วันนี้เรามาทำปุ๋ยหมักในกะละมังกันนะครับ
เหมาะสำหรับท่านที่อยู่ในเมืองหรือหมู่บ้านจัดสรร ที่ไม่มีที่ดินกว้าง ๆ
หรือไม่มีเศษพืชมาก ๆ
ขั้นแรก เอาเศษใบไม้มา 3 ถุงก๊อบแก๊บ (ในรูปเป็นใบต้นปีป) ใส่ในกะละมังที่เจาะรูระบายน้ำเอาไว้
ขั้นสอง เอาขี้วัวมา 1 ถุงก๊อบแก๊บใส่เข้าไป
ขั้นสาม คลุกเคล้าผสมกันพร้อมกับเติมน้ำ แต่ต้องไม่ให้แฉะมากเกินไปหรือแห้งเกินไป เป็นอันเสร็จขั้นตอน เอาวางแอบ ๆ อย่าให้โดนแดดโดยตรงเพราะจะทำให้แห้งเร็ว และระวังอย่าให้โดนฝนเพราะจะทำให้แฉะไป
วันถัดไปก็คลุกเคล้าพร้อมขยำเบา ๆ บ้างเพื่อช่วยให้ใบไม้แตก คลุกเคล้าแบบนี้วันละครั้ง ถ้าวันไหนเห็นว่าเริ่มแห้งเกินไปก็พรมน้ำลงไป ถ้าโชคร้ายทำให้แฉะเกินไปก็ให้เทออกวางแผ่ตากแดด พอเริ่มหมาดก็เอากลับลงในกะละมัง
ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เศษใบไม้จะมีสีคล้ำขึ้น ๆ นุ่มขึ้น ๆ เบาขึ้น ๆ ปริมาตรจะหายไปทุกวัน พอครบ 30 วันก็จะถือว่าเป็นปุ๋ยหมักแล้ว
หลังจากนั้นให้ทำให้แห้ง โดยทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ไม่ต้องรดน้ำอีก ห้ามใช้ปุ๋ยหมักที่ยังไม่แห้งเพราะจะเป็นอันตรายต่อพืชจากจุลินทรีย์ที่มีมากในปุ๋ยหมัก
จุลินทรีย์มาจากไหน ? ... ก็มาจากในขี้วัวไงครับ นอกจากนี้ ในขี้วัวยังมีไนโตรเจนที่เป็นสารอาหารของจุลินทรีย์ด้วย ทีนี้เศษใบไม้มีคาร์บอนที่เป็นสารอาหารของจุลินทรีย์ด้วย จุลินทรีย์ต้องการทั้งไนโตรเจนและคาร์บอนในการเจริญเติบโต ขาดตัวใดตัวหนึ่งจุลินทรีย์ก็เพิ่มจำนวนไม่ได้ สัดส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตรเป็นสัดส่วนที่ผ่านการวิจัยและทดลองมาแล้วว่าเหมาะสม ..... พอมีความชื้นจากการดูแลน้ำ มีอากาศจากการพลิกวันละครั้ง จุลินทรีย์ก็เลยย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์และมีลูกหลานเพิ่มมากขึ้นจากสารอาหารที่เราเตรียมให้ พอครบ 30 วัน กระบวนการก็เสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้ารีบเอาไปใช้ในการเพาะปลูกไม่รอให้ปุ๋ยหมักแห้ง จุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักก็จะถือว่ารากพืชคือคาร์บอนก็จะไปกัดกิน ส่งผลให้ต้นพืชเฉาได้ (อันนี้สามารถทดลองเองได้ครับ แฮ่ ๆ) แต่ถ้าปุ๋ยหมักแห้งจุลินทรีย์ที่ชำนาญในการย่อยสลายเศษพืชก็จะสงบตัว เมื่อเอาไปใช้ในการเพาะปลูกส่งปุ๋ยหมักลงไปอยู่ในดิน อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมไม่มีอากาศจุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นอันตรายต่อพืชครับ
