5 พฤติกรรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

5 พฤติกรรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

หากพูดถึง “หมอนรองกระดูก” แล้ว วัยรุ่นส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยให้ความสนใจสักเท่าไร แต่ถ้าเริ่มทำงานไปได้สักพัก คุณจะเริ่มได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น หรือบางทีอาจได้ยินเองจากปากของหมอ เมื่อคุณไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลก็เป็นได้

หมอนรองกระดูก คืออะไร?

หมอนรองกระดูก คือเนื้อเยื่อที่ลักษณะด้านนอกเป็นเหมือนพังผืดเหนียวๆ ซ้อนกันเป็นวงรอบหลายๆ ชั้น และด้านในนุ่มๆ หยุ่นๆ คล้ายวุ้น พบในบริเวณส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ที่วางพาดยาวไปตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว

หมอนรองกระดูก มีหน้าที่ และความสำคัญอย่างไร?

หมอนรองกระดูกทำหน้าที่เป็นข้อต่อในการขยับของกระดูกสันหลัง และรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น นั่ง ยืน กระโดด เอนหลัง บิดตัว และอื่นๆ เหมือนกับเป็น “โช้คอัพ” ให้กับกระดูกสันหลังของเรา ของนอกจากนี้หมอนรองกระดูกยังคอยปกป้องไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่อีกด้วย

ทำไมวัยทำงานถึงเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท?

ที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในหมู่วัยทำงาน อายุระหว่าง 20-50 ปีนั้น เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างหนัก พักผ่อนน้อย และอาจจำเป็นต้องทำงานในสถานที่ และเวลาที่จำกัดอยู่เสมอๆ รวมถึงพฤติกรรมเหล่านี้ที่เสี่ยงต่ออาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

thumb_backbone1

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร?

เมื่อกระดูกสันหลังได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง หรือหมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อมสภาพ ของเหลวภายในหมอนรองกระดูกอาจไหลทะลักออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทรอบๆ จนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ สัญญาณของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ

– ปวดบริเวณเอว คอ อก หรือหลังช่วงล่าง ปวดจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต ปวดๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

– บางครั้งอาการปวดอาจร้าว หรือเจ็บแปลบไปถึงต้นขา น่อง หรือเท้าได้

– อาจมีอาการชาในบริเวณที่ปวด

– บริเวณเอว หลังช่วงหลัง หรือคอรู้สึกไร้เรี่ยวแรง ขยับลำบาก

– กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง เอว อก ต้นขา น่องขา หรือหลังเท้าอ่อนแรง

– หากอาการรุนแรง อาจรู้สึกชาไปถึงรอบอวัยวะเพศ รอบก้น และการขับถ่าย หรือปัสสาวะลำบาก

พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. ก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ หรือมากเกินไป

  1. ยกของหนักซ้ำๆ ท่าเดิมๆ และไม่ระมัดระวัง

  1. ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง

  1. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก

  1. อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป

  2. อยู่ในช่วงอายุวัยชรา หรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

  3. ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ

  4. สูบบุหรี่จัด

วิธีรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่ โดยอาจเริ่มจากการทานยาเพื่อลดความปวด และการอักเสบ จากนั้นจึงทำกายภาพบำบัด และอาจฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด

ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร?

  1. ไม่ยกของหนัก หรือยกของท่าเดิมๆ มากเกินไป

  1. ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

  1. หมั่นออกกำลังกาย ทำการบริหารเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง

ท่ากายบริหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้อง ป้องกันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • นอนหงาย ยกขาขึ้นข้างหนึ่งให้สูงจากพื้นประมาณ 1คืบ เข่าเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ 5 วินาที  แล้วทำสลับกับขาอีกข้าง

  • นอนหงาย ใช้มือทั้งสองกอดเข่าข้างหนึ่ง โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับเข่าอีกข้าง

  • นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว จากนั้นแขม่วท้อง กดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที

ในแต่ละท่า ควรทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ทุกวัน

หากมีอาการปวดหลังรุนแรง และปวดขาร่วมด้วย อาจเป็นอาการหมองรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด

#1แชร์=1ธรรมทาน แชร์ไปได้บุญ สร้างกุศลความดี

#ถ้าข้อมูลนี่เป็นประโยชน์และสามารถช่วยใครได้อีกหลายๆคน อย่าเก็บไว้อ่านคนเดียวน๊า!! อย่าลืมส่งให้คนที่คุณรัก ได้อ่านด้วยนะคะ