หลายคนยังไม่เคยรู้! “หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ” เผยปริศนา ธูป 1 ดอก บอกถึงอะไร ทำไมเวลาจุดหน้าศพ ถึงใช้แค่ดอกเดียว
“ปริศนา ธูป 1 ดอก …” ไปงานบำเพ็ญกุศลผู้วายชนม์ที่วัดชลประทานมา ขนบการสวดพระอภิธรรมของวัดชลประทานสมัยนี้ ยังคงเป็นเหมือนกับสมัยที่หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ มีชีวิต… นั่นคือ งานสวดพระอภิธรรมต้องมีเทศนาธรรม แขกเหรื่อที่มาร่วมงานศพ ต้องสวดมนต์รับศีล ฟังเทศน์ ก่อนจะฟังสวดพระอภิธรรม
งานสวดวันแรกหลวงพ่อปัญญากำหนดให้เริ่มต้นที่การประชาสัมพันธ์งานของวัด ประชาสัมพันธ์เรื่องเปิดรับสมัครผู้เข้าบวช โดยต้องแจ้งให้วัดทราบก่อน 1 เดือน ค่าใช้จ่ายในการบวชเรียน 3 พันบาท ทั้งนี้ วัดชลประทานเปิดให้บวชทุกเดือนยกเว้นช่วงเข้าพรรษา ใครสนใจ…เชิญครับ !
หลังประชาสัมพันธ์แล้วการเทศนาก็เริ่มต้น เรื่องที่เทศน์ก็ไม่ยากเกินเข้าใจ อย่างเรื่องพวงหรีดเคารพศพ พระท่านบอกว่า หากเป็นไปได้ก็เปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าพวงหรีด เพราะพวงหรีดนอกจากจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ ยังเป็นภาระของวัด พระท่านเล่าว่า หลังจากงานศพเลิก เจ้าภาพทิ้งพวงหรีดเอาไว้ที่ศาลา เจ้าหน้าที่วัดต้องเก็บไปทิ้ง ระเกะระกะ จนผู้คนที่สัญจรไปมาอาจตำหนิพระ สุดท้ายวัดต้องจ้างเทศบาลเก็บไปทิ้ง…คิดดูสิว่า พวงหรีดที่นำมานี้เป็น “บุญ” หรือ “บาป”
ท่านไม่ได้บังคับ คือ ปล่อยให้คิด แต่เท่าที่ฟังๆ ก็มีหลายคนเริ่มเปลี่ยนใจ ไม่เอาพวงหรีด เปลี่ยนไปใช้พัดลมบ้าง ใช้ต้นไม้บ้าง ทั้งพัดลม และต้นไม้ หากเจ้าภาพไม่เอากลับ…วัดจะได้นำไปทำประโยชน์ต่อไป จบเรื่องพวงหรีด ต่อเรื่องใกล้ตัว เห็นกันจะจะตรงหน้า พระท่านเทศน์ด้วยคำถามต่อไปว่า “รู้ไหมว่าทำไมต้องจุดธูป 3 ดอกหน้าพระพุทธ” หลายคนคงบอกว่าเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คำตอบคือ ผิดครับ! ความจริงแล้วธูปทั้ง 3 ดอก จุดเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธเพียงอย่างเดียว
เพียงแต่ 3 ดอกที่จุดขึ้นนั้นก็เพื่อบูชาพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิกุลหรือพระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิการของพระพุทธเจ้า บูชาพระปัญญาคุณ เพราะพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระองค์เอง บูชาพระบริสุทธิคุณ เพราะหมดจดสิ้นโลภ โกรธ หลง บูชาพระมหากรุณาธิคุณ เพราะมีเมตตาสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งเห็นจริง
แล้วธูป 1 ดอกที่จุดหน้าศพล่ะ?
