6 คำพูดที่ทำให้ลูก….เกิดแผลในใจ
1. ไม่เชื่อฟังใช่ไหม ไปเป็นลูกคนอื่นเลยไป๊!
2. หยุดๆ ไม่ต้องทำ ยิ่งช่วยยิ่งยุ่ง รู้อย่างนี้ฉันทำตั้งแต่แรกก็ดีแล้ว !
3. พ่อบอกแล้วใช่ไหมว่าไม่ (ชี้หน้าลูก) อย่ามาถามอีกนะ!
4. ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง โตมาไปเป็นควายก็แล้วกัน!
5. ทำไมโง่อย่างนี้ ทำไมแกไม่เก่งเหมือนลูกบ้านอื่น ห๊า!
6. รู้ว่าโตมาแกจะเป็นอย่างนี้ ฉันเอาขี้เถ้ายัดปากแกให้ตายไปตั้งแต่ตอนนั้นยังจะดีเสียกว่า!
หนังสือการเลี้ยงดูบุตรหลานมีอยู่มากมายเต็มร้านหนังสือทั่วไป
พ่อแม่แต่ละครอบครัว ต่างมีมาตรฐานในการเลี้ยงดูและอบรมบุตรหลานที่แตกต่างกันไป
การเรียนทฤษฏีนั้นไม่ยาก แต่ที่ยากก็คือการควบคุมอารมณ์ของคนเป็นพ่อแม่ หากลูกๆของคุณทำอะไรไม่เป็นไปดั่งใจของคุณ คุณทำยังไงกับลูกๆ?
คุณหัวเสีย? คุณสูญเสียการควบคุม? คุณกลายเป็นยักษ์? คุณกลายเป็นสัตว์ดุร้าย? ฯลฯ
คุณเป็นผู้ใหญ่ พูดเสร็จคุณปรับอารมณ์ได้ แต่ลูกๆยังไม่สามารถปรับอารมณ์ตามคุณได้อย่างรวดเร็ว
คุณทั้งหลายคงเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ เช่น เผลอตวาดหรือพลั้งฟาดมือของคุณลงไปที่เนื้อนิ่มๆของลูก จนเด็กน้อยมองคุณด้วยสายตาหวาดกลัวและมีน้ำตาคลออยู่ที่เบ้าตา ณ เวลานั้น
น้ำตาและสีหน้าของลูกดึงสติคุณกลับมาอีกครั้ง คุณรู้ไหม? ต่อให้คุณดึงลูกเข้ามากอดและปลอบโยน แต่ภาพเมื่อสักครู่ได้ฝังไว้ในคลังความจำของลูกๆอย่างไม่มีวันลบลืม มันกลายเป็น
บาดแผลที่ยากแก่การเยียวยา!
โบราณว่าไว้ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” แต่ไม่ใช่ตีเพราะลุแก่โทสะของตนเอง
อย่าตามใจลูกจนลูกกลายเป็นเด็กเหลือขอในสายตาของคนอื่น
อย่าดุด่าลูกจนลูกกลายเป็นคนที่หมดความมั่นใจในตนเอง
เมื่อลูกทำผิด ต้องรู้ตักเตือน
เมื่อลูกทำดี ต้องรู้ชื่นชม
เลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งนั้นไม่ยาก
เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีนั้นไม่ง่าย
แต่เลี้ยงลูกให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งนั้น นั่นแหละที่เรียกว่า “อภิชาตบุตร”
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : นุสนธิ์บุคส์
1. ไม่เชื่อฟังใช่ไหม ไปเป็นลูกคนอื่นเลยไป๊!
2. หยุดๆ ไม่ต้องทำ ยิ่งช่วยยิ่งยุ่ง รู้อย่างนี้ฉันทำตั้งแต่แรกก็ดีแล้ว !
3. พ่อบอกแล้วใช่ไหมว่าไม่ (ชี้หน้าลูก) อย่ามาถามอีกนะ!
4. ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง โตมาไปเป็นควายก็แล้วกัน!
5. ทำไมโง่อย่างนี้ ทำไมแกไม่เก่งเหมือนลูกบ้านอื่น ห๊า!
6. รู้ว่าโตมาแกจะเป็นอย่างนี้ ฉันเอาขี้เถ้ายัดปากแกให้ตายไปตั้งแต่ตอนนั้นยังจะดีเสียกว่า!
หนังสือการเลี้ยงดูบุตรหลานมีอยู่มากมายเต็มร้านหนังสือทั่วไป
พ่อแม่แต่ละครอบครัว ต่างมีมาตรฐานในการเลี้ยงดูและอบรมบุตรหลานที่แตกต่างกันไป
การเรียนทฤษฏีนั้นไม่ยาก แต่ที่ยากก็คือการควบคุมอารมณ์ของคนเป็นพ่อแม่ หากลูกๆของคุณทำอะไรไม่เป็นไปดั่งใจของคุณ คุณทำยังไงกับลูกๆ?
คุณหัวเสีย? คุณสูญเสียการควบคุม? คุณกลายเป็นยักษ์? คุณกลายเป็นสัตว์ดุร้าย? ฯลฯ
คุณเป็นผู้ใหญ่ พูดเสร็จคุณปรับอารมณ์ได้ แต่ลูกๆยังไม่สามารถปรับอารมณ์ตามคุณได้อย่างรวดเร็ว
คุณทั้งหลายคงเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ เช่น เผลอตวาดหรือพลั้งฟาดมือของคุณลงไปที่เนื้อนิ่มๆของลูก จนเด็กน้อยมองคุณด้วยสายตาหวาดกลัวและมีน้ำตาคลออยู่ที่เบ้าตา ณ เวลานั้น
น้ำตาและสีหน้าของลูกดึงสติคุณกลับมาอีกครั้ง คุณรู้ไหม? ต่อให้คุณดึงลูกเข้ามากอดและปลอบโยน แต่ภาพเมื่อสักครู่ได้ฝังไว้ในคลังความจำของลูกๆอย่างไม่มีวันลบลืม มันกลายเป็น
บาดแผลที่ยากแก่การเยียวยา!
โบราณว่าไว้ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” แต่ไม่ใช่ตีเพราะลุแก่โทสะของตนเอง
อย่าตามใจลูกจนลูกกลายเป็นเด็กเหลือขอในสายตาของคนอื่น
อย่าดุด่าลูกจนลูกกลายเป็นคนที่หมดความมั่นใจในตนเอง
เมื่อลูกทำผิด ต้องรู้ตักเตือน
เมื่อลูกทำดี ต้องรู้ชื่นชม
เลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่งนั้นไม่ยาก
เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีนั้นไม่ง่าย
แต่เลี้ยงลูกให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งนั้น นั่นแหละที่เรียกว่า “อภิชาตบุตร”
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : นุสนธิ์บุคส์