เพิ่งรู้ว่า...กินมะเขือเปราะ ทุกวัน จะทำให้ร่างกายดีขนาดนี้ คิดไม่ถึงจริงๆ

มะเขือเปราะ ผักที่มักเห็นเป็นประจำคู่เคียงน้ำพริก อาหารอิสานจำพวกลาบ ส้มตำ หรือทำเมนูเด็ดๆ อย่างผัดเผ็ดต่างๆ เมนูแกงป่า แกงเขียวหวาน ก็เป็นวัตถุดิบหนึ่งที่ลงตัว อร่อยเข้ากัน หลายๆ คนไม่ชอบทานด้วยรสชาติของมะเขือเปราะรสจะออกจืดๆ ขื่นๆ กลิ่นหืนนิดๆ ยิ่งในคนที่ไม่ชอบทานผัก

มะเขือเปราะ เป็นผักชนิดเกือบสุดท้ายที่จะทานได้ แต่คุณจะต้องเปลี่ยนใจแน่ๆ หากได้รู้จักประโยชน์จากการทานมะเขือเปราะ มะเขือเปราะที่คนไทยมักนิยมทานเป็นอาหาร แต่ในอินเดียใช้เป็นยา ด้วยมะเขือเปราะนั้นมีประโยชน์และคุณค่า สรรพคุณเป็นยา

คุณค่าทางสารอาหารของมะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 39 กิโลแคลอรี่ มี โปรตีน 1.6 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, แป้ง 7.1 กรัม, แคลเซียม 7 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม, เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม, ไทอะมีน 0.11 มิลลิกรัม, ไนอะซีน 0.6 มิลลิกรัม, ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลิกรัม, น้ำ 90.2 กรัม, วิตามินเอ และ วิตามินซี

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

– มีสรรพคุณใช้สำหรับขับพยาธิได้ และช่วยในการย่อยอาหาร

– รักษาโรคเบาหวาน มีผลงานวิจัยจากประเทศอินเดีย พบว่าสารสกัดจากผลมะเขือเปราะสามารถใช้ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้ดีพอๆ กับการใช้ยา สารสกัดออกฤทธิ์คล้ายๆ กับอินซูลิน ช่วยให้การเผาผลาญกลูโคสมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังพบว่าไม่มีพิษต่อหนูทดลองนั้นอีกด้วย

– ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ผลมะเขือเปราะมีสารไกลโคอัลคาลอยด์มาร์จีน และอัลคาลอยด์โซลาซาดีนซึ่งปราศจากโมเลกุลน้ำตาล ป้องกันเซลล์มะเร็งตับ และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่เจริญเติบโต

– มีสรรพคุณในการใช้รักษา อาการไอ โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และขับลม ทั้งยังมีการสนับสนุนด้วยหลักฐานทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียว่า มะเขือเปราะช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ

– มีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด ตามรายงานผลวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538

– สารโซลาโซดีนในมะเขือเปราะ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้

– ตำรับยาพื้นบ้านใช้ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ

บ้านเราโชคดีจริงๆ เลยนะคะ มีผักดีๆ ให้เลือกทานได้มากมายหลายชนิด ผักพื้นบ้านราคาประหยัด หาทานได้ง่ายๆ จะปลูกทานเองก็ย่อมทำได้ อย่างเช่นมะเขือเปราะ ทำอาหารทานได้หลายเมนู ไม่ซ้ำซากไม่จำเจ ทานได้บ่อยๆ ใครที่เคยเขี่ยมะเขือเปราะออกจากจานอาหาร คราวหน้า ..ไม่แล้วนะคะ

ข้อมูลจาก http://www.rak-sukapap.com/2016/07/blog-post_169.html