ยื่นภาษี 2559 ทางอินเทอร์เน็ตใครว่ายาก เรารวบรวมขั้นตอนต่าง ๆ มาบอกกันแล้ว ต่อให้เป็นมือใหม่เพิ่งยื่นภาษีเป็นปีแรกก็ทำได้ชัวร์
เปิดปีใหม่ 2560 มาก็เข้าเทศกาลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ปีภาษี 2559 กันแล้ว สำหรับผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหลายคนคงเลือกใช้วิธียื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต เพราะง่ายและสะดวกสุด ๆ แต่ถ้าใครยังไม่เคยยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต แล้วสนใจจะใช้ช่องทางนี้ดูบ้าง เราก็มีขั้นตอนและคำแนะนำมาอธิบายกัน แล้วจะเข้าใจว่าการยื่นภาษีด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ
ใครต้องยื่นภาษี ?
หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ถ้ามีเงินได้มากกว่าเดือนละ 20,000 บาท หรือมีเงินได้ต่อปีสูงกว่า 240,000 บาท จึงจะมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องค่ะ เพราะนอกจากกรณีข้างต้นแล้ว กรมสรรพากรยังได้กำหนดให้คนที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายได้ ในกรณีต่อไปนี้
- คนโสด มีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนเกิน 30,000 บาทต่อปี หรือมีเฉพาะเงินเดือนตั้งแต่ 4,167 บาทขึ้นไป หรือตั้งแต่ 50,000 บาทต่อปี ในปีภาษีนั้น
- คนมีคู่ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนรวมกันเกิน 60,000 บาท หรือมีเฉพาะเงินเดือนเกิน 100,000 บาท ในปีภาษีนั้น
ยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ถึงวันไหน ?
สามารถยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-10 เมษายน 2560 ยิ่งยื่นแบบเร็วก็ยิ่งได้เงินคืนเร็วนะคะ
ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ?
แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ดูง่าย ๆ ว่าใครจะยื่นแบบไหน คือ
- ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
- ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว ก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ค่ะ
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษีด้วยตัวเองทางอินเทอร์เน็ต
1. หนังสือรับเงินเดือน (50 ทวิ) ซึ่งได้รับจากนายจ้าง เพื่อให้รู้ว่าในปีนั้นเรามีรายได้เท่าไร รวมทั้งชำระค่าประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้วเท่าไร เพราะต้องนำตัวเลขเหล่านี้มากรอกในการยื่นภาษีด้วย
2. ลิสต์รายการลดหย่อนที่เรามี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, บุตร, อุปการะคนพิการ ฯลฯ (ตรวจสอบเรื่องค่าลดหย่อนทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ)
3. เตรียมเอกสารลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ไว้ เพื่อนำตัวเลขค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากรอกในแบบฟอร์มยื่นภาษีด้วย เช่น ค่าซื้อสินค้าและบริการ, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน LTF/RMF, จำนวนเงินบริจาค, จำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไป
หรือจะลองคำนวณภาษีที่เราต้องเสียแบบคร่าว ๆ ดูก่อนก็ได้ โดยดูวิธีคำนวณภาษีที่กระทู้ "ยื่นภาษี 2559 พร้อมวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นะคะ
ขั้นตอนการยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเอง
วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไกด์สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเองค่ะ
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ epit.rd.go.th ของกรมสรรพากร
2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 ยื่นด้วยตัวเอง
- แต่หากยังไม่เคยลงทะเบียนให้คลิกลงทะเบียนก่อน แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา
- หากเคยลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ลืมรหัสผ่าน ให้เลือกลืมรหัสผ่าน เพื่อตอบคำถามที่เราเคยตั้งไว้ แต่หากลืมคำถามที่เคยตั้งไว้ด้วย ให้เลือก "เปลี่ยนรหัสผ่าน" แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน
3. เมื่อลงทะเบียนหรือเปลี่ยนรหัสผ่านเรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่หน้าแรก epit.rd.go.th เลือก "ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91" แล้วใส่ username พร้อมรหัสผ่านที่ตั้งไว้
4. จากนั้นจะมาที่หน้า "แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2559" ซึ่งจะมีข้อมูลที่เรากรอกไว้ตอนลงทะเบียนปรากฏอยู่แล้ว ในส่วนนี้ขอให้ตรวจสอบข้อมูลของเราอย่างละเอียด หากพบข้อมูลผิดพลาด เช่น เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ พิมพ์ชื่อผิด ให้รีบแก้ไข เพราะหากกดยืนยันไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้อีก
เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วถูกต้อง ให้คลิก "ทำรายการต่อไป"
5. เมื่อคลิกแล้วจะมาที่ "หน้าหลัก" ซึ่งจะปรากฏข้อมูลของเรา (ผู้มีเงินได้) อยู่ทางซ้ายมือด้านล่าง ส่วนด้านล่างเป็นส่วน "สถานภาพของผู้มีเงินได้" กรณีเป็น "บุคคลธรรมดา" ให้เลือกระหว่าง "โสด/สมรส/หม้าย"
- กรณีเลือกโสดหรือหม้าย ให้คลิกทำรายการต่อไปได้เลย
- กรณีเลือกสมรส ต้องกรอกข้อมูลคู่สมรสรวมทั้งข้อมูลการมีเงินได้ทางด้านขวามือก่อน แล้วจึงเลือกทำรายการต่อไป
6. จากนั้นมาที่หน้า "เลือกเงินได้/ลดหย่อน" ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลรายการเงินได้พึงประเมินและค่าลดหย่อน
6.1. รายการเงินได้พึงประเมิน
ให้เราติ๊กเครื่องหมายหน้าช่องที่เป็นแหล่งที่มาของเงินได้เรา เช่น
- หากมีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(1)
- แต่หากมีรายได้จากอื่น ๆ ด้วย ให้ติ๊กช่องอื่นเพิ่มเติม เช่น มีรายได้จากเงินปันผลของกองทุนรวมที่ซื้อไว้ ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(8)" กรณีได้รับเงินจากการขายบ้าน ให้ติ๊กที่ช่อง "เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์"
6.2. เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน
ส่วนนี้คือเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ให้เลือกที่ช่องนั้น เช่น
- หากบริษัทมีหักเงินประกันสังคมไป ให้เราเลือกที่ช่อง "เงินสมทบกองทุนประกันสังคม"
- กรณีดูแลบิดา-มารดาอายุเกิน 60 ปี ให้เลือกช่อง "อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป"
- หากซื้อกองทุน LTF ไว้ลดหย่อนภาษี ก็เลือกช่อง "ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF"
เมื่อเลือกครบแล้ว ให้กดทำรายการต่อไป
7. จากนั้นจะมาปรากฏที่หน้า "บันทึกเงินได้" ซึ่งจะให้เรากรอกข้อมูลรายละเอียดเงินได้และค่าลดหย่อนตามที่เราเลือกมาในหน้า "เลือกเงินได้/ลดหย่อน" ส่วนนี้ให้เรากรอกเงินเดือน ค่าจ้างที่เราได้รับ เช่น มาตรา 40(1) ให้เรากรอกเงินได้พึงประเมิน คือเงินที่เราได้รับจากค่าจ้างทั้งหมด พร้อมทั้งจำนวนภาษีที่บริษัทหักไป หากมีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ให้กรอกตัวเลขนั้นไป
ส่วนช่อง "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้" ให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา ซึ่งจะมีข้อมูลอยู่ในใบ 50 ทวิ
หากมีเงินได้นอกเหนือจากค่าจ้าง ก็จะมีช่องให้กรอกเพิ่มเติมเมื่อกดไปที่ "ทำรายการต่อไป"
8. เมื่อกรอกข้อมูลเงินได้เสร็จสรรพ จะมาที่หน้า "บันทึกค่าลดหย่อน"
ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลการลดหย่อนต่าง ๆ เช่น กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา-บุตร-คนพิการ ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของผู้ที่เราอุปการะด้วย หรือหากซื้อกองทุน, ช้อปปิ้ง, บริจาค, ไปท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม ให้กรอกจำนวนเงินที่ซื้อหรือใช้บริการลงไป เสร็จแล้วเลือก "ทำรายการต่อไป"
