วันสองวันเห็นรูปภาพเจ้าปัญหาถูกแชร์มากมายก่ายกอง
ซึ่งเป็นรูปกล้วยที่ข้ามมาออกเครือฝั่งเพื่อนบ้าน
บางคนก็บอกว่าสามารถที่จะตัดกินได้ บางคนก็บอกว่าอย่างเพิ่งตัดกิน
วันนี้เรามีข้อกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
นายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความชื่อดังเจ้าของทวิตเตอร์ @tanaiwirat ให้ข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้ โดยหากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นรากเจาะทะลุกำแพง กิ่งก้าน หรือส่วนใดๆ ล้ำเข้ามาก่อให้เกิดความรำคาญต่อเจ้าของบ้านผู้เดือดร้อน ยังคงไม่สามารถตัดได้ในทันที เจ้าของบ้านที่เดือดร้อนต้องเจรจากับคู่กรณี และอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วัน หรือ 10 วัน ตามสมควรที่กฎหมายระบุไว้ เพราะบางครั้งทั้ง 2 บ้านอาจผิดใจกัน จึงไปลงบันทึกประจำวันไว้
“อยู่ดีๆจะไปตัดของเขา จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ถ้าจะตัดเนื่องจากมันเลยเข้ามาในบ้านของเรา ต้องแจ้งเจ้าของบ้านก่อน แล้วกำหนดเวลาให้เขา ถ้าภายในกำหนดเวลาเจ้าของกล้วยเขาไม่ตัด เราก็ตัดได้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท แม้ว่ากล้วยหรือผลไม้อื่นๆจะร่วงออกจากต้น ตกในเขตพื้นบ้านเรา ก็ยังจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของ เพราะคล้ายๆการทำของหล่นหาย ผู้ใดเอาไปเป็นของตัวเองก็มีความผิด” ทนายวิรัช ระบุ.
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก @tanaiwirat
นายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความชื่อดังเจ้าของทวิตเตอร์ @tanaiwirat ให้ข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้ โดยหากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นรากเจาะทะลุกำแพง กิ่งก้าน หรือส่วนใดๆ ล้ำเข้ามาก่อให้เกิดความรำคาญต่อเจ้าของบ้านผู้เดือดร้อน ยังคงไม่สามารถตัดได้ในทันที เจ้าของบ้านที่เดือดร้อนต้องเจรจากับคู่กรณี และอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วัน หรือ 10 วัน ตามสมควรที่กฎหมายระบุไว้ เพราะบางครั้งทั้ง 2 บ้านอาจผิดใจกัน จึงไปลงบันทึกประจำวันไว้
“อยู่ดีๆจะไปตัดของเขา จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ถ้าจะตัดเนื่องจากมันเลยเข้ามาในบ้านของเรา ต้องแจ้งเจ้าของบ้านก่อน แล้วกำหนดเวลาให้เขา ถ้าภายในกำหนดเวลาเจ้าของกล้วยเขาไม่ตัด เราก็ตัดได้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท แม้ว่ากล้วยหรือผลไม้อื่นๆจะร่วงออกจากต้น ตกในเขตพื้นบ้านเรา ก็ยังจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของ เพราะคล้ายๆการทำของหล่นหาย ผู้ใดเอาไปเป็นของตัวเองก็มีความผิด” ทนายวิรัช ระบุ.
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก @tanaiwirat