โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย
โดยอัตราการเสียชีวิตของหนุ่มสาวที่สูงขึ้นนั้น
ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ตัวเองอยู่ในภาวะซึมเศร้านั่นเอง
โรคนี้บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี
ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ดังนั้น
เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ ซึ่งสามารถสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จะกลายเป็นคนเศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งเดิมที่ตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำ หรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้า บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีต ก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ไม่เห็นทางออก มองไม่เห็นอนาคต รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น และจากความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการอะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้น ได้จากอารมณ์ชั่ววูบ
3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือได้เพียงไม่นาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
4. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม
5. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
อย่าง ไรก็ตาม การรักษาผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านี้ ครอบครัว และญาติพี่น้อง ถือเป็นคนสำคัญที่สุด หากครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ ก็เป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการดูแลรักษาตัวเองต่อไป
นอกจากนี้ สสส. ยังได้แนะนำพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตด้วยหลัก “3 อ.” คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งการมีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 อ. นี้ หากปฏิบัติให้เหมาะสมและสมดุลกันแล้ว ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาพดีหรือไม่ดีของคนในทุกเพศทุกวัยได้อีกด้วย
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ ซึ่งสามารถสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จะกลายเป็นคนเศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งเดิมที่ตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำ หรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้า บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีต ก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ไม่เห็นทางออก มองไม่เห็นอนาคต รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น และจากความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการอะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้น ได้จากอารมณ์ชั่ววูบ
3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือได้เพียงไม่นาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
4. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม
5. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
อย่าง ไรก็ตาม การรักษาผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านี้ ครอบครัว และญาติพี่น้อง ถือเป็นคนสำคัญที่สุด หากครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ ก็เป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการดูแลรักษาตัวเองต่อไป
นอกจากนี้ สสส. ยังได้แนะนำพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตด้วยหลัก “3 อ.” คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ซึ่งการมีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 อ. นี้ หากปฏิบัติให้เหมาะสมและสมดุลกันแล้ว ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีสุขภาพดีหรือไม่ดีของคนในทุกเพศทุกวัยได้อีกด้วย
เนื้อหาโดย :
สสส. (2)