เผยวิธีปลูกมะลิ ปลูกครั้งเดียวเก็บดอกขายได้ตลอด สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเกินคาดเลยทีเดียว
ข้อดีของการปลูกมะลิคือ ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บดอกขายได้ตลอด ถ้าดูแลดีๆต้นมะลิจะให้ผลผลิตถึง 10 ปี แถวยังสร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำเกินคาดเลยทีเดียว...
การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมนเร่งราก
3. นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำตามทันที
4. รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป
ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้
นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน จึงนำเอาต้นมะลิปักชำลงปลูก
วิธีทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ) หรือ (น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำมะพร้าว,น้ำผลไม้คั้น แทนกากน้ำตาลได้)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง
วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ
นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้
ได้นานประมาณ 1 ปี
วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น
ข้อควรจำ เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี
วิธีทำปุ๋ยน้ำหมักจากปลา สูตรนี้ช่วยทำให้มะลิและไม้ดอกไม้ประดับเจริญเติบโตดี มีลำต้นแข็งแรง ออกดอกดกและงาม โดยไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยแต่อย่างใด
มีส่วนผสมดังนี้ เศษปลาทะเล,หัวปลา,กระดูกปลา รวมจำนวน 3 ส่วน
ใช้หมักกับกากน้ำตาล 2 ส่วน,น้ำสะอาด และสารเร่ง พ.ด.2 จำนวน 1 ซอง
โดยหมักทิ้งไว้ 21-90 วัน วิธีใช้ประโยชน์ ให้ผสมน้ำในอัตรา 1:1,000
ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน
- กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
- น้ำมะพร้าว 4 – 5 ลูก
- สับปะรด 2 ลูก
- ถังพลาสติกที่มีฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ หั่นสับปะรดแก่จัดทั้งลูก (ทั้งเปลือกและเนื้อ) เป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ลูก ปอกมะพร้าวอ่อนเอาแต่น้ำมะพร้าว 4 – 5 ลูกนำสับปะรด น้ำมะพร้าว และกากน้ำตาล มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังพลาสติกปิดฝาทิ้งไว้ในที่ล่ม (ควรคลุกเคล้ากลับไปกลับมาในถัง ทุก 2 วัน) ประมาณ 1 -2 เดือน
จะได้หัวเชื้ออีเอ็มที่มีสีน้ำตาล กลิ่นหอม ไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป
ทำการตัดแต่งกิ่งต้นมะลิในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยตัดเฉพาะส่วนยอดมะลิออกประมาณ 2-3 ชั้นใบ ให้มีใบที่สมบูรณ์อยู่กับต้นให้มากที่สุด และพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร (ความเข้มข้น 2.5 %) ให้ทั่วทั้งต้น จำนวน 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกตาข้าง การตัดแต่งกิ่งมะลิร่วมกับการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกกิ่งใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ที่มา - ศูนย์รวมความรู้การเกษตร
https://www.facebook.com/farmlandthai/posts/1516101751768158
ข้อดีของการปลูกมะลิคือ ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บดอกขายได้ตลอด ถ้าดูแลดีๆต้นมะลิจะให้ผลผลิตถึง 10 ปี แถวยังสร้างรายได้ให้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำเกินคาดเลยทีเดียว...
การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมนเร่งราก
3. นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำตามทันที
4. รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป
ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้
การปลูก
ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน จึงนำเอาต้นมะลิปักชำลงปลูก
วิธีดูแลให้ใส่ปุ๋ยโบกาฉิเดือนละ 2 ครั้ง
วิธีทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ) หรือ (น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำมะพร้าว,น้ำผลไม้คั้น แทนกากน้ำตาลได้)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง
วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ
นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้
การเก็บรักษา
เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 ปี
วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น
ข้อควรจำ เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี
วิธีทำปุ๋ยน้ำหมักจากปลา สูตรนี้ช่วยทำให้มะลิและไม้ดอกไม้ประดับเจริญเติบโตดี มีลำต้นแข็งแรง ออกดอกดกและงาม โดยไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยแต่อย่างใด
มีส่วนผสมดังนี้ เศษปลาทะเล,หัวปลา,กระดูกปลา รวมจำนวน 3 ส่วน
ใช้หมักกับกากน้ำตาล 2 ส่วน,น้ำสะอาด และสารเร่ง พ.ด.2 จำนวน 1 ซอง
โดยหมักทิ้งไว้ 21-90 วัน วิธีใช้ประโยชน์ ให้ผสมน้ำในอัตรา 1:1,000
ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน
วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM
วัสดุ - อุปกรณ์- กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
- น้ำมะพร้าว 4 – 5 ลูก
- สับปะรด 2 ลูก
- ถังพลาสติกที่มีฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ หั่นสับปะรดแก่จัดทั้งลูก (ทั้งเปลือกและเนื้อ) เป็นชิ้นเล็ก ๆ 2 ลูก ปอกมะพร้าวอ่อนเอาแต่น้ำมะพร้าว 4 – 5 ลูกนำสับปะรด น้ำมะพร้าว และกากน้ำตาล มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังพลาสติกปิดฝาทิ้งไว้ในที่ล่ม (ควรคลุกเคล้ากลับไปกลับมาในถัง ทุก 2 วัน) ประมาณ 1 -2 เดือน
จะได้หัวเชื้ออีเอ็มที่มีสีน้ำตาล กลิ่นหอม ไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป
วิธีกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกตาดอก
ทำการตัดแต่งกิ่งต้นมะลิในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยตัดเฉพาะส่วนยอดมะลิออกประมาณ 2-3 ชั้นใบ ให้มีใบที่สมบูรณ์อยู่กับต้นให้มากที่สุด และพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร (ความเข้มข้น 2.5 %) ให้ทั่วทั้งต้น จำนวน 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกตาข้าง การตัดแต่งกิ่งมะลิร่วมกับการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกกิ่งใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ที่มา - ศูนย์รวมความรู้การเกษตร
https://www.facebook.com/farmlandthai/posts/1516101751768158