การทำปุ๋ยหมักบางสูตรให้ใส่อีเอ็ม สูตรนี้มีอีเอ็มจากขี้วัวอยู่แล้วก็เลยไม่ต้องใส่ บางสูตรให้ไปเอาจุลินทรีย์ขุยไผ่ สูตรนี้ก็มีจุลินทรีย์แล้ว บางสูตรใส่กากน้ำตาลเพื่อเพิ่มไนโตรเจน ในขี้วัวก็มีไนโตรเจนแล้ว บางสูตรให้ใส่รำข้าวเพื่อเป็นคาร์บอน สูตรเรามีคาร์บอนจากใบไม้แล้ว ถ้าใครชอบกลิ่นเหม็นก็เอาน้ำหมักมาใส่ แต่ผมว่าไม่จำเป็นครับ จุลินทรีย์ในน้ำหมักเป็นกลุ่มไม่ใช้ออกซิเจน จะมาตายหมดในกะละมังที่เป็นแบบใช้ออกซิเจน ...... สรุป มีแค่ใบไม้กับขี้วัวก็มีครบทุกอย่าง แค่ใบไม้กับขี้วัวก็ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีแล้ว ง่าย ๆ พอเพียง .... ของง่าย ๆ ก็มีคุณภาพสูงได้เหมือนกันนะครับ
จุลินทรีย์ในวิธีนี้จะเป็นกลุ่มใช้ออกซิเจนเพราะมีการพลิกทุกวัน ซึ่งกลุ่มนี้สร้างกลิ่นไม่เป็น สร้างน้ำเสียไม่เป็น และไม่ดึงดูดแมลงวันครับ
ทีนี้ถ้าต้องการปุ๋ยหมักมาก ๆ อย่างเช่น 10 ตัน ถ้าจะทำในกะละมังก็ไม่ไหว ก็ต้องทำแบบวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่กองเป็นแถวยาวแต่ไม่ต้องพลิกกลับกอง แต่หลักการก็ยังเหมือนเดิมข้างต้น คือ ต้องให้ความสำคัญกับจุลินทรีย์ ไนโตรเจน คาร์บอน ความชื้น และอากาศ
จารย์ลุงจะเอารูปปุ๋ยหมักในกะละมังขึ้นบ่อย ๆ ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง จนถึงทำให้แห้งเลยนะครับ .... ลูกศิษย์ทั้งหลายไปหากะละมังเก่าได้แล้วครับ แล้วลงมือทำพร้อมกันเล้ยยยยยยยยยย
เครดิต: https://www.facebook.com/teera.maejo.9/posts/134546440054850
ขั้นแรก เอาเศษใบไม้มา 3 ถุงก๊อบแก๊บ (ในรูปเป็นใบต้นปีป) ใส่ในกะละมังที่เจาะรูระบายน้ำเอาไว้
ขั้นสอง เอาขี้วัวมา 1 ถุงก๊อบแก๊บใส่เข้าไป
ขั้นสาม คลุกเคล้าผสมกันพร้อมกับเติมน้ำ แต่ต้องไม่ให้แฉะมากเกินไปหรือแห้งเกินไป เป็นอันเสร็จขั้นตอน เอาวางแอบ ๆ อย่าให้โดนแดดโดยตรงเพราะจะทำให้แห้งเร็ว และระวังอย่าให้โดนฝนเพราะจะทำให้แฉะไป
วันถัดไปก็คลุกเคล้าพร้อมขยำเบา ๆ บ้างเพื่อช่วยให้ใบไม้แตก คลุกเคล้าแบบนี้วันละครั้ง ถ้าวันไหนเห็นว่าเริ่มแห้งเกินไปก็พรมน้ำลงไป ถ้าโชคร้ายทำให้แฉะเกินไปก็ให้เทออกวางแผ่ตากแดด พอเริ่มหมาดก็เอากลับลงในกะละมัง
ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เศษใบไม้จะมีสีคล้ำขึ้น ๆ นุ่มขึ้น ๆ เบาขึ้น ๆ ปริมาตรจะหายไปทุกวัน พอครบ 30 วันก็จะถือว่าเป็นปุ๋ยหมักแล้ว
หลังจากนั้นให้ทำให้แห้ง โดยทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ไม่ต้องรดน้ำอีก ห้ามใช้ปุ๋ยหมักที่ยังไม่แห้งเพราะจะเป็นอันตรายต่อพืชจากจุลินทรีย์ที่มีมากในปุ๋ยหมัก
