กระจ่างเลย! ตอบข้อสงสัย... เหตุใดสมัยก่อนจึงต้องถอดเสื้อเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ ?
นอกจากความสนุก ความฮา ความจิ้น ความฟินแล้ว ละครบุพเพสันนิวาส ยังมีเนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแทรกอยู่ในทุกตอนอย่างละเมียดละไม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่ขุนนาง หรือข้าราชการในสมัยก่อน ต้องเข้าเฝ้าฯ ขุนหลวงนารายณ์ จะเห็นได้ว่าทุกคนต่างต้องแต่งองค์ทรงเครื่องก่อนจะเข้าสู่ท้องพระโรงนั้น หากแต่ไม่มีข้าราชการผู้ใดที่สวมเสื้อเลยสักคน...
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์ เคยให้ข้อมูลเอาไว้เมื่อปี 2560 ระบุว่า ในสมัยโบราณ การแต่งกายคือการแสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสม ไม่เทียมเจ้าเทียมนาย และไม่ทำให้เจ้านายขายขี้หน้า
ในจารีตการเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ หากพระมหากษัตริย์มิทรงฉลองพระองค์ ผู้เข้าเฝ้าก็มิพึงสวมเสื้อให้เทียมเจ้าเทียมนาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะมิทรงฉลองพระองค์อยู่เป็นปกติ ด้วยเมืองไทยเป็นเมืองร้อน (มาก) หากไม่มีการต้องทรงฉลองพระองค์ เช่น ออกรับแขกบ้านแขกเมือง ก็จะทรงเปลือยพระวรกายท่อนบนเสมอ ทรงแต่พระภูษา (ผ้านุ่ง) เป็นการเย็นพระวรกายดี
เว้นแต่ฤดูหนาว ซึ่งอากาศน่าจะหนาวกว่ากรุงเทพฯ สมัยนี้ พระองค์จึงจะทรงฉลองพระองค์ เมื่อทรงฉลองพระองค์แล้ว ข้าราชการที่เข้าเฝ้าก็พลอยได้สวมเสื้อไปด้วย ดีใจกันไปตาม ๆ กัน (ท่านว่ามีวิธีสังเกต คือถ้า "พระถัน (เต้านม) หด" เมื่อใด ข้าราชการไปเตรียมเสื้อกันได้เลย เพราะอีกไม่นานก็คงจะทรงเรียกฉลองพระองค์มาทรง)
นอกจากนี้ เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์ ยังให้ความรู้เรื่องเสื้อพระราชทานของเหล่าข้าราชการ และการเริ่มต้นกำหนดให้ข้าราชการต้องใส่เสื้อเข้าเฝ้าฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ดังนี้
ภาพจาก ละครบุพเพสันนิวาส ข้อมูลจาก เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์
นอกจากความสนุก ความฮา ความจิ้น ความฟินแล้ว ละครบุพเพสันนิวาส ยังมีเนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแทรกอยู่ในทุกตอนอย่างละเมียดละไม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่ขุนนาง หรือข้าราชการในสมัยก่อน ต้องเข้าเฝ้าฯ ขุนหลวงนารายณ์ จะเห็นได้ว่าทุกคนต่างต้องแต่งองค์ทรงเครื่องก่อนจะเข้าสู่ท้องพระโรงนั้น หากแต่ไม่มีข้าราชการผู้ใดที่สวมเสื้อเลยสักคน...
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์ เคยให้ข้อมูลเอาไว้เมื่อปี 2560 ระบุว่า ในสมัยโบราณ การแต่งกายคือการแสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสม ไม่เทียมเจ้าเทียมนาย และไม่ทำให้เจ้านายขายขี้หน้า
ในจารีตการเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ หากพระมหากษัตริย์มิทรงฉลองพระองค์ ผู้เข้าเฝ้าก็มิพึงสวมเสื้อให้เทียมเจ้าเทียมนาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะมิทรงฉลองพระองค์อยู่เป็นปกติ ด้วยเมืองไทยเป็นเมืองร้อน (มาก) หากไม่มีการต้องทรงฉลองพระองค์ เช่น ออกรับแขกบ้านแขกเมือง ก็จะทรงเปลือยพระวรกายท่อนบนเสมอ ทรงแต่พระภูษา (ผ้านุ่ง) เป็นการเย็นพระวรกายดี
เว้นแต่ฤดูหนาว ซึ่งอากาศน่าจะหนาวกว่ากรุงเทพฯ สมัยนี้ พระองค์จึงจะทรงฉลองพระองค์ เมื่อทรงฉลองพระองค์แล้ว ข้าราชการที่เข้าเฝ้าก็พลอยได้สวมเสื้อไปด้วย ดีใจกันไปตาม ๆ กัน (ท่านว่ามีวิธีสังเกต คือถ้า "พระถัน (เต้านม) หด" เมื่อใด ข้าราชการไปเตรียมเสื้อกันได้เลย เพราะอีกไม่นานก็คงจะทรงเรียกฉลองพระองค์มาทรง)
นอกจากนี้ เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์ ยังให้ความรู้เรื่องเสื้อพระราชทานของเหล่าข้าราชการ และการเริ่มต้นกำหนดให้ข้าราชการต้องใส่เสื้อเข้าเฝ้าฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ดังนี้
ภาพจาก ละครบุพเพสันนิวาส ข้อมูลจาก เพจ จับเข่าเล่าประวัติศาสตร์