Home »
ธรรมะ
»
หยุดพยายามเป็นคนอื่น... แค่เป็นตัวเราเอง มันก็เหนื่อยมากพอแล้ว
หยุดพยายามเป็นคนอื่น... แค่เป็นตัวเราเอง มันก็เหนื่อยมากพอแล้ว
หยุดพยายามเป็นคนอื่น... แค่เป็นตัวเราเอง มันก็เหนื่อยมากพอแล้ว
อย่าใช้ชีวิตตามความคาดหวังของ “คนอื่น”
ความทุกข์ใจของคนเราส่วนมากมักมาจากความสัมพันธ์กับผู้อื่น
แล้วอะไรกันที่เป็นจุดเริ่มต้นของความทุกข์?
ชายหนุ่มให้คำตอบกับนักปรัชญาว่านั่นคือการ ‘ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น’
ฉันอยากให้พ่อแม่ฉันภูมิใจในตัวฉันบ้างว่าฉันเองก็เก่งเหมือนพี่
ฉันอยากให้ครูมองฉันในสายตาเหมือนเด็กเรียนเก่งคนอื่นๆ
ฉันอยากเป็นที่รักที่สนใจของหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
อยากเป็นที่ชื่นชมของใครต่อใคร
เหล่านี้ล้วนเป็นความต้องการอยากให้ผู้อื่นยอมรับในตัวเรา
จริงอยู่ที่ว่าการถูกยอมรับเป็นเรื่องน่ายินดี
แต่ก็ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ก่อนอื่นคุณต้องลองใคร่ครวญก่อนว่าคนเราอยากได้การยอมรับจากคนอื่นไปทำไม?
เพียงเพราะมันทำให้คุณรู้สึกว่า “ตัวเองมีคุณค่า”
แถมยังช่วยลบล้างความรู้สึกต่ำต้อยและทำให้เรากลับมามั่นใจอีกครั้งใช่หรือไม่?
สมมุติว่าคุณช่วยเก็บขยะในที่ทำงาน
แต่คนรอบข้างกลับไม่สังเกตในสิ่งที่คุณทำ
หรือถึงจะเห็นก็ไม่มีใครเอ่ยชื่นชมเลยสักคน แม้แต่คำขอบคุณสักคำก็ไม่มี
ถ้าเป็นแบบนี้คุณยังจะช่วยเก็บขยะต่อหรือเปล่า?
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าหากไม่ได้รับคำขอบคุณก็คงจะเลิกทำไปเลยเพราะไม่มีใครเห็นค่าก็ไม่อยากจะทำ
อุตส่าห์ยอมเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่ไม่มีใครเห็นใครขอบคุณสักคำ
เป็นใครก็ไม่อยากทำต่อทั้งนั้นแหละ
และนี่ล่ะคืออันตรายของการอยากได้การยอมรับ
วิธีคิดเช่นนี้ยังผลมาจากการเลี้ยงดูแบบให้รางวัลและลงโทษ
เราล้วนเติบโตมาจากการที่พ่อแม่ชื่นชมเมื่อเราทำพฤติกรรมเหมาะสมและถูกลงโทษเมื่อแสดงกิริยาไม่เหมาะสม
อัลเฟรด แอดเลอร์วิพากษ์วิจารณ์การเลี้ยงดูเช่นนี้อย่างรุนแรง
เพราะสิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือไลฟ์สไตล์ที่มีปัญหา
คนที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยวิธีนี้จะเป็นคนที่
“ถ้าไม่มีใครชมก็จะไม่ทำเรื่องดีๆ” หรือ
“ถ้าไม่มีใครลงโทษก็จะทำเรื่องแย่ๆ”
มนุษย์เราไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อทำตามความคาดหวังของคนอื่น
ในคำสอนของศาสนายูดาห์มีคำกล่าวว่า “ถ้าเราไม่ใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง
แล้วใครจะมาใช้ชีวิตเพื่อตัวเรา” ชีวิตเป็นของคุณ
มีแต่คุณคนเดียวเท่านั้นที่ใช้มันได้ ถ้าถามว่าคนเราควรใช้ชีวิตเพื่อใคร
คำตอบก็คือเพื่อตัวเองอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะถ้าคุณไม่ใช้ชีวิตเพื่อตัวเองแล้วใครจะมาใช้ชีวิตเพื่อคุณกันล่ะ
สุดท้ายแล้วคนเราก็คิดถึงแต่ “ตัวเอง”
แล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ไม่ควรทำแบบนั้นด้วย
การอยากได้รับการยอมรับจากคนอื่น
หรือการเอาแต่สนใจว่าคนอื่นจะตัดสินคุณค่าเราอย่างไร
จะทำให้เราใช้ชีวิตในแบบที่คนอื่นอยากให้เป็น
เมื่อเราอยากได้การยอมรับมากเกินไป เราจะใช้ชีวิตที่คนอื่น
“คาดหวังให้เป็น” พูดง่ายๆคือเราจะทิ้งชีวิตตัวเองไปใช้ชีวิตของคนอื่นแทน
และจำไว้ด้วยว่า ในเมื่อคุณ “ไม่ต้องใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น”
คนอื่นก็ “ไม่ต้องใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคุณ” เช่นกัน ดังนั้น
หากคนอื่นไม่ทำตามที่เราคิดก็อย่าไปโกรธเขา
เวลาที่เราอยากได้รับการยอมรับจากใครสักคน เรามักใช้วิธี
“ยอมทำตามความคาดหวังของคนอื่น”
แต่ถ้าเราลงมือทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงเพื่อ
“ทำตามความคาดหวังของคนอื่น” แล้วเราจะมีความสุขได้อย่างไร
ในเมื่อเราต้องคอยกังวลสายตาของคนอื่นตลอดเวลา
กังวลว่าจะได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์หรือเปล่า เราเลยต้อง “สะกด”
ตัวตนของตัวเองไว้
พูดอีกอย่างก็คือเราเอาแต่คิดถึงคนอื่นจนไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้
แต่หลักการคิดแบบนี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะบอกให้คุณไปทำทุกอย่างโดยไม่สนใจใคร
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเรื่อง “การแยกแยะธุระของแต่ละคนออกจากกัน”
ตามหลักจิตวิทยาของแอดเลอร์เสียก่อน ซึ่งนั่นเราจะพูดถึงกันในตอนต่อไป
ข้อมูลจาก booooks.co