บทความน่าคิด! ทำไมคนรวยยิ่งอยู่ยิ่งรวยเอาๆ คนจนอยู่ไปยิ่งมีแต่จะจนลงๆเรื่อยๆ
เป็นประเด็นที่น่าคิดจนแชร์ต่อกันไปในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก เมื่อล็อกอิน เม่าเรนเจอร์ ได้โพสต์บทความ "เหตุผลที่ว่าทำไมคนรวยจะยิ่งรวยขึ้น คนจนจะยิ่งจนขึ้น" เมื่อวันที่ 31 พ.ค.60 โดยอธิบายเหตุผลดังนี้
หลังจากที่ได้เปลี่ยนจากมนุษย์เงินเดือนมาเปิดโลกธุรกิจมาได้สักพัก จากประสบการณ์และการเรียนรู้และการศึกษาข้อมูลต่างๆทำให้ผมเชื่อว่าต่อไปคนรวยจะรวยยิ่งขึ้น คนจนจะจนยิ่งขึ้น ทำไมหนะเหรอ? เหตุผลตามข้างล่างเลยครับ
1. คนรวยมี Bargain power ที่สูง คนที่ยังไม่เคยมาอยู่ในโลกของธุรกิจอาจจะไม่รู้ว่า ธุรกิจใหญ่ๆมีอำนาจในการต่อรองในการซื้อ Supply ที่มากกว่าธุรกิจโนเนม จากเพราะทั้งชื่อเสียงและทั้งปริมาณในการสั่งซื้อ ทำให้ธุรกิจใหญ่ๆนั้นมีต้นทุนที่ถูกกว่าธุรกิจเล็กๆ
รวมถึงการเช่าที่ในการเปิดร้านต่างๆด้วย ธุรกิจที่มีชื่อเสียง จะสามารถเช่าที่ขนาดเท่ากันได้ถูกกว่าธุรกิจเจ้าเล็กๆที่ไม่มีชื่อ
คนรวยมีต้นทุนที่ถูกกว่า ส่วนคนที่จนกว่านั้นมีต้นทุนที่แพงกว่า เห็นส่วนต่างมั้ยครับ แทนที่คนที่มีเงินน้อยนั้นควรจะได้ supply หรือค่าเช่าที่ถูกกว่า แต่เปล่าเลย มันตรงกันข้าม โลกของธุรกิจมันโหดร้าย
หรือแม้กระทั่งแค่ในโลกของคนทั่วๆไปที่ไม่ใช่คนทำธุรกิจ ลองไปดูเรื่องง่ายๆอย่างการกู้ซื้อบ้านก็ได้ครับ คนรวยที่ซื้อบ้านแพงกว่าจะได้ดอกเบี้ยตลอดสัญญาที่ถูกกว่าคนจนที่มีเงินซื้อบ้านได้ถูกกว่า (เงื่อนไขของธนาคารกำหนดว่าถ้ากู้ซื้อเกิน x ล้านจะได้ดอกเบี้ยพิเศษ แต่ถ้าไม่เกินจะได้ดอกเบี้ยที่แพงกว่า)
2. เงินเหลือเก็บของคนรวยนั้นมากกว่า
ในขณะที่หลายๆคนใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บไปลงทุนหรือทำอะไรต่อ เดือนนึงได้มา 100% อาจจะใช้ไป 90% เหลือแค่ 10% แต่คนรวยนั้นมีเงินเหลือเก็บมหาศาลจากรายได้ที่มาก อาจจะได้มา 100% แต่เนื่องจากปริมาณที่ได้มามาก ทำให้ค่าใช้จ่ายรายเดือนนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย รายจ่ายใช้ชีวิตอาจจะเป็นแค่ 5% ของเงินที่ได้มาเท่านั้น ซึ่งจะมีเงินเหลือถึง 90-95% สำหรับเก็บออมและลงทุนใหม่เลยทีเดียว
ซึ่งตามหลักการลงทุน ยิ่งเงินลงทุนมาก ผลกำไรยิ่งมากตาม
คุณลงทุน 1000 บาท กำไร 10% คุณก็ได้กลับมา 100 บาท แต่ถ้าคุณมีเงินเหลือสำหรับลงทุน 1,000,000 บาท คุณก็จะได้กลับมา 100,000 บาท
3. ปริมาณเงินและทรัพยากรในระบบที่มีอยู่อย่างจำกัด