ไม่ต้องรอคำตอบ พระท่านได้เฉลยว่า ธูป 1 ดอก หมายความถึงชีวิตของคน…แต่ละคนมี 1 ชีวิตเท่ากัน ธูปส่วนที่ถูกเผาหมายถึงช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตมาแล้ว ส่วนธูปที่เหลือคือช่วงเวลาที่เหลืออยู่
พระท่านยังว่า เมื่ออยู่หน้าศพก็ให้ระลึกไว้ 3 อย่าง
หนึ่งคือ เอวัง ภาวี หมายถึง ต่อไปเราก็ต้องเป็นแบบนี้
หนึ่งคือ เอวัง ธัมโม สิ่งนี้คือธรรมชาติ
และอีกหนึ่งคือ เอวัง อะนาติโต ทุกชีวิตไม่สามารถหนีสิ่งนี้พ้น
พระท่านบอกว่า งานสวดศพเขาเรียกว่างานบำเพ็ญกุศล ไม่ใช่งานบุญ เพราะการทำบุญนั้น พอทำแล้วใจพองโต เช่น ทำดีได้บุญ ใจเป็นสุข แต่ทำกุศลนั้น ทำแล้วได้ปัญญา ท่านพุทธทาสสอนความแตกต่างระหว่าง “บุญ” กับ “กุศล” เอาไว้สรุปว่า บุญคือการพอใจ ส่วนกุศลคือความฉลาดที่จะไม่ติดยึดกับความพอใจ การจัดงานศพจึงเป็นงานบำเพ็ญกุศล คือ สร้างเสริมปัญญาให้แก่ผู้มาร่วมงาน ทำให้รู้ว่าชีวิตมีเท่านี้ ช่วงชีวิตก็แค่นี้ และสุดท้ายของชีวิตก็แบบนี้ ดังนั้น ใครที่โกรธกัน ใครที่เกลียดกัน ใครที่มัวแต่คิดจะฆ่าฟันทำลายล้าง น่าจะลองทบทวนใหม่
ใครที่ซึมเศร้า ใครกำลังคิดสั้น ใครท้อแท้-หดหู ก็น่าจะทบทวนตัวเองอีกครั้ง
ทบทวนหวนนึกถึงธูป 1 ดอกที่หมายถึงชีวิต 1 ชีวิต ทบทวนถึงธูปที่เผาไหม้ อันหมายถึงเวลาที่ชีวิตใช้ไปทุกเมื่อเชื่อวัน ทบทวนแล้วน่าจะแลเห็นว่า ชีวิตนั้นแสนสั้น การอยู่ร่วมกันของคนแต่ละคนก็แสนสั้น หากมัวแต่เกลียดกัน โกรธกัน ฆ่าฟันทำลายล้างกัน ทำให้จิตใจมัวหมอง เท่ากับว่ากำลังทำให้ชีวิตเสียโอกาส
เสียโอกาสที่จะได้ทำบุญ คือ ทำแล้วฟูใจ พอใจ สบายใจ และเสียโอกาสที่จะได้กุศล คือ ได้วิชา ได้ความรู้ ได้ปัญญา ยิ่งสังคมทุกวัน มีบางคนกำลังใช้เวลาของชีวิตไปกับความเกลียด ความโกรธ และอาฆาตมาดร้าย จึงเกรงว่าหากยังเป็นเช่นนั้นต่อไป ชีวิตของเขาและเธออาจสูญเปล่า หมดโอกาสจะได้ “ทำบุญ” หมดโอกาสจะสร้าง “กุศล” เพราะจิตใจหมกมุ่นอยู่กับความโกรธ ความเกลียด วุ่นวายอยู่แต่เรื่องที่จ้องจะทะเลาะกัน
ฉะนั้นแล้ว ชีวิตของทุกคนนั้นมีค่ามีราคาในตัวของมันเองเสมอ คนเราจะเกิดมาแค่เพียงเกิดและตายไปนั้น โดยไม่ได้อะไรให้แก่ตนเอง ครอบครัว หรือสังคมเลยงั้นเหรอ? หากเราทำตัวเราเองให้ไร้ค่า ก็แสดงว่าชีวิตที่เราได้รับมาก็สูญเปล่า ตอนนี้คือปัจจุบัน เราควรทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ผลลัพธ์มันจะส่งผลไปที่อนาคตให้เอง บางคนถามว่าแล้วอดีตล่ะ? อดีตเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้แล้ว สิ่งที่ทำผิดพลาดในอดีตก็ให้ทบทวนอยู่เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ หรือจะใช้เป็นบทเรียนที่สำคัญเพื่อชี้ทางให้แก่ตนเองก็ได้ แล้วชีวิตก็จะมีความสุขเอง
“ปริศนา ธูป 1 ดอก …” ไปงานบำเพ็ญกุศลผู้วายชนม์ที่วัดชลประทานมา ขนบการสวดพระอภิธรรมของวัดชลประทานสมัยนี้ ยังคงเป็นเหมือนกับสมัยที่หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ มีชีวิต… นั่นคือ งานสวดพระอภิธรรมต้องมีเทศนาธรรม แขกเหรื่อที่มาร่วมงานศพ ต้องสวดมนต์รับศีล ฟังเทศน์ ก่อนจะฟังสวดพระอภิธรรม
งานสวดวันแรกหลวงพ่อปัญญากำหนดให้เริ่มต้นที่การประชาสัมพันธ์งานของวัด ประชาสัมพันธ์เรื่องเปิดรับสมัครผู้เข้าบวช โดยต้องแจ้งให้วัดทราบก่อน 1 เดือน ค่าใช้จ่ายในการบวชเรียน 3 พันบาท ทั้งนี้ วัดชลประทานเปิดให้บวชทุกเดือนยกเว้นช่วงเข้าพรรษา ใครสนใจ…เชิญครับ !
