น้ำย่านาง แม้เป็นสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ แต่ควรรู้ ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

ต้องระวัง ! น้ำย่านาง แม้เป็นสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ แต่ควรรู้ ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

สุดยอดสมุนไพรชื่อดังที่มีสรรพคุณดีๆมากมาย ทั้งลดพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยล้างพิษ บำรุงร่างกาย แต่ก่อนจะดื่มรู้หรือไม่ว่า ย่านางมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

ย่านาง เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น การกินย่านางติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกาย เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดอาการมือชา แขนขาชา และปวดศีรษะได้

โดยเฉพาะคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เลือดจาง และอ่อนเพลียง่าย เพราะการกินเป็นเวลานานจะยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง เลือดจางและอ่อนเพลียมากขึ้น

ถ้าดื่มน้ำย่านางแล้วมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก การขับถ่ายผิดปกติ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า ชาตามปลายมือปลายเท้า ให้หยุดรับประทานทันที

วิธีการทำน้ำใบย่านาง

โดยส่วนใหญ่แล้วการนำย่านางมาใช้นั้นมักจะนำมาใช้โดยการคั้นน้ำและเอาไปเป็นส่วนผสมในการทำอาหารนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งหมอเขียวก็ได้แนะนำวิธีใช้ใบย่านางเอาไว้ในหนังสือ เรามาดูกันดีกว่าว่า น้ำใบย่านางนั้นมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

วิธีการทำน้ำใบย่านางสูตรหมอเขียว

สูตรนี้ เป็นการใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้

ใบย่านาง

- เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี

- ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว



วิธีทำ

1. ใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง)

2. กรองน้ำใบย่านางที่ได้ผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ

3. ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก

หมายเหตุ

ถ้าจะให้ได้รสชาติ คั้นกับใบเตย จะหอมอร่อยมาก หรือจะใส่กับน้ำมะพร้าวก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น ( แต่ถ้าใส่น้ำมะพร้าวจะเสียเร็วนะ) ผักฤทธิ์เย็น นำมาคั้นร่วมกับย่านางก็ได้  เช่น  ผักบุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ใบเตย

ขอบคุณข้อมูลจาก ชีวจิต และ https://health.kapook.com/view96875.html