9. จากนั้นจะมาที่หน้า "คำนวณภาษี" ซึ่งระบบจะคำนวณให้เรียบร้อยว่าหักอะไรเท่าไร ก่อนสรุปว่าเราต้องเสียภาษีในปี 2559 เท่าไร โดยหากข้อมูลระบุว่า "ชำระเพิ่มเติม" แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินที่เราจ่ายไป แต่หากข้อมูลระบุว่า "ชำระไว้เกิน" เท่ากับเราจะได้เงินภาษีคืนกลับมา
ด้านล่างจะมีข้อความระบุ "การแสดงเจตนาบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองของผู้มีเงินได้" กรณีเราชำระภาษีไว้เกิน แล้วต้องการบริจาคให้พรรคการเมือง ให้เลือก "ประสงค์บริจาค" พร้อมเลือกพรรคการเมืองที่เราต้องการบริจาคเงินให้ แต่หากต้องการภาษีคืน ให้เลือก "ไม่ประสงค์บริจาค" แล้วเลือก "มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี" จากนั้นกด "ทำรายการต่อไป"
ช่องล่างสุด หากเราเลือก "มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี" ระบบจะขึ้นข้อความดังนี้
กรณีที่เราผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้แล้ว
กรมสรรพากรจะโอนเงินภาษีคืนให้ทางบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์
ซึ่งจะทำได้รวดเร็วกว่าการส่งคืนภาษีด้วยเช็คเหมือนปีก่อน ๆ
เมื่ออ่านจบแล้วให้คลิก "ปิด"
10. จากนั้นจะปรากฏหน้า "ยืนยันการยื่นแบบ" ให้เราตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นกด "ยืนยันการยื่นแบบ" เป็นอันเสร็จสิ้น
ระหว่างนี้หากยังไม่กดยืนยันการยื่นแบบในหน้าสุดท้าย เรายังสามารถกลับไปแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในหน้าก่อน ๆ ได้นะคะ
เมื่อกดยืนยันการยื่นแบบนั้น จากนั้นจะมาที่หน้า "ผลการยื่นแบบ" ซึ่งจะแจ้งให้เราทราบว่า ได้เงินภาษีคืนเท่าไร ยื่นแบบวันไหน กรณีต้อง "ชำระภาษีเพิ่มเติม" จะมีรายละเอียดระบุว่า สามารถชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางไหนบ้าง เช่น โอนทางธนาคารหรือ ATM และยังสามารถผ่อนจ่ายได้ด้วย ตรวจสอบข้อมูลการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ "การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?"
- ผ่อนภาษี ได้ 3 งวด ทางเลือกง่าย ๆ ของคนจ่ายภาษี
วิธีการตรวจสอบข้อมูลการขอคืนภาษี
หลังจากยื่นภาษีแล้ว 3 วันทำการ สามารถสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษีได้ที่กรมสรรพากร rd.go.th ซึ่งเราไม่ควรลืมตรวจสอบนะคะ เพราะกรมสรรพากรอาจเรียกตรวจเอกสารของเราได้ กรณีนี้เราจะต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง
ๆ สแกนเป็นไฟล์แล้วอัพโหลดผ่านหน้าเว็บกรมสรรพากร
เพื่อตรวจสอบภายในวันที่กำหนด ซึ่งเมื่อกรมสรรพากรตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
ก็จะดำเนินการส่งเช็คคืนภาษีให้เราทางไปรษณีย์ต่อไปค่ะ
และหากใครสมัครพร้อมเพย์ไว้
กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ทางบัญชีธนาคารที่เราผูกพร้อมเพย์ไว้
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (Call Center) โทร. 1161 หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ
กรอกข้อมูลผิดไป ทำไงดี ?
สำหรับคนที่ยื่นแบบภาษีทางออนไลน์ไปแล้วและเพิ่งรู้ว่ากรอกข้อมูลผิดไป กรณีนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขแบบที่ยื่นไปแล้วได้นะคะ แต่เราจะต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกดเลือกช่อง "ยื่นเพิ่มเติม" ซึ่งกรมสรรพากรจะพิจารณาจากการยื่นแบบครั้งล่าสุดที่เรายื่นไป เพราะฉะนั้นใครกรอกข้อมูลผิดไป ก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ลองทำขั้นตอนตามนี้ดูเลย
- ยื่นภาษีผิดทำไงดี ไม่ต้องตกใจไป แค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว !
ถ้าไม่ยื่นทางออนไลน์ จะยื่นทางไหนได้อีก ?
นอกจากช่องทางออนไลน์แล้ว เราอาจเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่อื่น ๆ ได้เช่นกัน คือ
ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สรรพากรเขต/อำเภอ เดิม) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
- ธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร
ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
- ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ
- สำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
หรือสามารถยื่นแบบภาษีออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นของ E-FILING ของกรมสรรพากรได้เลย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ rdserver.rd.go.th
ขั้นตอนอาจจะดูเยอะ แต่ถ้าเราเตรียมข้อมูลหลักฐานไว้พร้อมแล้ว และลองคลิกตามไปทีละขั้น จะเห็นว่าการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ยากอยางที่เราคิดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสรรพากร
เปิดปีใหม่ 2560 มาก็เข้าเทศกาลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ปีภาษี 2559 กันแล้ว สำหรับผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหลายคนคงเลือกใช้วิธียื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต เพราะง่ายและสะดวกสุด ๆ แต่ถ้าใครยังไม่เคยยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต แล้วสนใจจะใช้ช่องทางนี้ดูบ้าง เราก็มีขั้นตอนและคำแนะนำมาอธิบายกัน แล้วจะเข้าใจว่าการยื่นภาษีด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ
ใครต้องยื่นภาษี ?
หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ถ้ามีเงินได้มากกว่าเดือนละ 20,000 บาท หรือมีเงินได้ต่อปีสูงกว่า 240,000 บาท จึงจะมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องค่ะ เพราะนอกจากกรณีข้างต้นแล้ว กรมสรรพากรยังได้กำหนดให้คนที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายได้ ในกรณีต่อไปนี้
- คนโสด มีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนเกิน 30,000 บาทต่อปี หรือมีเฉพาะเงินเดือนตั้งแต่ 4,167 บาทขึ้นไป หรือตั้งแต่ 50,000 บาทต่อปี ในปีภาษีนั้น
- คนมีคู่ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนรวมกันเกิน 60,000 บาท หรือมีเฉพาะเงินเดือนเกิน 100,000 บาท ในปีภาษีนั้น
ยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ถึงวันไหน ?
สามารถยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-10 เมษายน 2560 ยิ่งยื่นแบบเร็วก็ยิ่งได้เงินคืนเร็วนะคะ
ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ?
แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ดูง่าย ๆ ว่าใครจะยื่นแบบไหน คือ
- ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
- ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว ก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ค่ะ
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษีด้วยตัวเองทางอินเทอร์เน็ต
1. หนังสือรับเงินเดือน (50 ทวิ) ซึ่งได้รับจากนายจ้าง เพื่อให้รู้ว่าในปีนั้นเรามีรายได้เท่าไร รวมทั้งชำระค่าประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้วเท่าไร เพราะต้องนำตัวเลขเหล่านี้มากรอกในการยื่นภาษีด้วย
2. ลิสต์รายการลดหย่อนที่เรามี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, บุตร, อุปการะคนพิการ ฯลฯ (ตรวจสอบเรื่องค่าลดหย่อนทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ)
3. เตรียมเอกสารลดหย่อนภาษีอื่น ๆ ไว้ เพื่อนำตัวเลขค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากรอกในแบบฟอร์มยื่นภาษีด้วย เช่น ค่าซื้อสินค้าและบริการ, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน LTF/RMF, จำนวนเงินบริจาค, จำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไป
หรือจะลองคำนวณภาษีที่เราต้องเสียแบบคร่าว ๆ ดูก่อนก็ได้ โดยดูวิธีคำนวณภาษีที่กระทู้ "ยื่นภาษี 2559 พร้อมวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นะคะ
ขั้นตอนการยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเอง
วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไกด์สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเองค่ะ
2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 ยื่นด้วยตัวเอง
- แต่หากยังไม่เคยลงทะเบียนให้คลิกลงทะเบียนก่อน แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา
- หากเคยลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ลืมรหัสผ่าน ให้เลือกลืมรหัสผ่าน เพื่อตอบคำถามที่เราเคยตั้งไว้ แต่หากลืมคำถามที่เคยตั้งไว้ด้วย ให้เลือก "เปลี่ยนรหัสผ่าน" แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน
3. เมื่อลงทะเบียนหรือเปลี่ยนรหัสผ่านเรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่หน้าแรก epit.rd.go.th เลือก "ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91" แล้วใส่ username พร้อมรหัสผ่านที่ตั้งไว้
4. จากนั้นจะมาที่หน้า "แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2559" ซึ่งจะมีข้อมูลที่เรากรอกไว้ตอนลงทะเบียนปรากฏอยู่แล้ว ในส่วนนี้ขอให้ตรวจสอบข้อมูลของเราอย่างละเอียด หากพบข้อมูลผิดพลาด เช่น เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ พิมพ์ชื่อผิด ให้รีบแก้ไข เพราะหากกดยืนยันไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้อีก
เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วถูกต้อง ให้คลิก "ทำรายการต่อไป"
- กรณีเลือกโสดหรือหม้าย ให้คลิกทำรายการต่อไปได้เลย
- กรณีเลือกสมรส ต้องกรอกข้อมูลคู่สมรสรวมทั้งข้อมูลการมีเงินได้ทางด้านขวามือก่อน แล้วจึงเลือกทำรายการต่อไป
6.1. รายการเงินได้พึงประเมิน
ให้เราติ๊กเครื่องหมายหน้าช่องที่เป็นแหล่งที่มาของเงินได้เรา เช่น
- หากมีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(1)
- แต่หากมีรายได้จากอื่น ๆ ด้วย ให้ติ๊กช่องอื่นเพิ่มเติม เช่น มีรายได้จากเงินปันผลของกองทุนรวมที่ซื้อไว้ ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(8)" กรณีได้รับเงินจากการขายบ้าน ให้ติ๊กที่ช่อง "เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์"
6.2. เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน
ส่วนนี้คือเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ให้เลือกที่ช่องนั้น เช่น
- หากบริษัทมีหักเงินประกันสังคมไป ให้เราเลือกที่ช่อง "เงินสมทบกองทุนประกันสังคม"
- กรณีดูแลบิดา-มารดาอายุเกิน 60 ปี ให้เลือกช่อง "อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป"
- หากซื้อกองทุน LTF ไว้ลดหย่อนภาษี ก็เลือกช่อง "ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF"
เมื่อเลือกครบแล้ว ให้กดทำรายการต่อไป
7. จากนั้นจะมาปรากฏที่หน้า "บันทึกเงินได้" ซึ่งจะให้เรากรอกข้อมูลรายละเอียดเงินได้และค่าลดหย่อนตามที่เราเลือกมาในหน้า "เลือกเงินได้/ลดหย่อน" ส่วนนี้ให้เรากรอกเงินเดือน ค่าจ้างที่เราได้รับ เช่น มาตรา 40(1) ให้เรากรอกเงินได้พึงประเมิน คือเงินที่เราได้รับจากค่าจ้างทั้งหมด พร้อมทั้งจำนวนภาษีที่บริษัทหักไป หากมีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ให้กรอกตัวเลขนั้นไป
ส่วนช่อง "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้" ให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา ซึ่งจะมีข้อมูลอยู่ในใบ 50 ทวิ
หากมีเงินได้นอกเหนือจากค่าจ้าง ก็จะมีช่องให้กรอกเพิ่มเติมเมื่อกดไปที่ "ทำรายการต่อไป"
8. เมื่อกรอกข้อมูลเงินได้เสร็จสรรพ จะมาที่หน้า "บันทึกค่าลดหย่อน"
ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลการลดหย่อนต่าง ๆ เช่น กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา-บุตร-คนพิการ ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของผู้ที่เราอุปการะด้วย หรือหากซื้อกองทุน, ช้อปปิ้ง, บริจาค, ไปท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม ให้กรอกจำนวนเงินที่ซื้อหรือใช้บริการลงไป เสร็จแล้วเลือก "ทำรายการต่อไป"
