แนะนำท่าบริหารป้องกันนิ้วล๊อคแบบง่ายๆ ลองทำกันดูนะคะ
สำหรับใครที่มีปัญหานิ้วล็อคลองทำตามคลิปที่เพจ ปวดอะไรก็หายได้ by กภ.ขวัญหญิง แนะนำกันดูได้นะคะ ซึ่งวิธีและขั้นตอนก็ไม่ยากเลยลลองไปทำตามกันได้เลยคะ
สาเหตุของอาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร
สาเหตุเกิดจากการหิ้วของหนักบ่อยๆ หรือใช้นิ้วมือทำงานอย่างหนัก เช่น การหิ้วถุงจ่ายตลาดหรือช้อปปิ้ง การเกร็งนิ้วมือขณะพิมพ์งาน หรือการเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เปลือกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบหรือบวมจนทำให้ขาดความยืดหยุ่น โดยปกติทั่วไปเส้นเอ็นข้อมือจะมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอในกรณีกำหรือแบมือก็จะทำได้อย่างสะดวก ไม่มีอาการเจ็บหรืองอแล้วเหยียดออกไปได้ เมื่อมีการอักเสบทำให้เส้นเอ็นบวมขาดความยืดหยุ่นและในเอ็นนิ้วมือของคนเรายังมีเส้นเอ็น 2 ชุดขนานกันหากหิ้วของหรืองอนิ้วเป็นเวลานานๆ และทำซ้ำๆ เป็นประจำเส้นเอ็นอาจติดกันได้ ทำให้เป็นสาเหตุของอาการนิ้วล็อค
วิธีป้องกันอาการนิ้วล็อค
ในกรณีหิ้วถุงที่มีน้ำหนักมาก ควรปรับเปลี่ยนเป็นการแบก การสะพาย หรือใช้วิธีอุ้มช่วย เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วรับน้ำหนักของสิ่งของนั้นมากเกินไป
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องทำงานโดยใช้นิ้วมือในการบีบ ขยำเป็นเวลานานๆ
ลดการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์บ้าง หากจำเป็นต้องใช้ควรพักนิ้วมือเป็นระยะๆ
กรณีการเล่นกีฬาหรือทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งใดในลักษณะเดิมๆ เป็นเวลานาน เช่น การจับกรรไกรตัดแต่งกิ่งต้นไม้ การตีกอล์ฟ หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง
บริหารนิ้วมือเป็นประจำ เช่น บริหารนิ้วมือด้วยการบีบ หรือขยำลูกบอลที่นิ่มและขนาดพอดีมือ
ขอบคุณคลิปจาก ปวดอะไรก็หายได้ by กภ.ขวัญหญิง เรียบเรียงโดย share-si.com
สำหรับใครที่มีปัญหานิ้วล็อคลองทำตามคลิปที่เพจ ปวดอะไรก็หายได้ by กภ.ขวัญหญิง แนะนำกันดูได้นะคะ ซึ่งวิธีและขั้นตอนก็ไม่ยากเลยลลองไปทำตามกันได้เลยคะ
สาเหตุของอาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร
สาเหตุเกิดจากการหิ้วของหนักบ่อยๆ หรือใช้นิ้วมือทำงานอย่างหนัก เช่น การหิ้วถุงจ่ายตลาดหรือช้อปปิ้ง การเกร็งนิ้วมือขณะพิมพ์งาน หรือการเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เปลือกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบหรือบวมจนทำให้ขาดความยืดหยุ่น โดยปกติทั่วไปเส้นเอ็นข้อมือจะมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอในกรณีกำหรือแบมือก็จะทำได้อย่างสะดวก ไม่มีอาการเจ็บหรืองอแล้วเหยียดออกไปได้ เมื่อมีการอักเสบทำให้เส้นเอ็นบวมขาดความยืดหยุ่นและในเอ็นนิ้วมือของคนเรายังมีเส้นเอ็น 2 ชุดขนานกันหากหิ้วของหรืองอนิ้วเป็นเวลานานๆ และทำซ้ำๆ เป็นประจำเส้นเอ็นอาจติดกันได้ ทำให้เป็นสาเหตุของอาการนิ้วล็อค
วิธีป้องกันอาการนิ้วล็อค
ในกรณีหิ้วถุงที่มีน้ำหนักมาก ควรปรับเปลี่ยนเป็นการแบก การสะพาย หรือใช้วิธีอุ้มช่วย เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วรับน้ำหนักของสิ่งของนั้นมากเกินไป
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องทำงานโดยใช้นิ้วมือในการบีบ ขยำเป็นเวลานานๆ
ลดการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์บ้าง หากจำเป็นต้องใช้ควรพักนิ้วมือเป็นระยะๆ
กรณีการเล่นกีฬาหรือทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งใดในลักษณะเดิมๆ เป็นเวลานาน เช่น การจับกรรไกรตัดแต่งกิ่งต้นไม้ การตีกอล์ฟ หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง
บริหารนิ้วมือเป็นประจำ เช่น บริหารนิ้วมือด้วยการบีบ หรือขยำลูกบอลที่นิ่มและขนาดพอดีมือ
ขอบคุณคลิปจาก ปวดอะไรก็หายได้ by กภ.ขวัญหญิง เรียบเรียงโดย share-si.com