งานวิจัยใหม่จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่า การทำงานกะกลางคืนหรือการรบกวนนาฬิกาชีวภาพ
อาจทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้
เพราะร่างกายมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานตอนกลางวัน และนอนตอนกลางคืน
ทีมวิจัยพบยีนส์ 2 ชนิดในหนูทดลอง คือ Bmal1 และ Per2 ซึ่งทำงานควบคุมวงจรนาฬิกาชีวภาพในเซลล์ และช่วยระงับการเติบโตของมะเร็งด้วย นายแพทย์ ดร. เธลส์ ปาปาเกียนนาโกเปาลอส ผู้นำทีมวิจัย จากสถาบัน Koch Institute for Integrative Cancer Research ภายใต้ MIT บอกว่า การตัดยีนส์เหล่านี้ หรือการรบกวนวงจรเวลากลางวันและกลางคืนของร่างกาย จะทำให้เซลล์มะเร็งพัฒนาเร็วขึ้น
ในการทดลอง นักวิจัยรบกวนวงจรนาฬิกาชีวภาพของหนูทดลองที่เลี้ยงมาให้เป็นมะเร็งปอด เลียนแบบการทำงานกะกลางคืนและภาวะเจ็ตแล็ก (Jet Lag) ของมนุษย์ พบว่า ภาวะเจ็ตแล็กทำให้เซลล์มะเร็งโตเร็วขึ้นและอันตรายมากขึ้น
รายงานจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ยังชี้ว่า ไม่ว่าจะนอนเพิ่มอีกเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถชดเชยผลเสียที่เกิดจากการรบกวนวงจรนาฬิกาชีวภาพได้
อย่างไรก็ตามนายโจเซฟ ทากาฮาชิ ประธานแผนกประสาทวิทยาศาสตร์ ศูนย์การแพทย์เซาท์เวสเทิร์น มหาวิทยาลัยเท็กซัส บอกว่า แม้ว่าผลการทดลองจะค่อนข้างชัดเจน แต่นักวิทยาศาสตร์ยังจำเป็นต้องทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์นี้
ที่มา: NaturalNews
เรื่อง “นอนผิดเวลา ระวัง! มะเร็ง” เขียนโดย ธปัน cheewajit.com
เนื้อหาโดย :
นิตยสาร ชีวจิต
ทีมวิจัยพบยีนส์ 2 ชนิดในหนูทดลอง คือ Bmal1 และ Per2 ซึ่งทำงานควบคุมวงจรนาฬิกาชีวภาพในเซลล์ และช่วยระงับการเติบโตของมะเร็งด้วย นายแพทย์ ดร. เธลส์ ปาปาเกียนนาโกเปาลอส ผู้นำทีมวิจัย จากสถาบัน Koch Institute for Integrative Cancer Research ภายใต้ MIT บอกว่า การตัดยีนส์เหล่านี้ หรือการรบกวนวงจรเวลากลางวันและกลางคืนของร่างกาย จะทำให้เซลล์มะเร็งพัฒนาเร็วขึ้น
ในการทดลอง นักวิจัยรบกวนวงจรนาฬิกาชีวภาพของหนูทดลองที่เลี้ยงมาให้เป็นมะเร็งปอด เลียนแบบการทำงานกะกลางคืนและภาวะเจ็ตแล็ก (Jet Lag) ของมนุษย์ พบว่า ภาวะเจ็ตแล็กทำให้เซลล์มะเร็งโตเร็วขึ้นและอันตรายมากขึ้น
รายงานจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ยังชี้ว่า ไม่ว่าจะนอนเพิ่มอีกเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถชดเชยผลเสียที่เกิดจากการรบกวนวงจรนาฬิกาชีวภาพได้
อย่างไรก็ตามนายโจเซฟ ทากาฮาชิ ประธานแผนกประสาทวิทยาศาสตร์ ศูนย์การแพทย์เซาท์เวสเทิร์น มหาวิทยาลัยเท็กซัส บอกว่า แม้ว่าผลการทดลองจะค่อนข้างชัดเจน แต่นักวิทยาศาสตร์ยังจำเป็นต้องทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์นี้
ที่มา: NaturalNews
เรื่อง “นอนผิดเวลา ระวัง! มะเร็ง” เขียนโดย ธปัน cheewajit.com