1. ก่อนจะเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ขอแนะนำให้ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพ หากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเบอร์ 5 ควรเลือกใช้เป็นที่สุด
2. ควรปิดเครื่องปรับอากาศหากไม่อยู่ในห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5
3. ตั้งปิดจอคอมฯ เมื่อไม่ใช้งาน เนื่องจากความร้อนจากจอคอมฯ
จะเป็นภาระสำหรับเครื่องปรับอากาศ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
จะปล่อยความร้อนออกมา 250 วัตต์
ส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180 – 200 วัตต์
4. ตั้งอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมเสริม จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานไม่ทำงานหนัก
5. นำตู้มาตั้งชนิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก
เนื่องจากผนังด้านที่มีความร้อนมากที่สุดคือด้านตะวันออกและตะวันตก
การที่มีตู้มาตั้งชิดผนังเสมือนกับว่ามีผนังหนาขึ้น
ช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้
ทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่ำกว่าปกติ
6. ตรวจดูว่า ภายในห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้น
มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นอยู่มากเกินไปหรือเปล่า อย่างเช่น ตู้เย็น
เครื่องชงกาแฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน ฯลฯ
หากมีควรย้ายออกไปข้างนอกห้องจะดีมาก
เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้จะปล่อยความร้อนออกมาเท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
เป็นภาระให้กับเครื่องปรับอากาศ
7. การเลือกเปลี่ยนใช้หลอดประหยัดไฟ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกทั้ง
ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ รวมทั้งหลอด LED ที่ประหยัดไฟที่สุดตอนนี้
หากใครใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน
ก็อย่าลืมใช้บัลลาสต์อิเล็กโทรนิกคู่กับหลอดผอม
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดไฟได้ดีมากยิ่งขึ้น
8. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี เป็นการช่วยเพิ่มแสงสว่างให้กับบ้านโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น
9. ควรเลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว
ไม่ควรใช้ตู้เย็นที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น เพราะจะกินไฟมากเกินไป
และควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนังบ้าน 15 ซม.
10. ควรตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม
การตั้งที่ตัวเลขต่ำเกินไป อุณหภูมิจะเย็นน้อย
ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงเกินไปจะเย็นมาก เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน
ควรตั้งค่าเลขต่ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