วิธีนี้ได้กุศลแรงมาก..การชำระหนี้อันศักดิ์สิทธิ์ “ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่” อย่างสูงสุด สมน้ำสมเนื้อ
การใช้หนี้บิดามารดามีสองระดับคือ ระดับพื้นฐาน ได้แก่การทำหน้าที่ของลูกให้ดีที่สุด คือ เมื่อท่านเลี้ยงเรามาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูท่านตอบ ช่วยทำการงานของท่าน ดำรงวงศ์สกุล ประพฤติให้อยู่ในศีลธรรมเหมาะสมแก่การสืบทอดในมรดก และเมื่อท่านได้ล่วงลับไปแล้วก็ต้องทำบุญอุทิศบุญให้แก่ท่านวิธีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างสูงสุด ชำระหนี้อันศักดิ์สิทธิ์อย่างสมน้ำสมเนื้อ
แต่การคิดเลี้ยงดูให้พ่อแม่สุขทั้งกายสบายทั้งใจนับเป็นการใช้หนี้แค่ “ครึ่งเดียว” หากจะตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อนั้นในระดับสูงสุดต้องมีโอกาสด้วย โอกาสที่ว่านั้นคือ ให้โอกาสพ่อและแม่ที่ยังไม่มีที่พึ่งให้ตนเองได้มีที่พึ่งในทางจิตใจ
“ที่พึ่งในทางจิตใจ” ได้แก่ความรู้ความศรัทธาในเรื่องกรรมและการให้ผลกรรม หากท่านยังไม่มีความตั้งมั่นในทาน ยังไม่มีความตั้งมั่นในศีล แล้วผู้เป็นลูกสามารถโน้มน้าว ชักชวนให้พวกท่านมาศรัทธากรรมได้ ฝึกให้ทาน จนรู้สึกว่าหากไม่ให้แล้วเหมือนขาดอะไรไปในชีวิต ฝึกถือศีลจนประพฤติผิดแล้วรู้สึกผิดรุนแรง นั่นแหละจึงได้ชื่อว่าเราได้ ตอบแทนคุณท่านอย่างสมน้ำสมเนื้อ
ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะกรรมดี คือ “ที่พึ่งที่แท้จริง” เมื่อเราสามารถทำให้พ่อแม่ได้ศรัทธากฎแห่งกรรมวิบาก ตั้งมั่นในทาน ตั้งมั่นในศีล ก็เท่ากับเราได้ตอบแทนเลือดเนื้อก้อนนี้เป็นอัตภาพดีๆในการสร้างกรรมครั้งต่อๆไปของพ่อแม่นั่นเอง
ในครั้งพุทธกาล มีพระสาวกรูปหนึ่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูและหาวิธีใช้หนี้บุญคุณบิดามารดาได้ประเสริฐที่สุดนั่นก็คือ “พระสารีบุตร” ท่านสารีบุตรนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศด้วยปัญญารองจากพระพุทธเจ้า สั่งสอนอบรมให้ผู้คนกลายเป็นพระอรหันต์มาแล้วนับไม่ถ้วน แต่มีอยู่คนๆ หนึ่งที่ท่านยังไม่ได้สอนให้ หากไม่ได้สอนคนๆ นี้ให้เข้าถึงธรรมท่านก็จะยังนิพพานไม่ได้ คนๆ นั้นก็คือ โยมแม่นั่นเอง
วันหนึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะนิพพานก็ได้กราบทูลลาพระพุทธองค์เพื่อกลับบ้านเกิด เมื่อได้รับพุทธานุญาตแล้วจึงออกเดินทางด้วยร่างกายที่ถูกรุมเร้าด้วยพิษไข้และบากบั่นมาพบหน้ากับโยมแม่ได้ คืนนั้นพระสารีบุตรได้แสดงธรรมสั้นๆ บทหนึ่งให้โยมแม่ได้ฟังจนพระนางได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อท่านได้ชำระหนี้อันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว รุ่งเช้าก็ได้เข้านิพพานอย่างสงบ
ธรรมชาติพิเศษของการใช้หนี้บุญคุณ มีอยู่ประการหนึ่ง คือยิ่งหนี้สูงแล้วเราได้ใช้คืนพ่อแม่อย่างสมน้ำสมเนื้อ เราจะได้คะแนนบวกมหาศาล น้ำหนักของกรรมดีที่เราได้ทำกับพ่อแม่จะให้ผลชัดเป็นความไม่ตกต่ำ แม้ชาติปัจจุบันถูกกรรมเก่าร้ายๆ เล่นงานก็จะได้รับความช่วยเหลือ ผ่อนหนักให้เป็นเบาตามสมควร