เงินนั้นเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การใช้จ่ายหมุนเงินในระบบทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ เคยได้ยินปัญหามั้ยครับว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพราะคนไม่ใช้เงินกัน รัฐบาลถึงพยายามกระตุ้นโดยการอัดฉีดเงินเข้าระบบให้เกิดการใช้จ่ายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้คนได้ใช้เงินกัน ทั้งในส่วนของการลงทุนโครงสร้างต่างๆที่เม็ดเงินจะไหลเข้าระบบให้ขับเคลื่อนแล้วรัฐบาลค่อยเก็บเงินภาษีจากเงินที่หมุนในระบบนั้นกลับคืนมา
แต่ลองนึกถึงสภาพของเศรษฐกิจเล็กๆในหมู่บ้านที่มีคน 10 คน มีเศรษฐี 1 คน ลองคิดสภาพเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบดูสิ ถ้าเงินในหมู่บ้านนั้นมีอยู่ทั้งหมด 1000 บาท เฉลี่ยแต่ละคนก็จะมีเงินประมาณ 100 บาท
แต่ลองมองย้อนกลับไปข้อ 1 และ ข้อ 2 ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนรวยนั้นจะเก็บเงินได้มากยิ่งขึ้นจากการทำธุรกิจ จะมีกำไรจากเงินที่หมุนในระบบมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ลองคิดสภาพในหมู่บ้านเล็กๆ ถ้าเวลาผ่านไปคนรวยเก็บเงินจาก 100 ได้เป็น 500 แล้วเงินเหลือในระบบแค่ 500 สำหรับคน 9 คน 9 คนนั้นจะเหลือเงินเฉลี่ยกันคนละแค่ 50-60 กว่าบาทเท่านั้น แล้วยิ่งถ้าผ่านไปเรื่อยๆอีกละ? คนรวยก็จะยิ่งมีเงินเยอะ คนจนก็จะยิ่งมีเงินน้อยลง
นึกถึงภาพของลูกปืนที่หมุนไปเรื่อยๆ ที่ต้องการน้ำมันหล่อหลื่นให้หมุนไปได้ เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนลูกปืน เงินก็เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อหลื่น ส่วนการเก็บเงินจากการทำกำไรของคนรวยก็เหมือนจุดรั่วของน้ำมันหล่อลื่นในลูกปืน ยิ่งหมุนไปแต่ละรอบเงินก็หายไปจากระบบไปอยู่ในกระเป๋าตังคนรวย สุดท้ายน้ำมันหล่อลื่นขาด ลูกปืนก็ฝืด หมุนไม่ได้ ก็เปรียบเสมือนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักและฝืดเคืองเพราะเงินในระบบก็ไปอยู่กับคนรวยมากเกินไปและไม่หมุนกลับเข้ามาเป็นสารหล่อลื่นเหมือนดิม
แล้วกลับมาดูการอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาล ทั้งการลงทุนในโครงสร้างที่รายใหญ่ๆเข้ามาทำ คิดว่างบประมาณลงทุนสักโครงการที่พันล้าน เจ้าใหญ่รับไป กำไรจะกี่ร้อยล้าน ส่วนแบ่งของธุรกิจb2bที่ต่อจากเจ้าใหญ่ที่รับไปอีกเท่าไหร่ สุดท้ายเงินพันล้านจะไปอยู่ในมือคนรวยกี่ร้อยล้าน แล้วจะเหลือกลับไปหาคนชั้นล่างกี่ล้าน?
