ใครนิ้วล็อคแก้ด้วย "ท่าบริหารนิ้วล็อค" และวิธีการง่ายแพทย์แผนไทย

ใครนิ้วล็อคแก้ด้วย "ท่าบริหารนิ้วล็อค" และวิธีการง่ายแพทย์แผนไทย

นิ้วล็อค โรคของคนที่ต้องใช้งานเกร็งมือ หรือนิ้วมือเป็นบ่อย ๆ หรือเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนาน ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว โดยส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือทำงานหนักๆ มีการจับ ออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำ ๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควง หรือเลื่อย พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ ช่างงานฝีมือ นักยูโด และหมอนวดแผนโบราณ เป็นต้น

อาการนิ้วล็อค

o อาการนิ้วล็อคจะมีอาการหลายระยะ ไล่ตั้งแต่เริ่มต้นระยะแรกๆ คือมีอาการปวดที่โคนนิ้วมือ ซึ่งถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการนิ้วล็อคก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอาจจะมีอาการสะดุด อาการปวด และเวลาขยับนิ้ว จะงอจะเหยียดก็รู้สึกสะดุด

o หลังจากนั้นระยะต่อมาคือขั้นที่เรียกว่าไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วได้เอง เพราะนิ้วติดล็อคจนต้องค่อย ๆ พยายามง้างนิ้วออกมา สุดท้ายก็จะมีอาการปวดอักเสบมากขึ้น และนิ้วก็ยังไม่สามารถงอได้เหมือนเดิม



* ท่าที่ 1 ใช้นิ้วโป้งบีบดินน้ำมันให้ชิดติดนิ้วชี้

* ท่าที่ 2 ใช้นิ้วโป้งหนีบดินน้ำมันดันชิดนิ้วชี้

* ท่าที่ 3 ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง ดึงดินน้ำมัน

* ท่าที่ 4 ใช้มืองอเป็นตะขอจิกดินน้ำมัน จิกปล่อยๆ

* ท่าที่ 5 ใช้มือบีบกดดินน้ำมัน บีบปล่อย

* ท่าที่ 6 ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ บีบปล่อยดินน้ำมัน

* ท่าที่ 7 ใช้ดินน้ำมัน ดึงนิ้วชี้ขึ้นลงๆโดยนิ้วต้องตึง

* ท่าที่ 8 ใช้นิ้วตัดดินน้ำมัน ลักษณะเหมือนกรรไกร

* ท่าที่ 9 ใช้นิ้วแผ่ดินน้ำมัน ให้ยืดเหมือนพิซซ่า

นอกจากนี้ยังมีวิธีง่ายๆ แก้ นิ้วล็อค ใน 10 นาที

วิธีการง่ายๆ ที่แพทย์แผนไทย นิยมใช้รักษาและป้องกันโรคนิ้วล็อค

ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ง่าย และปลอดภัยด้วย

แช่น้ำอุ่น 5 นาที

การใช้น้ำอุ่นหรือความร้อน ช่วยทำให้การปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ และนิ้วมือลดน้อยลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

วิธีทำ

นำไพล ขมิ้นชัน มะกรูด หั่นพอหยาบๆ ต้มลงในน้ำเดือด 15 นาที  ยกขึ้น นำมาผสมน้ำเย็น จนกว่าจะอุ่นๆ แล้วใช้มือข้างที่มีอาการแช่ลงในน้ำอุ่น หรือใช้ทั้งสองมือก็ได้ แช่ไว้นาน 5- 10 นาที จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หรือพันไว้ เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้ไม่ให้เย็นเฉียบพลัน แนะนำให้ทำทุกวันในตอนเช้า

นวดมือ 5 นาที

การนวดมือเป็นสิ่งที่สำคัญช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ระบบไหลเวียนเลือดนำอาการไปเลี้ยงเซลล์ที่ต้องการได้ สำหรับจุดที่ต้องเน้นในการนวด คือ

จุดที่ 1 บริเวณแขนเหนือข้อมือ 2 นิ้ว (โดยการใช้สองนิ้วมือทาบ) แล้วใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ

จุดที่ 2,3 บริเวณเนินอุ้งมือที่สูงสุด ทั้ง 2 ข้าง  ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ

จุดที่ 4 บริเวณกึ่งกลางฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ

จุดที่ 5 บริเวณข้อนิ้วมือ ทุกข้อ ใช้นิ้วโป้งกดดันข้อนิ้วมือเข้าจุดศูนย์กลางข้อทั้ง 4 มุม (ล่างซ้ายขวา และบนซ้ายขวา) กดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ท่าการบริหารยึดเหยียดนิ้วมือร่วมด้วย โดยการกำมือ แบมือ 10 ครั้ง ก็ได้เช่นกัน ยังไงก็ลองทำกันดูนะครับ แล้วมาแชร์ประสบการณ์กันนะ