การนอนหลับระหว่างการเรียนอาจจะทำให้เราจำบทเรียนและทบทวนถึงสิ่งที่เคยลืมไปแล้วได้ง่ายขึ้น
งานวิจัยจากวารสารวิชาการ Psychological Science ในเครือสมาคมจิตวิทยาศึกษา เผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการนอนกับการจำของมนุษย์
"ผลการศึกษาของเราชี้ว่า การนอนหลับในช่วงที่ต้องฝึกฝนนั้นมีประโยชน์สองอย่าง อย่างแรกคือจะทำให้เวลาที่เราต้องใช้ในการเรียนรู้เรื่องเดิมนั้นสั้นลงและอย่างที่สองคือทำให้คนเราสามารถจำเรื่องราวเก่า ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย" สเตฟานี แมซซ่า นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยลียง ในฝรั่งเศส เผย
"งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่าการนอนหลับหลังจากเรียนรู้นั้นเป็นวิธีการที่ดี แต่ตอนนี้เราได้รู้เพิ่มเติมว่าการนอนหลับระหว่างช่วงที่เรียนรู้เป็นวิธีที่ดีกว่า"
ก่อนหน้านี้มีการศึกษาว่าการฝึกฝนและการนอนนั้นมีผลกับความจำมนุษย์ แต่ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยใดที่ศึกษาสองเรื่องนี้พร้อมๆกัน แมซซ่าและทีมงานจึงได้ศึกษาว่า การนอนหลับระหว่างการเรียนรู้ซ้ำๆแต่ละครั้งนั้นจะทำให้การจำมีประสิทธิภาพขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากจริง อาจจะทำให้การสร้างความทรงจำนั้นง่ายขึ้น
นักวิจัยจึงได้รวบรวมอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส 40 คนมาร่วมทดลอง โดยจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ได้นอนและกลุ่มที่ไม่ได้นอน ส่วนการเรียนรู้ในการทดลองครั้งนี้คือ อาสาสมัครต้องอ่านภาษาฝรั่งเศสกับภาษาสวาฮิลีทั้งหมด 16 คู่ โดยที่ 1 คู่ของคำใช้เวลา 7 วินาที อาสาสมัครจะต้องพิมพ์คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส หลังจากนั้นคู่ที่ถูกต้องจะแสดงขึ้นมา 4 วินาที และคู่ที่ผิดก็จะแสดงเรื่อย ๆ จนกว่าจะตอบถูกทั้งหมด
นักวิจัยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วง โดยแต่ละช่วง อาสาสมัครจะต้องเรียนรู้จนกว่าจะตอบถูกทั้งหมด
แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้น ทำการทดลองช่วงแรกในตอนเช้าและทำอีกครั้งในช่วงเย็น ส่วนกลุ่มที่เรียกว่าได้นอนนั้น ทำการทดลองช่วงแรกในช่วงเย็นและทำอีกครั้งในช่วงเช้าของวันถัดไป
ผลที่ได้คือการทดลองในช่วงแรกแต่ละกลุ่มสามารถจำได้เท่า ๆ กัน โดยวัดจากจำนวนคำที่อาสาสมัครนึกออกและจำนวนของครั้งที่ต้องใช้เพื่อจะจำ 16 คำให้ได้ทั้งหมด
แต่หลังจากผ่านไป 12 ชั่วโมงนั้น ผลออกมาต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้นอนนั้นมักจะจำได้ประมาณ 10 คำโดยเฉลี่ย ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้นจะจำได้เพียง 7.5 คำโดยเฉลี่ย และเมื่อต้องมาเรียนรู้ใหม่ในช่วงที่ 2 กลุ่มที่ได้นอนจะใช้เพียงแค่ 3 ครั้งก็จำได้ทั้ง 16 คำ แต่กลุ่มที่ไม่ได้นอน ต้องทำถึง 6 ครั้งจึงจะจำได้ทั้งหมด
นั่นหมายความว่า แม้ทั้งสองกลุ่มจะจำคำทั้ง 16 ได้ในที่สุด แต่การนอนระหว่างการเรียนรู้สองช่วงก็เหมือนจะสำคัญไม่น้อย
"ความทรงจำนั้นที่เหมือนจะไม่ค่อยชัดเจนในช่วงแรก อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบหลังจากที่ได้นอน การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเข้ารหัสข้อมูลเมื่อต้องเรียนรู้ใหม่ได้เร็วกว่า และช่วยประหยัดเวลาในการเรียนรู้ใหม่อีกรอบด้วย"
นอกจากนี้ ในการทดลองเพื่อผิดตามผลในอีก 1 สัปดาห์ต่อมานั้น นักวิจัยยังได้พบว่า กลุ่มที่ได้นอนนั้นสามารถจำได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นอน โดยกลุ่มที่ได้นอนจะจำได้ถึง 15 คำ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้นจะจำได้เพียงแค่ 11 คำ
ซึ่งบ่งบอกว่า การจดจำข้อมูลจะง่ายขึ้นและยาวนานขึ้นหากได้รับการนอนหลับในระหว่างเรียนรู้ซ้ำ