จุลินทรีย์มาจากไหน ? ... ก็มาจากในขี้วัวไงครับ นอกจากนี้ ในขี้วัวยังมีไนโตรเจนที่เป็นสารอาหารของจุลินทรีย์ด้วย ทีนี้เศษใบไม้มีคาร์บอนที่เป็นสารอาหารของจุลินทรีย์ด้วย จุลินทรีย์ต้องการทั้งไนโตรเจนและคาร์บอนในการเจริญเติบโต ขาดตัวใดตัวหนึ่งจุลินทรีย์ก็เพิ่มจำนวนไม่ได้ สัดส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตรเป็นสัดส่วนที่ผ่านการวิจัยและทดลองมาแล้วว่าเหมาะสม ..... พอมีความชื้นจากการดูแลน้ำ มีอากาศจากการพลิกวันละครั้ง จุลินทรีย์ก็เลยย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์และมีลูกหลานเพิ่มมากขึ้นจากสารอาหารที่เราเตรียมให้ พอครบ 30 วัน กระบวนการก็เสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้ารีบเอาไปใช้ในการเพาะปลูกไม่รอให้ปุ๋ยหมักแห้ง จุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักก็จะถือว่ารากพืชคือคาร์บอนก็จะไปกัดกิน ส่งผลให้ต้นพืชเฉาได้ (อันนี้สามารถทดลองเองได้ครับ แฮ่ ๆ) แต่ถ้าปุ๋ยหมักแห้งจุลินทรีย์ที่ชำนาญในการย่อยสลายเศษพืชก็จะสงบตัว เมื่อเอาไปใช้ในการเพาะปลูกส่งปุ๋ยหมักลงไปอยู่ในดิน อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมไม่มีอากาศจุลินทรีย์ก็จะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นอันตรายต่อพืชครับ
การทำปุ๋ยหมักบางสูตรให้ใส่อีเอ็ม สูตรนี้มีอีเอ็มจากขี้วัวอยู่แล้วก็เลยไม่ต้องใส่ บางสูตรให้ไปเอาจุลินทรีย์ขุยไผ่ สูตรนี้ก็มีจุลินทรีย์แล้ว บางสูตรใส่กากน้ำตาลเพื่อเพิ่มไนโตรเจน ในขี้วัวก็มีไนโตรเจนแล้ว บางสูตรให้ใส่รำข้าวเพื่อเป็นคาร์บอน สูตรเรามีคาร์บอนจากใบไม้แล้ว ถ้าใครชอบกลิ่นเหม็นก็เอาน้ำหมักมาใส่ แต่ผมว่าไม่จำเป็นครับ จุลินทรีย์ในน้ำหมักเป็นกลุ่มไม่ใช้ออกซิเจน จะมาตายหมดในกะละมังที่เป็นแบบใช้ออกซิเจน ...... สรุป มีแค่ใบไม้กับขี้วัวก็มีครบทุกอย่าง แค่ใบไม้กับขี้วัวก็ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีแล้ว ง่าย ๆ พอเพียง .... ของง่าย ๆ ก็มีคุณภาพสูงได้เหมือนกันนะครับ
จุลินทรีย์ในวิธีนี้จะเป็นกลุ่มใช้ออกซิเจนเพราะมีการพลิกทุกวัน ซึ่งกลุ่มนี้สร้างกลิ่นไม่เป็น สร้างน้ำเสียไม่เป็น และไม่ดึงดูดแมลงวันครับ
ทีนี้ถ้าต้องการปุ๋ยหมักมาก ๆ อย่างเช่น 10 ตัน ถ้าจะทำในกะละมังก็ไม่ไหว ก็ต้องทำแบบวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่กองเป็นแถวยาวแต่ไม่ต้องพลิกกลับกอง แต่หลักการก็ยังเหมือนเดิมข้างต้น คือ ต้องให้ความสำคัญกับจุลินทรีย์ ไนโตรเจน คาร์บอน ความชื้น และอากาศ
จารย์ลุงจะเอารูปปุ๋ยหมักในกะละมังขึ้นบ่อย ๆ ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง จนถึงทำให้แห้งเลยนะครับ .... ลูกศิษย์ทั้งหลายไปหากะละมังเก่าได้แล้วครับ แล้วลงมือทำพร้อมกันเล้ยยยยยยยยยย
เครดิต: https://www.facebook.com/teera.maejo.9/posts/134546440054850