คุณครอบครองลูกได้กี่ปี? ทุกๆปีสำคัญขนาดไหน? อ่านดูแล้วรู้เลยว่าทุกเวลามีค่าขนาดไหน!

อยากให้อ่านคุณครอบครองลูกได้กี่ปี? ทุกๆปีสำคัญขนาดไหน? อ่านดูแล้วรู้เลยว่าทุกเวลามีค่าขนาดไหน!

เมื่อลูก 3 ขวบ

วันที่ลูกไปเรียนเตรียมอนุบาลวันแรก ลูกของคุณสวมชุดนักเรียนได้น่ารักที่สุดเลย เมื่อถึงโรงเรียน ลูกเอาแต่ร้องไห้ ไม่ออมออกจากอกคุณ คุณครูต้องมาอุ้มไป ลูกร้องไห้กรีดร้องเสียงดัง “แม่จ๋า แม่จ๋า!” แม้จะห่วงหาแต่ก็ต้องยอม ลูกห่างจากพ่อแม่เป็นวันแรก วันนั้นทั้งวันคุณเฝ้ารอให้ถึงตอนบ่าย เมื่อไปรับลูกที่โรงเรียน ลูกเห็นหน้าคุณก็รีบวิ่งเข้ามากอด พร้อมกับพูดว่า “แม่จ๋า หนูคิดถึงแม่จ๋าจังเลย” ในเวลานั้น กอดลูกเหมือนกับกอดโลกทั้งใบไว้ในอ้อมแขน

เมื่อลูก 6 ขวบ

ลูกเรียนประถมฯ ลูกเดินเข้าโรงเรียนเองโดยไม่ต้องให้คุณไปส่งถึงห้องเรียน มันช่างเป็นภาพที่น่าจดจำ ลูกของคุณเริ่มโตแล้ว วันนี้ลูกได้เริ่มต้นเปิดบันทึกชีวิตหน้าใหม่ของเขาแล้ว แต่ใครจะคาดคิด นี่เป็นก้าวแรกที่ลูกได้ก้าวเท้าออกจากชีวิตคุณเป็นก้าวแรก เพราะลูกเริ่มชินกับการพรากจากคุณเป็นวันๆแล้ว และลูกก็ชอบไปโรงเรียน นี่เป็นชีวิตที่ลูกชอบ บางครั้งลูกก็บอกกับคุณว่า “แม่ ผมไม่ชอบอยู่บ้านเลย ผมไม่มีเพื่อนเล่น”

เมื่อลูก 12 ขวบ

ลูกเรียนมัธยมต้นแล้ว ลูกบางคนต้องไปโรงเรียนกินนอน ทางทีเป็นเดือนหรือไม่ก็เป็นเทอมถึงจะกลับมาบ้านสักครั้ง เขาไม่ต้องพึ่งคุณอีกต่อไป บางครั้ง เขาก็ชอบจ้องคุณ เวลาที่คุณอยากช่วยทำอะไรให้เขา เชาจะบอกคุณว่า “ไม่ต้องหรอกครับแม่ เดี๋ยวผมทำเอง!” เมื่อได้ยินประโยคนี้จากปากของลูก คุณรู้สึกว่าคุณเริ่มหมดความสำคัญ หรือว่าลูกไม่ต้องการคุณแล้ว!

เมื่อลูก 18 ปี

ลูกได้จากคุณไปเรียนมหาวิทยาลัย กลับมาเยี่ยมบ้านปีละครั้งสองครั้ง ก่อนหน้าที่พวกเขาจะกลับมาวันสองวัน ตู้เย็นที่บ้านแทบยัดอะไรใส่ไปไม่ได้ คุณเตรียมของที่ลูกชอบไว้เต็มตู้ แต่เมื่อลูกกลับมา เขาก็อยู่กับคุณไม่กี่นาที จากนั้นเขาก็ไปอยู่กับเพื่อนในสมัยเด็กๆ ในเวลานี้ สิ่งที่พวกคุณกลัวที่จะได้ยินที่สุดก็คือ “แม่ ผมไม่กลับมากินข้าวนะ พ่อกับแม่กินไปเลย”

เมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ลูกไปทำงานไกลบ้าน ปีหนึ่งจะกลับมาสักครั้งก็ยากเหลือเกิน  กว่าจะกลับมาได้สักครั้ง อยู่ไม่กี่วันก็ไป สิ่งที่คุณรอคอยก็คือเสียงโทรศัพท์ หวังว่าปลายสายจะเป็นเสียงของลูก และหวังว่าลูกจะพูดกับคุณว่า “แม่ ผมสบายดี แม่รักษาสุขภาพด้วยนะ!” แค่นี้ คุณก็สุขใจแล้ว

เมื่อลูกแต่งงาน การกลับมาเยี่ยมคุณก็แบ่งกับบ้านแม่ยายครึ่งหนึ่ง การกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ก็ลดน้อยลงไปอีก กว่าที่คุณจะชิน คุณสองคนก็กลายเป็นคนแก่เฝ้าบ้าน แต่ว่าตอนนี้ สิ่งที่คุณต้องการได้ยินมากที่สุดจากลูกก็คือ “แม่ครับ ปีใหม่ปีนี้ผมกับบ้านนะ!”

และเมื่อเขามีลูกแล้ว คุณก็ไม่ใช่สมาชิกในบ้านของเขาอีกต่อไป ครอบครัวของเขามี 3 หรือ 4 ชีวิต ไม่มีคุณเป็นส่วนประกอบ และพวกคุณ ก็ค่อยๆชินกับชีวิตแบบนี้แล้ว ชินกับเมื่อมีเวลาว่าง คุณมักจะเปิดดูอัลบั้มรูปเก่าๆ  ดูรูปครอบครัวของคุณ ครอบครัวที่มีสมาชิกด้วยกัน 3 ชีวิต ไม่ว่าลูกจะไปอยู่ที่ไหน เขาก็ยังคงเป็นสมาชิกในบ้านของเราตลอดไป ใช่แล้ว! ตอนที่ลูกอยู่ข้างกายเรานั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข แต่บางครั้งที่เราก็มักที่จะบ่น บ่นว่าเพราะต้องเลี้ยงดูส่งเสียเขาเรียน ต้องเหนื่อยและใช้เงินทองไปแล้วมากมายเท่าไหร่?

แต่ทว่า หากคุณพิจารณาให้ดีๆ สิบปีให้หลังจากนี้ไป ต่อให้คุณอยากมีบรรยากาศแบบนี้อีก คุณก็ยากที่จะมีได้อีก เพราะลูกโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผ่านช่วงนี้ไปแล้ว เขาก็ไม่ชินกับชีวิตอย่างนี้อีกต่อไป

หลังจากหย่านมลูกแล้ว คุณมักจะคิดถึงเวลาที่ให้นมลูกใช่หรือไม่?

แต่ว่าตอนนั้น คุณกลับรู้สึกว่ามันเหนื่อย มันลำบาก มันน่าเบื่อใช่หรือเปล่า?

คุณมักจะยิ้ม เมื่อเห็นภาพถ่ายตอนที่ลูกดูดหัวแม่มือของตัวเองใช่หรือไม่?

แต่ตอนนั้น คุณโมโหทุกครั้งที่เห็นลูกดูดมือ คุณมักจะตีลูก และมักรีบล้างมือลูก แถมยังบ่นแล้วบ่นอีก ใช่หรือเปล่า?

คุณนึกถึงเสียงออดอ้อนของลูกในตอนที่เขาเป็นเด็กๆใช่หรือไม่?

แต่ตอนนั้น คุณมักจะดุลูกว่าทำไมทำตัวเป็นเด็กไม่โตสักทีใช่หรือเปล่า?

คุณนึกถึงวันที่ลูกกอดขาคุณแน่นในวันที่เขาไปโรงเรียนใช่หรือไม่?

แต่ว่าตอนนั้น คุณคิดแต่เพียงว่าจะทำยังไงให้ลูกไปโรงเรียนแบบไม่งอแงใช่หรือเปล่า?

กาลเวลายากหวนคืน ที่ผ่านไปแล้วมันก็ผ่านเลยไป

เวลาที่ลูกอยู่ข้างกายเป็นเวลาที่มีค่า จงรู้รักษา อย่ารอให้มันผ่านไปแล้วมาเสียดายทีหลัง

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : นุสนธิ์บุคส์