ที่มา : vcharkarn.com
งานวิจัยจากวารสารวิชาการ Psychological Science ในเครือสมาคมจิตวิทยาศึกษา เผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการนอนกับการจำของมนุษย์
"ผลการศึกษาของเราชี้ว่า การนอนหลับในช่วงที่ต้องฝึกฝนนั้นมีประโยชน์สองอย่าง อย่างแรกคือจะทำให้เวลาที่เราต้องใช้ในการเรียนรู้เรื่องเดิมนั้นสั้นลงและอย่างที่สองคือทำให้คนเราสามารถจำเรื่องราวเก่า ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย" สเตฟานี แมซซ่า นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยลียง ในฝรั่งเศส เผย
"งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่าการนอนหลับหลังจากเรียนรู้นั้นเป็นวิธีการที่ดี แต่ตอนนี้เราได้รู้เพิ่มเติมว่าการนอนหลับระหว่างช่วงที่เรียนรู้เป็นวิธีที่ดีกว่า"
ก่อนหน้านี้มีการศึกษาว่าการฝึกฝนและการนอนนั้นมีผลกับความจำมนุษย์ แต่ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยใดที่ศึกษาสองเรื่องนี้พร้อมๆกัน แมซซ่าและทีมงานจึงได้ศึกษาว่า การนอนหลับระหว่างการเรียนรู้ซ้ำๆแต่ละครั้งนั้นจะทำให้การจำมีประสิทธิภาพขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากจริง อาจจะทำให้การสร้างความทรงจำนั้นง่ายขึ้น
นักวิจัยจึงได้รวบรวมอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส 40 คนมาร่วมทดลอง โดยจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ได้นอนและกลุ่มที่ไม่ได้นอน ส่วนการเรียนรู้ในการทดลองครั้งนี้คือ อาสาสมัครต้องอ่านภาษาฝรั่งเศสกับภาษาสวาฮิลีทั้งหมด 16 คู่ โดยที่ 1 คู่ของคำใช้เวลา 7 วินาที อาสาสมัครจะต้องพิมพ์คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส หลังจากนั้นคู่ที่ถูกต้องจะแสดงขึ้นมา 4 วินาที และคู่ที่ผิดก็จะแสดงเรื่อย ๆ จนกว่าจะตอบถูกทั้งหมด
นักวิจัยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วง โดยแต่ละช่วง อาสาสมัครจะต้องเรียนรู้จนกว่าจะตอบถูกทั้งหมด
แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้น ทำการทดลองช่วงแรกในตอนเช้าและทำอีกครั้งในช่วงเย็น ส่วนกลุ่มที่เรียกว่าได้นอนนั้น ทำการทดลองช่วงแรกในช่วงเย็นและทำอีกครั้งในช่วงเช้าของวันถัดไป
ผลที่ได้คือการทดลองในช่วงแรกแต่ละกลุ่มสามารถจำได้เท่า ๆ กัน โดยวัดจากจำนวนคำที่อาสาสมัครนึกออกและจำนวนของครั้งที่ต้องใช้เพื่อจะจำ 16 คำให้ได้ทั้งหมด
แต่หลังจากผ่านไป 12 ชั่วโมงนั้น ผลออกมาต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้นอนนั้นมักจะจำได้ประมาณ 10 คำโดยเฉลี่ย ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้นจะจำได้เพียง 7.5 คำโดยเฉลี่ย และเมื่อต้องมาเรียนรู้ใหม่ในช่วงที่ 2 กลุ่มที่ได้นอนจะใช้เพียงแค่ 3 ครั้งก็จำได้ทั้ง 16 คำ แต่กลุ่มที่ไม่ได้นอน ต้องทำถึง 6 ครั้งจึงจะจำได้ทั้งหมด
นั่นหมายความว่า แม้ทั้งสองกลุ่มจะจำคำทั้ง 16 ได้ในที่สุด แต่การนอนระหว่างการเรียนรู้สองช่วงก็เหมือนจะสำคัญไม่น้อย
"ความทรงจำนั้นที่เหมือนจะไม่ค่อยชัดเจนในช่วงแรก อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบหลังจากที่ได้นอน การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเข้ารหัสข้อมูลเมื่อต้องเรียนรู้ใหม่ได้เร็วกว่า และช่วยประหยัดเวลาในการเรียนรู้ใหม่อีกรอบด้วย"
นอกจากนี้ ในการทดลองเพื่อผิดตามผลในอีก 1 สัปดาห์ต่อมานั้น นักวิจัยยังได้พบว่า กลุ่มที่ได้นอนนั้นสามารถจำได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นอน โดยกลุ่มที่ได้นอนจะจำได้ถึง 15 คำ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้นอนนั้นจะจำได้เพียงแค่ 11 คำ
ซึ่งบ่งบอกว่า การจดจำข้อมูลจะง่ายขึ้นและยาวนานขึ้นหากได้รับการนอนหลับในระหว่างเรียนรู้ซ้ำ
ที่มา : vcharkarn.com