แล้วสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำคือภาษีที่เพิ่มมากขึ้น ที่จะยิ่งไปเบียดเบียนคนชั้นล่างมากยิ่งขึ้น แปลกไหมว่าคนมีเงินเยอะมีผลกระทบกับเงินของเค้าไม่กี่ % แต่กลับกันคนชั้นล่างผลกระทบอาจจะเป็น 10-20% คนมีเงินน้อยยิ่งโดนดูดตังกลับ ส่วนคนเงินเยอะขนหน้าแข้งก็ไม่ร่วงอะไร ทั้งๆที่ควรจะรีดเงินจากคนรวยกลับมาให้เงินมาหมุนในระบบมากขึ้น ตามกฏ 80-20 ที่อาจจะอุปมาอุปมัยได้ว่าคน 20% นั้นครองเงินในประเทศอยู่ 80%
4. คนรวยทำธุรกิจกับคนรวยด้วยกันเอง
เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน? ก็ในเมื่อคนรวยเลือกที่จะทำธุรกิจส่วนใหญ่กับคนรวยด้วยกันเอง ทั้งในเรื่อง Supply และส่วนของธุรกิจแบบ B2B แล้วคนทำธุรกิจทั่วๆไปละ? แทบจะไม่มีสิทธิ์เลย ยกเว้นคุณจะมี Connection ที่จะช่วยดึงคุณขึ้นไปทำธุรกิจเพื่อเอาส่วนแบ่งจากเค้าได้
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราต้องทำยังไง? คำตอบคือต้องรีบทำตัวเองให้รวย พอรวยแล้วไม่ประมาท ใช้เงินถูกวิธี จัดการความเสี่ยงในทุกๆด้านให้เหมาะสม จ้างคนมาทำให้ก็ได้ ถึงตอนนั้นใครสามารถขยับจากชนชั้นล่างหรือชนชั้นกลางขึ้นมาเป็นชนชั้นบนได้ ถึงตอนนั้นมันก็เหมือนว่าวที่ติดลมบนไม่หล่นลงมาง่ายๆ เค้าถึงมีคำพูดที่ว่าหาล้านแรกจากการลงทุนในหุ้นได้ ล้านต่อไปก็ไม่ยาก ก็ล้านต่อไปมันก็แค่ 2 เท่าของเงินเอง แต่ล้านแรกถ้ามาจากเงินแสนนี่มันตั้ง 10 เท่าที่ต้องทำให้ได้
อนาคตคนรวยยิ่งรวย คนจนยิ่งจน จะถีบตัวเองขึ้นมาก็มีแต่จะยากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับคุณแล้วจริงหรือไม่? ลองถามใจตัวเองดู บางทีแล้วทัศนคติคำว่า "จน" และ "รวย" ของคนเราก็แตกต่างกันได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : ล็อกอิน เม่าเรนเจอร์ เว็บไซต์ https://pantip.com/topic/36518165
เป็นประเด็นที่น่าคิดจนแชร์ต่อกันไปในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก เมื่อล็อกอิน เม่าเรนเจอร์ ได้โพสต์บทความ "เหตุผลที่ว่าทำไมคนรวยจะยิ่งรวยขึ้น คนจนจะยิ่งจนขึ้น" เมื่อวันที่ 31 พ.ค.60 โดยอธิบายเหตุผลดังนี้
หลังจากที่ได้เปลี่ยนจากมนุษย์เงินเดือนมาเปิดโลกธุรกิจมาได้สักพัก จากประสบการณ์และการเรียนรู้และการศึกษาข้อมูลต่างๆทำให้ผมเชื่อว่าต่อไปคนรวยจะรวยยิ่งขึ้น คนจนจะจนยิ่งขึ้น ทำไมหนะเหรอ? เหตุผลตามข้างล่างเลยครับ
1. คนรวยมี Bargain power ที่สูง คนที่ยังไม่เคยมาอยู่ในโลกของธุรกิจอาจจะไม่รู้ว่า ธุรกิจใหญ่ๆมีอำนาจในการต่อรองในการซื้อ Supply ที่มากกว่าธุรกิจโนเนม จากเพราะทั้งชื่อเสียงและทั้งปริมาณในการสั่งซื้อ ทำให้ธุรกิจใหญ่ๆนั้นมีต้นทุนที่ถูกกว่าธุรกิจเล็กๆ
รวมถึงการเช่าที่ในการเปิดร้านต่างๆด้วย ธุรกิจที่มีชื่อเสียง จะสามารถเช่าที่ขนาดเท่ากันได้ถูกกว่าธุรกิจเจ้าเล็กๆที่ไม่มีชื่อ
