเชื้อยีสต์ในช่องคลอดโดยไม่รู้ตัว
6. อดนอน
ร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอก็ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นได้ สังเกตง่าย ๆ จากวันไหนที่เราไม่ค่อยได้นอน วันนั้นเราจะอยากกินน้ำหวาน อยากกินอาหารไขมันสูงมากกว่าปกติ และการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลแบบนี้ ยีสต์ในช่องคลอดก็หวานปากเลย
โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ชอบตากกางเกงชั้นในในห้องนอน โดยไม่ได้ตากกางเกงชั้นในในที่ที่มีอากาศถ่ายเท และแสงแดดเข้าถึงได้สะดวก โอกาสในการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในกางเกงชั้นในก็ย่อมเพิ่มขึ้น และเมื่อไรที่คุณสวมกางเกงชั้นในที่มีเชื้อราฝังตัวอยู่ เชื้อราเหล่านี้ก็จะเคลื่อนตัวเข้าหาเขตอบอุ่นและร้อนชื้นกว่าอย่างช่องคลอดของสาว ๆ ส่งผลให้เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ไม่น้อย
8. สวนล้างช่องคลอด
การสวนล้างช่องคลอดเป็นการทำร้ายแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด ส่งผลให้เชื้อราในช่องคลอดเติบโตแย่งพื้นที่อาศัยในจุดซ่อนเร้นเราได้มากขึ้น อีกทั้งการสวนล้างช่องคลอดยังเสี่ยงต่ออาการอักเสบอื่น ๆ อีกด้วยนะคะ
9. ใส่แผ่นอนามัยตลอด
สาว ๆ บางคนนิยมใส่แผ่นอนามัยตลอด ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อน้องน้อยของเราเลยนะคะ เพราะการใส่แผ่นอนามัยจะยิ่งเพิ่มความอับชื้น ยีสต์ในช่องคลอดก็ฟินกันไป ส่วนเราก็เสี่ยงติอเชื้อราในร่มผ้าไปสิ
10. เปลี่ยนคู่นอน
เชื้อราในช่องคลอดสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ด้วยนะคะ โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือมีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย
11. ใส่กางเกงชั้นในคับ ๆ นอน
ผู้หญิงบางคนไม่มั่นใจที่จะปล่อยให้น้องสาวโล่ง ๆ ขนาดจะเข้านอนในห้องส่วนตัวยังต้องสวมใส่กางเกงในตามปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นได้นะคะ ฉะนั้นเปลี่ยนมาใว่กางเกงขาสั้นหลวม ๆ ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกจะดีกว่า แต่หากต้องนอนนอกสถานที่ ไม่สะดวกจะสวมเพียงกางเกงขาสั้น อาจเลือกใช้กางเกงในชนิดกระดาษที่ใส่ครั้งเดียวแล้วทิ้งได้ค่ะ
12. ใส่ผ้าอนามัยนาน ๆ
ในระหว่างมีประจำเดือน ใครที่ชอบใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดียวเป็นเวลานาน ไม่ค่อยจะเปลี่ยนผ้าอนามัย เตือนไว้ก่อนเลยค่ะว่าเสี่ยงต่อการเพิ่มเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดมากขึ้นจนอาจเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ เพราะความอับชื้นที่มาจากผ้าอนามัยจะส่งผลให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเชื้อราเหล่านี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางช่องคลอด ดังนั้นทางที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง หรือสาวที่มีประจำเดือนมามากควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดค่ะ
สาวคนไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่กล่าวไป รีบกลับตัวกลับใจให้ไวก่อนมีอาการเชื้อราในช่องคลอดนะคะ
เชื้อราในช่องคลอด อาการเป็นอย่างไร
ในกรณีที่ติดเชื้อราในช่องคลอดไม่มาก อาการอาจไม่แสดงเลย แต่หากไปตรวจภายใน (ด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) ก็อาจจะเจอว่ามีการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ ทว่าในรายที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอดค่อนข้างมาก อาการสำคัญที่สังเกตได้หากเป็นเชื้อราในช่องคลอดก็คืออาการแสบ คัน ภายในช่องคลอด มีตกขาวแปลกไปโดยมีสีคล้ายซีส (สีออกเหลือง) หากส่องกล้องดูอาจเห็นก้อนจกขาวคล้าย ๆ ดอกเห็ด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อราในช่องคลอดจะเจริญต่อไปกลายเป็นสายยาว ๆ (Mycelia) ซึ่งยีสต์เหล่านี้สามารถแทรกเข้าไปในผนังช่องคลอดได้ ซึ่งในเคสนี้ก็จะมีอาการคันในช่องคลอด มีตกขาวสีเหลือง หรือตกขาวขุ่นและจับตัวคล้ายแป้งเปียก
