โรคเลือดออกในสมอง พบได้ในวัยทำงาน จนถึงวันชราเสียไปส่วนใหญ่
แต่นับวันก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะโรคเลือดออกในสมองจัดว่าเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง
และโรงสมองขาดเลือด สาเหตุมาจากความเสื่อมของหลอดเลือดสมองในกลุ่มวัยชรา
บวกกับโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตต่างๆ
หากเกิดอาการลักษณะเช่นนี้ ขอให้สันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคเลือดออกในสมอง
1. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และฉับพลัน
2. แขนขาอ่อนแรง โดยอาจเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
3. มีอาการชาเฉียบพลันบริเวณใบหน้า แขน มือ หรือขา
4. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรืออาจปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว
5. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดแบบเฉียบพลัน
6. เดินตรงไม่ได้ ทรงตัวไม่ได้
7. คลื่นไส้อาเจียน
8. อาจเกิดอาการชัก หรือหมดสติได้
การป้องกันโรคเลือดออกในสมอง
1. หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นผู้มีความดันโลหิตสูง ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์
2. งดแอลกอฮอล์ และบุหรี่
3. งดทานอาหารรสจัด เช่น รสหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ไม่ประมาทเมื่อต้องขับขี่ยานพาหนะ คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อคเมื่อขี่มอเตอร์ไซค์
6. รักษาสภาวะทางอารมณ์ให้เป็นปกติอยู่เสมอ อย่าโกรธ อย่าโมโหบ่อย และอย่าเครียดมากเกินไป
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการออกอาการเฉียบพลันในเวลาที่ไม่พร้อม หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย
แม้โรคเลือดออกในสมองจะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจเสียชีวิตได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะป้องกันโรคนี้มาไม่ได้นะคะ ดังนั้นทางที่ดีเราควรป้องกันโรคนี้ตั้งแต่แรกจะดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ siamhealth.net
ภาพประกอบจาก istockphoto
หากเกิดอาการลักษณะเช่นนี้ ขอให้สันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคเลือดออกในสมอง
1. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และฉับพลัน
2. แขนขาอ่อนแรง โดยอาจเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
3. มีอาการชาเฉียบพลันบริเวณใบหน้า แขน มือ หรือขา
4. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรืออาจปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว
5. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดแบบเฉียบพลัน
6. เดินตรงไม่ได้ ทรงตัวไม่ได้
7. คลื่นไส้อาเจียน
8. อาจเกิดอาการชัก หรือหมดสติได้
การป้องกันโรคเลือดออกในสมอง
1. หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นผู้มีความดันโลหิตสูง ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์
2. งดแอลกอฮอล์ และบุหรี่
3. งดทานอาหารรสจัด เช่น รสหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ไม่ประมาทเมื่อต้องขับขี่ยานพาหนะ คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อคเมื่อขี่มอเตอร์ไซค์
6. รักษาสภาวะทางอารมณ์ให้เป็นปกติอยู่เสมอ อย่าโกรธ อย่าโมโหบ่อย และอย่าเครียดมากเกินไป
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการออกอาการเฉียบพลันในเวลาที่ไม่พร้อม หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย
แม้โรคเลือดออกในสมองจะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจเสียชีวิตได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะป้องกันโรคนี้มาไม่ได้นะคะ ดังนั้นทางที่ดีเราควรป้องกันโรคนี้ตั้งแต่แรกจะดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ siamhealth.net
ภาพประกอบจาก istockphoto