คนรวยมีต้นทุนที่ถูกกว่า ส่วนคนที่จนกว่านั้นมีต้นทุนที่แพงกว่า เห็นส่วนต่างมั้ยครับ แทนที่คนที่มีเงินน้อยนั้นควรจะได้ supply หรือค่าเช่าที่ถูกกว่า แต่เปล่าเลย มันตรงกันข้าม โลกของธุรกิจมันโหดร้าย
หรือแม้กระทั่งแค่ในโลกของคนทั่วๆไปที่ไม่ใช่คนทำธุรกิจ ลองไปดูเรื่องง่ายๆอย่างการกู้ซื้อบ้านก็ได้ครับ คนรวยที่ซื้อบ้านแพงกว่าจะได้ดอกเบี้ยตลอดสัญญาที่ถูกกว่าคนจนที่มีเงินซื้อบ้านได้ถูกกว่า (เงื่อนไขของธนาคารกำหนดว่าถ้ากู้ซื้อเกิน x ล้านจะได้ดอกเบี้ยพิเศษ แต่ถ้าไม่เกินจะได้ดอกเบี้ยที่แพงกว่า)
2. เงินเหลือเก็บของคนรวยนั้นมากกว่า
ในขณะที่หลายๆคนใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บไปลงทุนหรือทำอะไรต่อ เดือนนึงได้มา 100% อาจจะใช้ไป 90% เหลือแค่ 10% แต่คนรวยนั้นมีเงินเหลือเก็บมหาศาลจากรายได้ที่มาก อาจจะได้มา 100% แต่เนื่องจากปริมาณที่ได้มามาก ทำให้ค่าใช้จ่ายรายเดือนนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย รายจ่ายใช้ชีวิตอาจจะเป็นแค่ 5% ของเงินที่ได้มาเท่านั้น ซึ่งจะมีเงินเหลือถึง 90-95% สำหรับเก็บออมและลงทุนใหม่เลยทีเดียว
ซึ่งตามหลักการลงทุน ยิ่งเงินลงทุนมาก ผลกำไรยิ่งมากตาม
คุณลงทุน 1000 บาท กำไร 10% คุณก็ได้กลับมา 100 บาท แต่ถ้าคุณมีเงินเหลือสำหรับลงทุน 1,000,000 บาท คุณก็จะได้กลับมา 100,000 บาท
3. ปริมาณเงินและทรัพยากรในระบบที่มีอยู่อย่างจำกัด
เงินนั้นเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การใช้จ่ายหมุนเงินในระบบทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ เคยได้ยินปัญหามั้ยครับว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพราะคนไม่ใช้เงินกัน รัฐบาลถึงพยายามกระตุ้นโดยการอัดฉีดเงินเข้าระบบให้เกิดการใช้จ่ายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้คนได้ใช้เงินกัน ทั้งในส่วนของการลงทุนโครงสร้างต่างๆที่เม็ดเงินจะไหลเข้าระบบให้ขับเคลื่อนแล้วรัฐบาลค่อยเก็บเงินภาษีจากเงินที่หมุนในระบบนั้นกลับคืนมา
แต่ลองนึกถึงสภาพของเศรษฐกิจเล็กๆในหมู่บ้านที่มีคน 10 คน มีเศรษฐี 1 คน ลองคิดสภาพเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบดูสิ ถ้าเงินในหมู่บ้านนั้นมีอยู่ทั้งหมด 1000 บาท เฉลี่ยแต่ละคนก็จะมีเงินประมาณ 100 บาท
แต่ลองมองย้อนกลับไปข้อ 1 และ ข้อ 2 ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนรวยนั้นจะเก็บเงินได้มากยิ่งขึ้นจากการทำธุรกิจ จะมีกำไรจากเงินที่หมุนในระบบมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ลองคิดสภาพในหมู่บ้านเล็กๆ ถ้าเวลาผ่านไปคนรวยเก็บเงินจาก 100 ได้เป็น 500 แล้วเงินเหลือในระบบแค่ 500 สำหรับคน 9 คน 9 คนนั้นจะเหลือเงินเฉลี่ยกันคนละแค่ 50-60 กว่าบาทเท่านั้น แล้วยิ่งถ้าผ่านไปเรื่อยๆอีกละ? คนรวยก็จะยิ่งมีเงินเยอะ คนจนก็จะยิ่งมีเงินน้อยลง