ในกรณีที่เกิดภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดที่ไม่รุนแรงมาก ไม่แสดงอาการคัน แสบ หรือมีตกขาวที่ผิดปกติ เคสนี้อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาก็ได้ค่ะ เพราะตกขาวที่ต่อมจากปากช่องคลอดและปากมดลูกผลิตออกมา จะทำหน้าที่ดันเชื้อราในช่องคลอดออกไป และรักษาสมดุลกรด-ด่างในช่องคลอดให้เป็นปกติ
แต่สำหรับในรายที่มีอาการคัน แสบ และมีตกขาวอันเกิดจากติดเชื้อราในช่องคลอด สามารถเข้าไปรับการรักษาได้ในหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
- รักษาด้วยการกินยาต้านเชื้อรา
- รักษาด้วยครีมต้านเชื้อรา (ทาในช่องคลอด)
- รักษาด้วยการเหน็บยา
ทั้งนี้การรักษาอาการติดเชื้อราในช่องคลอด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ว่าจะใช้วิธีไหนรักษาเชื้อราในร่มผ้าเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ในขณะที่ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด
เชื้อราในช่องคลอดของหญิงตั้งครรภ์ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้หรือไม่
ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเชื้อราไม่มีความสามารถมากพอจะก่อให้เกิดการติดเชื้อราในเด็กทารกได้ แต่หากแม่ท้องเป็นเชื้อราในช่องคลอดแล้วไม่ได้รักษาให้หาย และเป็นเชื้อราในช่องคลอดขณะที่คลอดลูกผ่านทางช่องคลอด จะทำให้เด็กอาจมีเชื้อราในลิ้น ในปาก และก้นได้ ซึ่งแพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยาทาหรือสอด เพื่อจะได้ไม่กระทบกับเด็กในครรภ์
เชื้อราในช่องคลอด อันตรายแค่ไหน
หากเป็นเชื้อราในช่องคลอด หรือมีอาการคันในร่มผ้า ตกขาวมีสีผิดปกติ สาว ๆ อย่าเพิ่งกังวลว่าจะอันตรายถึงชีวิตนะคะ การติดเชื้อราในช่องคลอดทำอันตรายได้มากสุดก็แค่อาการคันในร่มผ้า ซึ่งอาจส่งผลให้เสียบุคลิกและสร้างความทรมานให้ได้ไม่น้อย และหากใครยิ่งคันยิ่งเก่า บอกเลยว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อตามมาได้ ดังนั้นหากมีความผิดปกติใด ๆ กับจุดซ่อนเร้น รีบไปพบสูตินรีแพทย์จะดีที่สุด
เชื้อราในช่องคลอด ป้องกันอย่างไรดี
วิธีป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด จริง ๆ ก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่เราได้ชี้แจงไป โดยหัวใจหลักของการป้องกันเชื้อราในช่อคลอด ก็คือ การพยายามอย่าให้จุดซ่อนเร้นอับชื้น และพยายามรักษารูปร่างตัวเองไม่ให้อ้วน ซึ่งอาจทำให้ขาเบียด เพิ่มโอกาสให้จุดซ่อนเร้นมีความอับชื้นมากขึ้น
ดูแลน้องสาวให้ห่างไกลเชื้อราในช่องคลอด
สาว ๆ สามารถดูแลน้องสาวให้ห่างไกลจากเชื้อราในช่องคลอด พร้อมทั้งดูแลสุขภาพของจุดช่อนเร้นให้ดีได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อช่องคลอดตามนี้
- 5 อาหารเพื่อสุขภาพช่องคลอด กินเท่านี้น้องสาวก็แฮปปี้
นอกจากอาหารที่ควรกินเพื่อดูแลสุขภาพน้องสาวของเราแล้ว กระปุกดอทคอมก็อยากเตือนให้สาว ๆ รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับเรื่องใกล้ตัวอย่างผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน ที่ควรนำมาตากแดดทุกครั้งหลังการใช้งาน หรืออาจเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวทุก ๆ 3 วัน และไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำกันโดยที่ยังไม่ได้ซัก เพราะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ในผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าเหล่านี้ อาจพาเชื้อราเข้ามาสู่ช่องคลอด ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอดได้
อ้อ ! และเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรง มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
healthline