เรื่องน่าเศร้าคือ กรรมบางอย่างอาจจะปิดบังไม่ให้เราเองเห็นช่วงเวลาที่แม่ได้รับความลำบากตั้งท้องเรามา ท่านไม่เคยเปิดเผยให้เห็นช่วงนาทีวิกฤตที่ต้องทุกข์สาหัสกับการเบ่งคลอดเราออกมา กับทั้งไม่ให้เราได้รับรู้ว่าพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงเรามาอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ จึงมักทำให้ชีวิตของมนุษย์ทุกคนจึงมองเห็นแค่บุญคุณของคนภายนอกก่อน อย่างครูบาอาจารย์ บุญคุณของญาติ บุญคุณของเพื่อน และบุญคุณของใครต่อใครอื่นๆ ในโลกที่ทุ่มเทเวลาช่วยเหลือเรา และเราก็เผลออาจตัดสินว่าน้ำหนักของบุญคุณคงจะพอๆ กันกับที่พ่อแม่ช่วยเหลือเรามา
และที่สำคัญหากเราไม่ได้ตอบแทนพ่อแม่เลย ลูกของเราเองนั้นแลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ทวงคืนแทน คือกรรมของเราเองจะไปดึงดูดเอาโอปปาติกะพวกที่จะมาเป็นลูกล้างลูกผลาญ และไม่สำนึกบุญคุณมาเกิดเป็นลูก และหากเรายังไม่มีลูกก็จะต้องทบหนี้ไปถึงชาติถัดไป
ในทางกลับกัน หากเรามีลูกอยู่แล้วไม่รับผิดชอบดูแลลูกเมียให้ดี มันอาจหมายถึงการเลื่อนเวลาชดใช้หนี้เก่าก็ได้ ต้องแยกให้ออกว่าลูกอาจติดหนี้ชีวิตเราก็จริง แต่เราเองก็อาจเคยติดหนี้เขาไว้ก่อนหากเขามาทวงหนี้คืนแล้วไม่ใช้ ชาติต่อไปเราก็มีสิทธิ์สูงที่จะไปเกิดกับพ่อแม่ที่ขาดความรับผิดชอบ เลี้ยงดูแบบทิ้งๆขว้างๆ หรือฝากคนอื่นเลี้ยงจนคุณว้าเหว่และมีปัญหาตั้งแต่เล็กก็เป็นได้.
ขอบคุณที่มา ธ.ธรรมรักษ์
ขอบุญรักษาทุกท่าน โปรดแชร์ต่อ เพื่อเป็นธรรมทาน.
การใช้หนี้บิดามารดามีสองระดับคือ ระดับพื้นฐาน ได้แก่การทำหน้าที่ของลูกให้ดีที่สุด คือ เมื่อท่านเลี้ยงเรามาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูท่านตอบ ช่วยทำการงานของท่าน ดำรงวงศ์สกุล ประพฤติให้อยู่ในศีลธรรมเหมาะสมแก่การสืบทอดในมรดก และเมื่อท่านได้ล่วงลับไปแล้วก็ต้องทำบุญอุทิศบุญให้แก่ท่านวิธีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างสูงสุด ชำระหนี้อันศักดิ์สิทธิ์อย่างสมน้ำสมเนื้อ
แต่การคิดเลี้ยงดูให้พ่อแม่สุขทั้งกายสบายทั้งใจนับเป็นการใช้หนี้แค่ “ครึ่งเดียว” หากจะตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อนั้นในระดับสูงสุดต้องมีโอกาสด้วย โอกาสที่ว่านั้นคือ ให้โอกาสพ่อและแม่ที่ยังไม่มีที่พึ่งให้ตนเองได้มีที่พึ่งในทางจิตใจ
“ที่พึ่งในทางจิตใจ” ได้แก่ความรู้ความศรัทธาในเรื่องกรรมและการให้ผลกรรม หากท่านยังไม่มีความตั้งมั่นในทาน ยังไม่มีความตั้งมั่นในศีล แล้วผู้เป็นลูกสามารถโน้มน้าว ชักชวนให้พวกท่านมาศรัทธากรรมได้ ฝึกให้ทาน จนรู้สึกว่าหากไม่ให้แล้วเหมือนขาดอะไรไปในชีวิต ฝึกถือศีลจนประพฤติผิดแล้วรู้สึกผิดรุนแรง นั่นแหละจึงได้ชื่อว่าเราได้ ตอบแทนคุณท่านอย่างสมน้ำสมเนื้อ
ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะกรรมดี คือ “ที่พึ่งที่แท้จริง” เมื่อเราสามารถทำให้พ่อแม่ได้ศรัทธากฎแห่งกรรมวิบาก ตั้งมั่นในทาน ตั้งมั่นในศีล ก็เท่ากับเราได้ตอบแทนเลือดเนื้อก้อนนี้เป็นอัตภาพดีๆในการสร้างกรรมครั้งต่อๆไปของพ่อแม่นั่นเอง