นึกถึงภาพของลูกปืนที่หมุนไปเรื่อยๆ ที่ต้องการน้ำมันหล่อหลื่นให้หมุนไปได้ เศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนลูกปืน เงินก็เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อหลื่น ส่วนการเก็บเงินจากการทำกำไรของคนรวยก็เหมือนจุดรั่วของน้ำมันหล่อลื่นในลูกปืน ยิ่งหมุนไปแต่ละรอบเงินก็หายไปจากระบบไปอยู่ในกระเป๋าตังคนรวย สุดท้ายน้ำมันหล่อลื่นขาด ลูกปืนก็ฝืด หมุนไม่ได้ ก็เปรียบเสมือนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักและฝืดเคืองเพราะเงินในระบบก็ไปอยู่กับคนรวยมากเกินไปและไม่หมุนกลับเข้ามาเป็นสารหล่อลื่นเหมือนดิม
แล้วกลับมาดูการอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาล ทั้งการลงทุนในโครงสร้างที่รายใหญ่ๆเข้ามาทำ คิดว่างบประมาณลงทุนสักโครงการที่พันล้าน เจ้าใหญ่รับไป กำไรจะกี่ร้อยล้าน ส่วนแบ่งของธุรกิจb2bที่ต่อจากเจ้าใหญ่ที่รับไปอีกเท่าไหร่ สุดท้ายเงินพันล้านจะไปอยู่ในมือคนรวยกี่ร้อยล้าน แล้วจะเหลือกลับไปหาคนชั้นล่างกี่ล้าน?
แล้วสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำคือภาษีที่เพิ่มมากขึ้น ที่จะยิ่งไปเบียดเบียนคนชั้นล่างมากยิ่งขึ้น แปลกไหมว่าคนมีเงินเยอะมีผลกระทบกับเงินของเค้าไม่กี่ % แต่กลับกันคนชั้นล่างผลกระทบอาจจะเป็น 10-20% คนมีเงินน้อยยิ่งโดนดูดตังกลับ ส่วนคนเงินเยอะขนหน้าแข้งก็ไม่ร่วงอะไร ทั้งๆที่ควรจะรีดเงินจากคนรวยกลับมาให้เงินมาหมุนในระบบมากขึ้น ตามกฏ 80-20 ที่อาจจะอุปมาอุปมัยได้ว่าคน 20% นั้นครองเงินในประเทศอยู่ 80%
4. คนรวยทำธุรกิจกับคนรวยด้วยกันเอง
เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน? ก็ในเมื่อคนรวยเลือกที่จะทำธุรกิจส่วนใหญ่กับคนรวยด้วยกันเอง ทั้งในเรื่อง Supply และส่วนของธุรกิจแบบ B2B แล้วคนทำธุรกิจทั่วๆไปละ? แทบจะไม่มีสิทธิ์เลย ยกเว้นคุณจะมี Connection ที่จะช่วยดึงคุณขึ้นไปทำธุรกิจเพื่อเอาส่วนแบ่งจากเค้าได้
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราต้องทำยังไง? คำตอบคือต้องรีบทำตัวเองให้รวย พอรวยแล้วไม่ประมาท ใช้เงินถูกวิธี จัดการความเสี่ยงในทุกๆด้านให้เหมาะสม จ้างคนมาทำให้ก็ได้ ถึงตอนนั้นใครสามารถขยับจากชนชั้นล่างหรือชนชั้นกลางขึ้นมาเป็นชนชั้นบนได้ ถึงตอนนั้นมันก็เหมือนว่าวที่ติดลมบนไม่หล่นลงมาง่ายๆ เค้าถึงมีคำพูดที่ว่าหาล้านแรกจากการลงทุนในหุ้นได้ ล้านต่อไปก็ไม่ยาก ก็ล้านต่อไปมันก็แค่ 2 เท่าของเงินเอง แต่ล้านแรกถ้ามาจากเงินแสนนี่มันตั้ง 10 เท่าที่ต้องทำให้ได้
อนาคตคนรวยยิ่งรวย คนจนยิ่งจน จะถีบตัวเองขึ้นมาก็มีแต่จะยากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับคุณแล้วจริงหรือไม่? ลองถามใจตัวเองดู บางทีแล้วทัศนคติคำว่า "จน" และ "รวย" ของคนเราก็แตกต่างกันได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : ล็อกอิน เม่าเรนเจอร์ เว็บไซต์ https://pantip.com/topic/36518165