นิทานสอนใจ คน 3 คนในตัวเรา อ่านแล้วให้ข้อคิดดีๆ
วันนี้เอานิทานกึ่งธรรมะมาให้อ่านกันนะครับ เรื่องนี้ผมเคยอ่านนานมาแล้ว และเป็นเรื่องราวที่ให้ข้อคิดได้ดีมาก สำหรับคนในยุคปัจจุบัน พยายามหาว่าใครแต่งจะได้ให้เครดิตไว้ แต่ก็หาไม่เจอ ถ้าท่านใดอ่านแล้วพอที่จะนึกออก ก็แจ้งมาได้นะครับ จะได้ใส่เครดิตไว้ให้ครับ ลองมาอ่านกันเลยนะครับ
ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง
หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า
“ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ”
หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
“เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ” ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา และหลวงตาก็กล่าวต่อไปว่า
“คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็นนั้น มันเป็นปกติของคนเราล้วนมี ความฝัน ความทะยานอยากได้ อยากเป็น ตามประสาปุถุชนทั่วไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ”
“มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้” หลวงตายกตัวอย่างต่อไปว่า
“อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร”
“สมัยที่หลวงตายังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีผัวแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน คนที่เห็นนั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม”
“เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล”
“แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อยๆ” ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้วเริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
“เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระ ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม”
“เข้าใจครับหลวงตา” เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล https://prakal.wordpress.com/
วันนี้เอานิทานกึ่งธรรมะมาให้อ่านกันนะครับ เรื่องนี้ผมเคยอ่านนานมาแล้ว และเป็นเรื่องราวที่ให้ข้อคิดได้ดีมาก สำหรับคนในยุคปัจจุบัน พยายามหาว่าใครแต่งจะได้ให้เครดิตไว้ แต่ก็หาไม่เจอ ถ้าท่านใดอ่านแล้วพอที่จะนึกออก ก็แจ้งมาได้นะครับ จะได้ใส่เครดิตไว้ให้ครับ ลองมาอ่านกันเลยนะครับ
ณ วัดบ้านไร่แห่งหนึ่ง
หลวงตาเพิ่งกลับจากการบิณฑบาตเห็นลูกศิษย์วัดนั่งร้องไห้สะอึกสะอื้น จึงเข้าไปถามไถ่ว่าเป็นอะไร ลูกศิษย์ตอบกลับมาว่า
“ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ”
หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
“เจ้ารู้ไหม ในตัวเรามีคนอยู่สามคน คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ” ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา และหลวงตาก็กล่าวต่อไปว่า
“คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็นนั้น มันเป็นปกติของคนเราล้วนมี ความฝัน ความทะยานอยากได้ อยากเป็น ตามประสาปุถุชนทั่วไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน เช่น บางคนอยากเป็นนักร้อง เป็นนักมวย เป็นดารา ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ”
“มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้” หลวงตายกตัวอย่างต่อไปว่า
“อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร”
“สมัยที่หลวงตายังไม่ได้บวชเคยไปส่งเพื่อนผู้หญิงที่มีผัวแล้ว เพราะเห็นว่าบ้านเป็นซอยเปลี่ยว ส่งได้สองครั้งก็เป็นเรื่อง ชาวบ้านซุบซิบนินทา หาว่าเป็นชู้กับเมียชาวบ้าน คนที่เห็นนั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม”
“เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล”
“แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อยๆ” ลูกศิษย์หยุดร้องไห้แล้วเริ่มสนทนาโต้ตอบหลวงตา
“เจ้าต้องทำความเข้าใจจิตใจมนุษย์ เรียนรู้ว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ เราห้ามใจใครไม่ได้ สิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ ไม่ได้คิด ไม่ได้เป็น แต่คนอื่นคอยยัดเยียดให้เรา เราก็ไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเราสัมผัสได้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ใจเราควรสงบนิ่ง ยังไม่ต้องชำระ ใจคนอื่นต่างหากที่ควรซักฟอกให้ขาวสะอาดกว่าที่เป็นอยู่ เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารมีเวลามองคนอื่น แต่ไม่มีเวลามองตัวเอง จงแผ่เมตตาให้เขาไป เข้าใจใช่ไหม”
“เข้าใจครับหลวงตา” เด็กน้อยยิ้มมีความสุขอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล https://prakal.wordpress.com/