หลังประชาสัมพันธ์แล้วการเทศนาก็เริ่มต้น เรื่องที่เทศน์ก็ไม่ยากเกินเข้าใจ อย่างเรื่องพวงหรีดเคารพศพ พระท่านบอกว่า หากเป็นไปได้ก็เปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าพวงหรีด เพราะพวงหรีดนอกจากจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ ยังเป็นภาระของวัด พระท่านเล่าว่า หลังจากงานศพเลิก เจ้าภาพทิ้งพวงหรีดเอาไว้ที่ศาลา เจ้าหน้าที่วัดต้องเก็บไปทิ้ง ระเกะระกะ จนผู้คนที่สัญจรไปมาอาจตำหนิพระ สุดท้ายวัดต้องจ้างเทศบาลเก็บไปทิ้ง…คิดดูสิว่า พวงหรีดที่นำมานี้เป็น “บุญ” หรือ “บาป”
ท่านไม่ได้บังคับ คือ ปล่อยให้คิด แต่เท่าที่ฟังๆ ก็มีหลายคนเริ่มเปลี่ยนใจ ไม่เอาพวงหรีด เปลี่ยนไปใช้พัดลมบ้าง ใช้ต้นไม้บ้าง ทั้งพัดลม และต้นไม้ หากเจ้าภาพไม่เอากลับ…วัดจะได้นำไปทำประโยชน์ต่อไป จบเรื่องพวงหรีด ต่อเรื่องใกล้ตัว เห็นกันจะจะตรงหน้า พระท่านเทศน์ด้วยคำถามต่อไปว่า “รู้ไหมว่าทำไมต้องจุดธูป 3 ดอกหน้าพระพุทธ” หลายคนคงบอกว่าเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คำตอบคือ ผิดครับ! ความจริงแล้วธูปทั้ง 3 ดอก จุดเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธเพียงอย่างเดียว
เพียงแต่ 3 ดอกที่จุดขึ้นนั้นก็เพื่อบูชาพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิกุลหรือพระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิการของพระพุทธเจ้า บูชาพระปัญญาคุณ เพราะพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระองค์เอง บูชาพระบริสุทธิคุณ เพราะหมดจดสิ้นโลภ โกรธ หลง บูชาพระมหากรุณาธิคุณ เพราะมีเมตตาสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งเห็นจริง
แล้วธูป 1 ดอกที่จุดหน้าศพล่ะ?
