4 ท่า ง่ายๆ รักษาอาการ ปวดเมื่อย ปวดหลัง-เอว-บ่า หายหมด

แนะ 4 ท่า แก้ ปวดหลัง ปวดต้นคอ ทำทุกวันตอนเช้าอาการจะดีขึ้น

4 ท่า ง่ายๆ รักษาอาการ ปวดเมื่อย ปวดหลัง-เอว-บ่า หายหมด ทำแล้วหายไม่ต้องกินยา
โรคนี้เค้าเรียกว่าโรคนั่งเยอะ !! คิดเยอะ !!!


แ ช ร์ ต่อด้วยนะคับ ประโยชน์มากมาย สำหรับคนนั่งเยอะนอนเยอะ



 ปวดหลัง ปวดคอ... อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม!

หาก ชีวิตประจำวันของคุณคือนั่งทำงานในออฟฟิศแทบทั้งวัน และเหนื่อยล้าเกินกว่าจะออกกำลังกายเป็นประจำ เมื่อเวลาผ่านไปกลับมีอาการปวดไปตามแขน ขา บ่า ไหล่ ที่ทำอย่างไรก็ไม่หายขาด และคุณอาจจะนึกไม่ถึงว่าอาการปวดที่ว่านั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากกระดูก สันหลัง!

อาการ

ปวดคอ บ่า และไหล่ ที่ร้าวลงไปถึงแขน หรือแผ่ซ่านขึ้นไปถึงศีรษะ จนบางครั้งเข้าใจว่าตัวคุณเองปวดไมเกรน? แน่นอนว่าอาการปวดเหล่านี้ต่อให้กินยาเท่าไรก็ไม่หาย และพร้อมจะกลับมาปวดใหม่หลังจากยาแก้ปวดหมดฤทธิ์

อาการปวดบริเวณต่างๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ แขน ขา สะโพก นั้นบางครั้งอาจเกิดจากการอับเสกของกล้ามเนื้อ แต่หากอาการปวดต่างๆ เหล่านี้ เป็นอาการปวดที่ทรมาน กินยาแก้ปวดไม่หาย นี่ไม่ใช่การอักเสบของกล้ามเนื้อ แต่เป็นอาการเกร็งตัวเรื้อรัง สังเกตได้ว่าอาการปวดนั้นไม่ได้เกิดเนื่องจากได้รับการกระแทก หรือข้อเข่าเสื่อม แต่เป็นการปวดที่แผ่ลงมา อาการปวดนี้จะขยายมาจากส่วนกลางของลำตัว ให้ตระหนักว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แขน หลัง ขา สะโพก ต่างมีอาการปวดเรื้อรังไม่ต่างกัน แต่โรคที่เป็นนั้นต่างกันไป เช่น หมอน รองกระดูกเคลื่อนทับเส้น (HNP) ช่องกระดูกเสื่อมตีบทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) ปวดหลังร้าวลงสะโพกจากข้อฟาเซ็ต (Facet Syndrome) กระดูกเสื่อมทับไขสันหลังส่วนคอ (CSM) หมอนรองกระดูกเอวเสื่อม (DDD) กระดูกสันหลังส่วนเอวเลื่อนทับเส้น (Spondylolisthesis) และวัณโรคกระดูกสันหลัง (TB Spondylitis)

สาเหตุการปวดคอที่พบบ่อยๆ เกิดจาก

1.  อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะในกิจวัตรประจำวัน เช่น ยืนหลังค่อม พุงยื่น การก้มหน้าก้มตาทำงานทั้งวัน

2.  ความเครียดทางจิตใจ

3.  คอเคล็ดหรือยอก

4.  ภาวะข้อเสื่อม

5.  การบาดเจ็บของกระดูกคอ เช่น จากอุบัติเหตุจากที่ สูง ฯลฯ

6.  ข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์

7.  หมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท

การรักษา

1.  สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดจากการเอี้ยวผิดท่าหรือหลังตื่นนอน อย่าพยายามเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดีควรหาโอกาสนอน รายชั่วคราว ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำร้อนตรงบริเวณที่ ปวด ถ้ายังไม่ทุเลาให้กินยาแก้ปวด

2.  ผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักไม่รุนแรง แต่ก็มักทำให้รำคาญ เช่น เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยว คอจะทำได้ไม่เต็มที่ปวดภายหลังจากทำงานทั้งวัน หรือคอเคล็ดยอกบ่อยๆ เวลาบิดผิดท่า ควรประคบ ด้วยน้ำแข็งและน้ำอุ่น กินยาแก้ปวด และโดยการนวด อย่างถูกวิธี

3.  ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อคอ เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นดีขึ้น

4.  ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลา ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องต่อไป

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ

1.  ระวังอิริยาบถ แม้ขณะทำงานก้มๆ เงยๆ มาก และนานเกินไป

2.  ขณะทำงานควรหาเวลาหยุดพักเปลี่ยนอิริยาบถสัก 2-3 นาที ทุกๆ ชั่วโมง

3.  เก้าอี้ที่นั่งทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับรถ ควรเลือกเก้าอี้ที่พนักแข็งแรงและมีที่หนุนคอให้พอดี

4.  เวลานอน ควรนอนบนที่นอนที่แข็ง ให้ศีรษะอยู่ ระดับเดียวกับพื้น อย่านอนคว่ำอ่านหนังสือหรือดูทีวี

ข้อสำคัญที่สุด

หมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อคอทุกๆ วัน และพยายามลด ความเครียดจากชีวิตประจำวัน โดยการออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ

ปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายทาง แบ่งออกเป็น การทานยา การทำกายภาพบำบัด การจี้ด้วยเข็ม การฝังเข็ม จนกระทั้ง การผ่าตัด ซึ่งการรักษาในผู้ป่วยแต่ละหลายจะรักษาที่ต้นเหตุและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน เพราะปัจจุบันวิวัฒนาการในการรักษาโรคกระดูกทับเส้นประสาทนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น เพราะวิธีผ่าตัดไม่ใช้การรักษาที่ดีที่สุด ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาต่อไป”