ในครั้งพุทธกาล มีพระสาวกรูปหนึ่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูและหาวิธีใช้หนี้บุญคุณบิดามารดาได้ประเสริฐที่สุดนั่นก็คือ “พระสารีบุตร” ท่านสารีบุตรนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศด้วยปัญญารองจากพระพุทธเจ้า สั่งสอนอบรมให้ผู้คนกลายเป็นพระอรหันต์มาแล้วนับไม่ถ้วน แต่มีอยู่คนๆ หนึ่งที่ท่านยังไม่ได้สอนให้ หากไม่ได้สอนคนๆ นี้ให้เข้าถึงธรรมท่านก็จะยังนิพพานไม่ได้ คนๆ นั้นก็คือ โยมแม่นั่นเอง
วันหนึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะนิพพานก็ได้กราบทูลลาพระพุทธองค์เพื่อกลับบ้านเกิด เมื่อได้รับพุทธานุญาตแล้วจึงออกเดินทางด้วยร่างกายที่ถูกรุมเร้าด้วยพิษไข้และบากบั่นมาพบหน้ากับโยมแม่ได้ คืนนั้นพระสารีบุตรได้แสดงธรรมสั้นๆ บทหนึ่งให้โยมแม่ได้ฟังจนพระนางได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน เมื่อท่านได้ชำระหนี้อันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว รุ่งเช้าก็ได้เข้านิพพานอย่างสงบ
ธรรมชาติพิเศษของการใช้หนี้บุญคุณ มีอยู่ประการหนึ่ง คือยิ่งหนี้สูงแล้วเราได้ใช้คืนพ่อแม่อย่างสมน้ำสมเนื้อ เราจะได้คะแนนบวกมหาศาล น้ำหนักของกรรมดีที่เราได้ทำกับพ่อแม่จะให้ผลชัดเป็นความไม่ตกต่ำ แม้ชาติปัจจุบันถูกกรรมเก่าร้ายๆ เล่นงานก็จะได้รับความช่วยเหลือ ผ่อนหนักให้เป็นเบาตามสมควร
เรื่องน่าเศร้าคือ กรรมบางอย่างอาจจะปิดบังไม่ให้เราเองเห็นช่วงเวลาที่แม่ได้รับความลำบากตั้งท้องเรามา ท่านไม่เคยเปิดเผยให้เห็นช่วงนาทีวิกฤตที่ต้องทุกข์สาหัสกับการเบ่งคลอดเราออกมา กับทั้งไม่ให้เราได้รับรู้ว่าพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงเรามาอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ จึงมักทำให้ชีวิตของมนุษย์ทุกคนจึงมองเห็นแค่บุญคุณของคนภายนอกก่อน อย่างครูบาอาจารย์ บุญคุณของญาติ บุญคุณของเพื่อน และบุญคุณของใครต่อใครอื่นๆ ในโลกที่ทุ่มเทเวลาช่วยเหลือเรา และเราก็เผลออาจตัดสินว่าน้ำหนักของบุญคุณคงจะพอๆ กันกับที่พ่อแม่ช่วยเหลือเรามา
และที่สำคัญหากเราไม่ได้ตอบแทนพ่อแม่เลย ลูกของเราเองนั้นแลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ทวงคืนแทน คือกรรมของเราเองจะไปดึงดูดเอาโอปปาติกะพวกที่จะมาเป็นลูกล้างลูกผลาญ และไม่สำนึกบุญคุณมาเกิดเป็นลูก และหากเรายังไม่มีลูกก็จะต้องทบหนี้ไปถึงชาติถัดไป
ในทางกลับกัน หากเรามีลูกอยู่แล้วไม่รับผิดชอบดูแลลูกเมียให้ดี มันอาจหมายถึงการเลื่อนเวลาชดใช้หนี้เก่าก็ได้ ต้องแยกให้ออกว่าลูกอาจติดหนี้ชีวิตเราก็จริง แต่เราเองก็อาจเคยติดหนี้เขาไว้ก่อนหากเขามาทวงหนี้คืนแล้วไม่ใช้ ชาติต่อไปเราก็มีสิทธิ์สูงที่จะไปเกิดกับพ่อแม่ที่ขาดความรับผิดชอบ เลี้ยงดูแบบทิ้งๆขว้างๆ หรือฝากคนอื่นเลี้ยงจนคุณว้าเหว่และมีปัญหาตั้งแต่เล็กก็เป็นได้.
ขอบคุณที่มา ธ.ธรรมรักษ์
ขอบุญรักษาทุกท่าน โปรดแชร์ต่อ เพื่อเป็นธรรมทาน.