อยู่บ้านเฉยๆ ก็ทำได้ “วิธีบริจาคร่างกายออนไลน์” บอกบุญต่อให้ทั่วกัน

อยู่บ้านเฉยๆ ก็ทำได้ “วิธีบริจาคร่างกายออนไลน์” บอกบุญต่อให้ทั่วกัน

การทำบุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มีอยู่หลายวิธี ถ้าอยากบริจาคเลือด เราต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล หรือสภากาชาดไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าอยากทำบุญด้วยการบริจาคเงิน ก็สามารถโอนเข้าบัญชีได้จากที่ไหนบนโลกก็ได้เช่นกัน แล้วการบริจาคอวัยวะล่ะ? หลายคนคงคิดว่า ต้องไปที่เคาท์เตอร์ของโรงพยาบาล หรือสภากาชาดไทยอีกแน่ แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว แต่อันที่จริง การบริจาคอวัยวะ รวมไปถึงการบริจาคร่างกาย เพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ให้แก่นักศึกษาแพทย์ เราสามารถทำได้ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ที่บ้าน หรือที่ไหนก็ได้ที่มีคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

การบริจาคร่างกาย


เพื่อการศึกษา ผู้บริจาคเป็นผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยอมสละร่างกายของตนเอง ให้ผู้ที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อนได้ศึกษาโดยเพียงแต่มุ่งหวังว่า ผู้ที่ศึกษาร่างของตนจะนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปช่วยมวลมนุษย์ชาติต่อไป ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาได้สร้างกุศลทานครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุด โดยได้แต่หวังว่า ผู้อยู่เบื้องหลังจะไม่ต้องทนทุกข์จากอาการเจ็บป่วย ตนเองมิได้หวังสิ่งตอบแทนใดใด นอกจากได้เป็นผู้ “ให้” เท่านั้น


ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้


– เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน


– เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์


– เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ


– เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์


– เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด


– เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป


ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา


ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 3 วิธี คือ


1. ยื่นความจำนงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ chulalongkornhospital


2. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มของโรงพยาลบาล 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็นหลักฐาน


3. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์ม แล้วส่งมาทางไปรษณีย์ 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลังเมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบผู้เสียให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้งการคัดค้านไม่มอบกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง


สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่


ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 4397 , 02 256 4281 ต่อ 0 หรือ 4 หรือ 7


ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


โทรศัพท์ 02 256 4281 ต่อ 1405 , 02 256 4737

การบริจาคดวงตา


เป็นการแสดงความจำนงตั้งแต่ยังมีชีวิต เพื่อมอบดวงตาของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งทางศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจะได้นำไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง


ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนกระจกตาอยู่จำนวนมากถึง 11,027 ราย แต่ในปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้รับการบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิตเพียง 847 ราย และมีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพียง 763 ราย เท่านั้น


ขั้นตอนการบริจาคดวงตา


1. ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป โดยสามารถแสดงความจำนงได้ที่ eyebank.redcross


2.เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต


3. ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข 081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมง


ภายหลังเสีย..ดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง


ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา


1. แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ


2. เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย


3. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาควรปรึกษาจักษุแพทย์


ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย


อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330


โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040 ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่วโมง


หากเพื่อนๆต้องการ บริจาคสามารถติดต่อไปที่เว็บไซค์ได้เลยครับ https://www.redcross.or.th/