มะเร็งกระเพาะอาหาร
นับเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยนัก
และถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะหลายคนกว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งก็ลามถึงขั้นระยะสุดท้ายเสียแล้ว ดังนั้น เราควรจะไปรู้จักสาเหตุและอาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร เพื่อเช็กตัวเองกันค่ะ
มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ Cancer of stomach, Gastric cancer เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร ทั้งนี้มักพบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะสุดท้ายแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยจะมาหาหมอเมื่อปรากฏอาการชัดเจน
สาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร
สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- พันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าผู้ที่ไม่มีพันธุกรรมของโรคนี้
- เกิดจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (Helicobactor Pyroli) ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ แบบโรคกระเพาะ เมื่อติดเชื้อนี้จะมีอาการอักเสบและเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารจึงเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังบางชนิด หรือเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- การสูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามาก
- การรับประทานอาหารรสเค็มจัด หรือมีสารผสมบางอย่างในเนื้อสัตว์หมัก อาหารหมักดอง รมควัน หรืออาหารใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีน้อย เช่น ผัก ผลไม้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ Cancer of stomach, Gastric cancer เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร ทั้งนี้มักพบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะสุดท้ายแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยจะมาหาหมอเมื่อปรากฏอาการชัดเจน
สาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร
สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- พันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าผู้ที่ไม่มีพันธุกรรมของโรคนี้
- เกิดจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (Helicobactor Pyroli) ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ แบบโรคกระเพาะ เมื่อติดเชื้อนี้จะมีอาการอักเสบและเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารจึงเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังบางชนิด หรือเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- การสูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามาก
- การรับประทานอาหารรสเค็มจัด หรือมีสารผสมบางอย่างในเนื้อสัตว์หมัก อาหารหมักดอง รมควัน หรืออาหารใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีน้อย เช่น ผัก ผลไม้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุ โดยปกติจะพบมะเร็งกระเพาะอาหาร ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- เพศ มักพบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า
- เชื้อชาติ มักพบชาวเอเชียเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าชนชาติอื่น ๆ
- ผู้ที่มีประวัติเคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า 20 ปี
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคนี้ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- กรุ๊ปเลือด คนกรุ๊ปเอจะมีความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนกรุ๊ปเลือดอื่น ๆ
- ผู้เป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง (Pernicious Anemia) ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนทั่วไป
อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในระยะเริ่มแรกของมะเร็งกระเพาะอาหาร จะยังไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมา ต่อมาถ้าก้อนมะเร็งโตขึ้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง รู้สึกหิวง่าย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แสบร้อนบริเวณหน้าอก แน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือเหนือสะดือแบบเดียวกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นโรคกระเพาะธรรมดา กินยารักษาโรคกระเพาะอาการก็ทุเลาได้ แต่ต่อมายารักษาโรคกระเพาะรับประทานไม่ได้ผล จะมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เป็นสีเลือดเก่าที่ตกค้าง)
- คลำพบก้อนแข็งในท้อง ตรงบริเวณเหนือสะดือ แต่กดแล้วไม่เจ็บ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- กลืนอาหารลำบาก
- คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย
หากพบอาการเหล่านี้ แล้วไม่ไปรักษา ปล่อยให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น * มะเร็งลามไปตับ จะมีอาการดีซ่าน หรือตาเหลือง ท้องบวมน้ำ
* มะเร็งลามไปปอด จะมีอาการหายใจ หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก
* มะเร็งอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือออกน้อย ไตวาย
* มะเร็งอุดตันกระเพาะลำไส้ จะเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน กินอาหารไม่ได้
* ภาวะตกเลือด ทำให้อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ หน้าตาซีดเซียวเพราะเสียเลือด เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงสุด และผู้ป่วยไม่เจ็บปวด เพียงแต่อาจรู้สึกพะอืดพะอมบ้าง
บางครั้งแพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะ และลำไส้ ทั้งนี้เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว แพทย์อาจจะอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินว่า มะเร็งกระจายตัวไปแค่ไหน อยู่ในระยะไหนแล้ว
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถรักษาได้โดย
- การผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร อาจเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือทั้งหมด
- เคมีบำบัด หรือ ทำคีโม โดยการให้ยาทางหลอดเลือด เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง จึงอาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดแดงลดลงจนมีอาการอ่อนเพลีย เลือดออกง่ายขึ้น อีกทั้งยังเกิดผมร่วงมากขึ้น และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย
- รังสีบำบัด หรือการฉายแสง โดยการให้รังสีที่มีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะให้รังสีบริเวณช่องท้องส่วนบน อาจมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว และมีอาการแดงบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้
ทั้งนี้ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1-2 แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร และให้เคมีบำบัดต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งกระจายตัว การรักษาในขั้นนี้เป็นไปเพื่อให้โรคทุเลาลง หายขาด และมีอายุยืนยาว
แต่สำหรับรายที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ๆ จะต้องให้เคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับการฉายแสง การผ่าตัดอาจทำได้เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น มีก้อนมะเร็งไปอุดกั้นทางเดินอาหาร การรักษาขั้นนี้ เป็นไปเพื่อบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้มุ่งหวังให้โรคมะเร็งกระเพาะอาหารหายไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก ๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย ก็จะทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน และมักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่หากดูแลรักษาร่างกายให้ดี อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่านี้
วิธีปฏิบัติตัวหากตรวจพบเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
ผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ติดตามรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- สร้างกำลังใจให้แก่ตนเอง ทำใจยอมรับให้ได้ อาจใช้วิธีการนั่งสมาธิ เจริญสติ สวดมนต์ ภาวนา
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามกินผัก ผลไม้ ถั่วเหลืองให้มาก ๆ
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เท่าที่ร่างกายจะรับได้
การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอย่างชัดเจน แต่สามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ
- รักษาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้
- งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณมาก
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
เห็นได้ว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวทีเดียว ดังนั้นหากใครมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนนานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม และหากมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลด เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
- อายุ โดยปกติจะพบมะเร็งกระเพาะอาหาร ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- เพศ มักพบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า
- เชื้อชาติ มักพบชาวเอเชียเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าชนชาติอื่น ๆ
- ผู้ที่มีประวัติเคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า 20 ปี
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคนี้ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- กรุ๊ปเลือด คนกรุ๊ปเอจะมีความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนกรุ๊ปเลือดอื่น ๆ
- ผู้เป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง (Pernicious Anemia) ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนทั่วไป
อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในระยะเริ่มแรกของมะเร็งกระเพาะอาหาร จะยังไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมา ต่อมาถ้าก้อนมะเร็งโตขึ้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง รู้สึกหิวง่าย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แสบร้อนบริเวณหน้าอก แน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือเหนือสะดือแบบเดียวกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นโรคกระเพาะธรรมดา กินยารักษาโรคกระเพาะอาการก็ทุเลาได้ แต่ต่อมายารักษาโรคกระเพาะรับประทานไม่ได้ผล จะมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เป็นสีเลือดเก่าที่ตกค้าง)
- คลำพบก้อนแข็งในท้อง ตรงบริเวณเหนือสะดือ แต่กดแล้วไม่เจ็บ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- กลืนอาหารลำบาก
- คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย
หากพบอาการเหล่านี้ แล้วไม่ไปรักษา ปล่อยให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น * มะเร็งลามไปตับ จะมีอาการดีซ่าน หรือตาเหลือง ท้องบวมน้ำ
* มะเร็งลามไปปอด จะมีอาการหายใจ หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก
* มะเร็งอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือออกน้อย ไตวาย
* มะเร็งอุดตันกระเพาะลำไส้ จะเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน กินอาหารไม่ได้
* ภาวะตกเลือด ทำให้อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ หน้าตาซีดเซียวเพราะเสียเลือด เป็นต้น
อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะต่าง ๆ
มะเร็งกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คล้าย ๆ กับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 : จะเป็นมะเร็งที่ผิวด้านในของผนังกระเพาะอาหาร และอาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม หรือลุกลามไปถึงขั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 : จะเป็นมะเร็งที่ผิวด้านในของกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม หรือมะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามถึงผิวนอกของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 : ระยะนี้มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อ และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือมะเร็งลุกลามถึงผิวนอกของกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามไปถึงอวัยวะใกล้เคียง แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 : มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว หรือเข้าต่อมน้ำเหลือง มากกว่า 15 ต่อม รวมทั้งเข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 : จะเป็นมะเร็งที่ผิวด้านในของผนังกระเพาะอาหาร และอาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม หรือลุกลามไปถึงขั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 : จะเป็นมะเร็งที่ผิวด้านในของกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อม หรือมะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามถึงผิวนอกของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 : ระยะนี้มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อ และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือมะเร็งลุกลามถึงผิวนอกของกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามไปถึงอวัยวะใกล้เคียง แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 : มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว หรือเข้าต่อมน้ำเหลือง มากกว่า 15 ต่อม รวมทั้งเข้าต่อมน้ำเหลือง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงสุด และผู้ป่วยไม่เจ็บปวด เพียงแต่อาจรู้สึกพะอืดพะอมบ้าง
บางครั้งแพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะ และลำไส้ ทั้งนี้เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว แพทย์อาจจะอัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินว่า มะเร็งกระจายตัวไปแค่ไหน อยู่ในระยะไหนแล้ว
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถรักษาได้โดย
- การผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร อาจเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือทั้งหมด
- เคมีบำบัด หรือ ทำคีโม โดยการให้ยาทางหลอดเลือด เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง จึงอาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดแดงลดลงจนมีอาการอ่อนเพลีย เลือดออกง่ายขึ้น อีกทั้งยังเกิดผมร่วงมากขึ้น และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย
- รังสีบำบัด หรือการฉายแสง โดยการให้รังสีที่มีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะให้รังสีบริเวณช่องท้องส่วนบน อาจมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว และมีอาการแดงบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้
ทั้งนี้ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1-2 แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร และให้เคมีบำบัดต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งกระจายตัว การรักษาในขั้นนี้เป็นไปเพื่อให้โรคทุเลาลง หายขาด และมีอายุยืนยาว
แต่สำหรับรายที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ๆ จะต้องให้เคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับการฉายแสง การผ่าตัดอาจทำได้เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น มีก้อนมะเร็งไปอุดกั้นทางเดินอาหาร การรักษาขั้นนี้ เป็นไปเพื่อบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้มุ่งหวังให้โรคมะเร็งกระเพาะอาหารหายไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก ๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย ก็จะทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน และมักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่หากดูแลรักษาร่างกายให้ดี อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่านี้
ผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ติดตามรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- สร้างกำลังใจให้แก่ตนเอง ทำใจยอมรับให้ได้ อาจใช้วิธีการนั่งสมาธิ เจริญสติ สวดมนต์ ภาวนา
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามกินผัก ผลไม้ ถั่วเหลืองให้มาก ๆ
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เท่าที่ร่างกายจะรับได้
การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอย่างชัดเจน แต่สามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ
- รักษาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้
- งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณมาก
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
เห็นได้ว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวทีเดียว ดังนั้นหากใครมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนนานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม และหากมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลด เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์