ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รอไม่ได้
ยิ่งเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินยิ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
หากการรักษาถูกขัดขวาง อัตราการตายก็จะสูงขึ้น
รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนเรื่องนี้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีเนื้อหาว่า...
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีเนื้อหาว่า...
กฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องแสดงชื่อ
- รายการผู้ประกอบวิชาชีพ
- อัตราค่ารักษาพยาบาล
- ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นแล้ว
- ค่ายาเวชภัณฑ์
และห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่แสดง
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มหลักเกณฑ์การดำเนินการของสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย โดย สบส.ได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งบังคับใช้ หากโรงพยาบาลใดเก็บเงิน ‘ผู้ป่วยฉุกเฉิน’ จะมีโทษตามกฎหมายทันที
สำหรับบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้มีการเพิ่มโทษหนักให้ขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องปรามการกระทำผิด ซึ่งก็คือ
1. การลักลอบเปิดสถานพยาบาลโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 3 ปี เพิ่มเป็น 5 ปี หรือปรับเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. กรณีการเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์เกินกว่าที่แสดงไว้ที่ป้าย จากเดิมมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 2 หมื่นบาท เปลี่ยนเป็นมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมโทษถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินงานของนิติบุคคล จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิด บุคคลนั้นจะต้องร่วมรับผิดชอบในความผิดนั้นด้วย
การปรับบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น ก็มีขึ้นเพื่อให้คนไม่กล้าที่จะทำผิด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง ซึ่งหวังว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะเกิดผลดีกับคนไทยทั้งประเทศนะคะ
- รายการผู้ประกอบวิชาชีพ
- อัตราค่ารักษาพยาบาล
- ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นแล้ว
- ค่ายาเวชภัณฑ์
และห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่แสดง
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มหลักเกณฑ์การดำเนินการของสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย โดย สบส.ได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งบังคับใช้ หากโรงพยาบาลใดเก็บเงิน ‘ผู้ป่วยฉุกเฉิน’ จะมีโทษตามกฎหมายทันที
สำหรับบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้มีการเพิ่มโทษหนักให้ขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องปรามการกระทำผิด ซึ่งก็คือ
1. การลักลอบเปิดสถานพยาบาลโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 3 ปี เพิ่มเป็น 5 ปี หรือปรับเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. กรณีการเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์เกินกว่าที่แสดงไว้ที่ป้าย จากเดิมมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 2 หมื่นบาท เปลี่ยนเป็นมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมโทษถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินงานของนิติบุคคล จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิด บุคคลนั้นจะต้องร่วมรับผิดชอบในความผิดนั้นด้วย
การปรับบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น ก็มีขึ้นเพื่อให้คนไม่กล้าที่จะทำผิด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง ซึ่งหวังว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะเกิดผลดีกับคนไทยทั้งประเทศนะคะ
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.thaijobsgov.com/jobs/91165