ตามที่ท่านผู้อ่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน
สปก.ว่าสามารถซื้อขายกันได้หรือไม่
ทนายคลายทุกข์จึงได้ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมานำเสนอ ดังนี้
การซื้อขายที่ดิน สปก. มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดเจนตามกฎหมาย เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 เงินที่ผู้ซื้อชำระให้กับผู้ขายเป็นการชำระหนี้ อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ไม่อาจเรียกคืนจากผู้ขายฐานลาภมิควรได้ ยกเว้นผู้ซื้อไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินที่ซื้อขายอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1876/2542,172/2546)
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาอ้างอิง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือ สัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลง ยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2546
การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องห้ามมิให้แบ่งแยกหรือโอนสิทธิที่ดินไปยังผู้อื่น เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามมาตรา 407 จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้แก่โจทก์ตามมาตรา 406
(ขอบคุณที่มาจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)
การซื้อขายที่ดิน สปก. มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดเจนตามกฎหมาย เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 เงินที่ผู้ซื้อชำระให้กับผู้ขายเป็นการชำระหนี้ อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ไม่อาจเรียกคืนจากผู้ขายฐานลาภมิควรได้ ยกเว้นผู้ซื้อไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินที่ซื้อขายอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1876/2542,172/2546)
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาอ้างอิง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือ สัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลง ยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2546
การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องห้ามมิให้แบ่งแยกหรือโอนสิทธิที่ดินไปยังผู้อื่น เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามมาตรา 407 จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้แก่โจทก์ตามมาตรา 406
(ขอบคุณที่มาจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)