ไม่ต้องรอคำตอบ พระท่านได้เฉลยว่า ธูป 1 ดอก หมายความถึงชีวิตของคน…แต่ละคนมี 1 ชีวิตเท่ากัน ธูปส่วนที่ถูกเผาหมายถึงช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตมาแล้ว ส่วนธูปที่เหลือคือช่วงเวลาที่เหลืออยู่
พระท่านยังว่า เมื่ออยู่หน้าศพก็ให้ระลึกไว้ 3 อย่าง
หนึ่งคือ เอวัง ภาวี หมายถึง ต่อไปเราก็ต้องเป็นแบบนี้
หนึ่งคือ เอวัง ธัมโม สิ่งนี้คือธรรมชาติ
และอีกหนึ่งคือ เอวัง อะนาติโต ทุกชีวิตไม่สามารถหนีสิ่งนี้พ้น
พระท่านบอกว่า งานสวดศพเขาเรียกว่างานบำเพ็ญกุศล ไม่ใช่งานบุญ เพราะการทำบุญนั้น พอทำแล้วใจพองโต เช่น ทำดีได้บุญ ใจเป็นสุข แต่ทำกุศลนั้น ทำแล้วได้ปัญญา ท่านพุทธทาสสอนความแตกต่างระหว่าง “บุญ” กับ “กุศล” เอาไว้สรุปว่า บุญคือการพอใจ ส่วนกุศลคือความฉลาดที่จะไม่ติดยึดกับความพอใจ การจัดงานศพจึงเป็นงานบำเพ็ญกุศล คือ สร้างเสริมปัญญาให้แก่ผู้มาร่วมงาน ทำให้รู้ว่าชีวิตมีเท่านี้ ช่วงชีวิตก็แค่นี้ และสุดท้ายของชีวิตก็แบบนี้ ดังนั้น ใครที่โกรธกัน ใครที่เกลียดกัน ใครที่มัวแต่คิดจะฆ่าฟันทำลายล้าง น่าจะลองทบทวนใหม่
ใครที่ซึมเศร้า ใครกำลังคิดสั้น ใครท้อแท้-หดหู ก็น่าจะทบทวนตัวเองอีกครั้ง
ทบทวนหวนนึกถึงธูป 1 ดอกที่หมายถึงชีวิต 1 ชีวิต ทบทวนถึงธูปที่เผาไหม้ อันหมายถึงเวลาที่ชีวิตใช้ไปทุกเมื่อเชื่อวัน ทบทวนแล้วน่าจะแลเห็นว่า ชีวิตนั้นแสนสั้น การอยู่ร่วมกันของคนแต่ละคนก็แสนสั้น หากมัวแต่เกลียดกัน โกรธกัน ฆ่าฟันทำลายล้างกัน ทำให้จิตใจมัวหมอง เท่ากับว่ากำลังทำให้ชีวิตเสียโอกาส
เสียโอกาสที่จะได้ทำบุญ คือ ทำแล้วฟูใจ พอใจ สบายใจ และเสียโอกาสที่จะได้กุศล คือ ได้วิชา ได้ความรู้ ได้ปัญญา ยิ่งสังคมทุกวัน มีบางคนกำลังใช้เวลาของชีวิตไปกับความเกลียด ความโกรธ และอาฆาตมาดร้าย จึงเกรงว่าหากยังเป็นเช่นนั้นต่อไป ชีวิตของเขาและเธออาจสูญเปล่า หมดโอกาสจะได้ “ทำบุญ” หมดโอกาสจะสร้าง “กุศล” เพราะจิตใจหมกมุ่นอยู่กับความโกรธ ความเกลียด วุ่นวายอยู่แต่เรื่องที่จ้องจะทะเลาะกัน
ฉะนั้นแล้ว ชีวิตของทุกคนนั้นมีค่ามีราคาในตัวของมันเองเสมอ คนเราจะเกิดมาแค่เพียงเกิดและตายไปนั้น โดยไม่ได้อะไรให้แก่ตนเอง ครอบครัว หรือสังคมเลยงั้นเหรอ? หากเราทำตัวเราเองให้ไร้ค่า ก็แสดงว่าชีวิตที่เราได้รับมาก็สูญเปล่า ตอนนี้คือปัจจุบัน เราควรทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ผลลัพธ์มันจะส่งผลไปที่อนาคตให้เอง บางคนถามว่าแล้วอดีตล่ะ? อดีตเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้แล้ว สิ่งที่ทำผิดพลาดในอดีตก็ให้ทบทวนอยู่เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ หรือจะใช้เป็นบทเรียนที่สำคัญเพื่อชี้ทางให้แก่ตนเองก็ได้ แล้วชีวิตก็จะมีความสุขเอง