9. จากนั้นจะมาที่หน้า "คำนวณภาษี" ซึ่งระบบจะคำนวณให้เรียบร้อยว่าหักอะไรเท่าไร ก่อนสรุปว่าเราต้องเสียภาษีในปี 2559 เท่าไร โดยหากข้อมูลระบุว่า "ชำระเพิ่มเติม" แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินที่เราจ่ายไป แต่หากข้อมูลระบุว่า "ชำระไว้เกิน" เท่ากับเราจะได้เงินภาษีคืนกลับมา
ด้านล่างจะมีข้อความระบุ "การแสดงเจตนาบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองของผู้มีเงินได้" กรณีเราชำระภาษีไว้เกิน แล้วต้องการบริจาคให้พรรคการเมือง ให้เลือก "ประสงค์บริจาค" พร้อมเลือกพรรคการเมืองที่เราต้องการบริจาคเงินให้ แต่หากต้องการภาษีคืน ให้เลือก "ไม่ประสงค์บริจาค" แล้วเลือก "มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี" จากนั้นกด "ทำรายการต่อไป"
ช่องล่างสุด หากเราเลือก "มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี" ระบบจะขึ้นข้อความดังนี้
เมื่ออ่านจบแล้วให้คลิก "ปิด"
10. จากนั้นจะปรากฏหน้า "ยืนยันการยื่นแบบ" ให้เราตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นกด "ยืนยันการยื่นแบบ" เป็นอันเสร็จสิ้น
ระหว่างนี้หากยังไม่กดยืนยันการยื่นแบบในหน้าสุดท้าย เรายังสามารถกลับไปแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในหน้าก่อน ๆ ได้นะคะ
เมื่อกดยืนยันการยื่นแบบนั้น จากนั้นจะมาที่หน้า "ผลการยื่นแบบ" ซึ่งจะแจ้งให้เราทราบว่า ได้เงินภาษีคืนเท่าไร ยื่นแบบวันไหน กรณีต้อง "ชำระภาษีเพิ่มเติม" จะมีรายละเอียดระบุว่า สามารถชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางไหนบ้าง เช่น โอนทางธนาคารหรือ ATM และยังสามารถผ่อนจ่ายได้ด้วย ตรวจสอบข้อมูลการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ที่ "การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?"
- ผ่อนภาษี ได้ 3 งวด ทางเลือกง่าย ๆ ของคนจ่ายภาษี
วิธีการตรวจสอบข้อมูลการขอคืนภาษี
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (Call Center) โทร. 1161 หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ
กรอกข้อมูลผิดไป ทำไงดี ?
สำหรับคนที่ยื่นแบบภาษีทางออนไลน์ไปแล้วและเพิ่งรู้ว่ากรอกข้อมูลผิดไป กรณีนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขแบบที่ยื่นไปแล้วได้นะคะ แต่เราจะต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกดเลือกช่อง "ยื่นเพิ่มเติม" ซึ่งกรมสรรพากรจะพิจารณาจากการยื่นแบบครั้งล่าสุดที่เรายื่นไป เพราะฉะนั้นใครกรอกข้อมูลผิดไป ก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ ลองทำขั้นตอนตามนี้ดูเลย
- ยื่นภาษีผิดทำไงดี ไม่ต้องตกใจไป แค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว !
ถ้าไม่ยื่นทางออนไลน์ จะยื่นทางไหนได้อีก ?
นอกจากช่องทางออนไลน์แล้ว เราอาจเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่อื่น ๆ ได้เช่นกัน คือ
ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สรรพากรเขต/อำเภอ เดิม) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
- ธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร
ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ
- ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ
- สำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
หรือสามารถยื่นแบบภาษีออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นของ E-FILING ของกรมสรรพากรได้เลย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ rdserver.rd.go.th
ขั้นตอนอาจจะดูเยอะ แต่ถ้าเราเตรียมข้อมูลหลักฐานไว้พร้อมแล้ว และลองคลิกตามไปทีละขั้น จะเห็นว่าการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ยากอยางที่เราคิดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสรรพากร