มะเขือพวง เป็นพืชตระกูลมะเขือ มีถิ่นกำเนิดในแถบรัฐฟลอริดา, หมู่เกาะเวสต์
อินดีส์, เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล
เป็นวัชพืชขึ้นกระจัดกระจายเกือบทั่วเขตร้อน
โดยทั่วไปสำหรับครัวไทย มะเขือพวง มักใช้เป็นวัตถุในการปรุงอาหารหลากหลายแบบ อย่างเช่น ใช้ตำผสมลงในน้ำพริกหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา ใช้ใส่ในแกง เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า แกงอ่อม ซุบ กินดิบเป็นผักจิ้ม หรือกินสุกโดยการเผา ปิ้ง หรือย่าง แถมยังช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
สวนมะเขือพวงของคุณศิริพร กุศล (คุณดำ) และคุณพยุง กันญา (คุณยุง) ตั้งอยู่ที่คลองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นสวนที่ปลูกมะเขือพวงส่งเข้าโรงงานไปยังตลาดต่างประเทศและส่งขายไปยังตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ
ลาออกจากงานประจำ
หันทำเกษตร อาชีพของตนเอง
คุณศิริพร เริ่มต้นเล่าให้ฟังถึงการหันมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรว่า เดิมก็ทำงานเป็นพนักงานประจำ ในตำแหน่งพนักงานขาย ของบริษัทต่างชาติมากว่า 20 ปี ซึ่งได้เงินเดือนมากถึงเดือนละแสนบาท ก่อนจะมีความคิดอยากลาออกจากงานที่ทำก็เพราะมีความคิดว่าในบันปลายชีวิตอยากมีงานอะไรที่ทำด้วยตนเอง เป็นชิ้นเป็นอัน และที่สำคัญคือเป็นของตนเอง จึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัท แล้วมาเริ่มศึกษาการทำเกษตร ตอนเริ่มต้นในครั้งแรก เริ่มทดลองในพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนของตนเองมาทดลองปลูกพืชผัก อีกอย่างการหันมาทำเกษตรนี้ก็ได้ไอเดียมาจากรุ่นพี่ที่รู้จักกัน เขาปลูกมะลิ ก็ได้ไอเดียจากตรงนี้ด้วยอีกส่วน
ตอนแรกที่เลือกพืชมาปลูก ก็สนใจพืชอย่างข่า เพราะคิดว่าจะสามารถทำได้ แต่พอมาคิดดู ทดลองดูแล้ว ก็ได้พบว่า พอหักต้นทุน หักค่าใช้จ่ายนั้นนี่ ก็เหลือไม่เยอะแล้ว จึงไม่ได้ทำต่อ เปลี่ยนมาให้ความสนใจพืช อย่างมะเขือพวงแทน และเป็นที่น่าสนใจว่าตลาดยังมีความต้องการอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารแล้ว ยังเป็นพืชสมุนไพร ที่จะสามารถส่งขายไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางได้ อีกทั้งละแวกบ้านแถวนี้ เขาก็ทำสวน ปลูกสวนกล้วยกันเป็นส่วนมาก เราอยากแตกต่างจึงมาปลูกพืชอย่างมะเขือพวง”
จากงานสวนเพียง 1 ไร่ ที่เริ่มต้น มาสู่การทำสวน 40 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกมะเขือพวงมากกว่าปลูกพืชอย่างอื่นๆ อาทิ ปลูกตระไคร้ และข่า เป็นพืชเสริมเพียง 5 ไร่
การปลูกมะเขือพวง มีกระบวนการปลูกไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องดูแลเยอะเหมือนอย่างข่า รวมทั้งขั้นตอนการใส่ปุ๋ย แรงงานก็ไม่ยุ่งยากมาก แต่ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่ ขั้นตอนการเตรียมดินให้เหมาะสมกับการลงปลูก ซึ่งคุณศิริพร บอกว่า ในการปลูกพืชแต่ละชนิดมีความยากง่าย ไม่เหมือนกัน อย่างมะเขือพวง จะว่าปลูกง่ายก็ไม่ได้ง่าย จะว่าปลูกยากก็ไม่เชิง เพราะทุกการปลูกจะต้องมีการเรียนรู้ ศึกษาข้อมูลในการปลูก อีกอย่างเพราะตัวเราเองไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการเกษตร จึงทำให้ต้องเริ่มศึกษารายละเอียดในการปลูกตั้งแต่แรก และที่เลือกมะเขือพวงเพราะมองเห็นโอกาสทางการตลาด
ปลูกมะเขือพวง 3 เดือน เก็บขายได้
ปลูกครั้งเดียวอยู่นานเกือบ 10 ปี
มะเขือพวงเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 3 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว และหากดูแลดีๆ ก็จะสามารถมีอายุอยู่ได้นานถึงเกือบ 10 ปี เป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เป็นพืชทนแล้ง แต่ขาดน้ำไม่ได้ ซึ่งถ้าหากจะสังเกตในช่วงหน้าแล้ง ราคามะเขือพวงจะค่อนข้างดีมาก ไม่ชอบพื้นหลุมที่แฉะ เพราะไม่งั้นจะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ คุณศิริพร บอก
“ผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 100 กิโลกรัม การเก็บเกี่ยวก็จะเก็บทุกๆ 15 วัน คือ 1 เดือน เก็บได้ 2 ครั้ง แต่หากจะเก็บทุกวันก็สามารถทำได้ เพียงแต่มองว่ามันไม่ค่อยคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในช่วงที่เก็บเกี่ยว ทั้งค่าคนแรงคนงาน การดูแลต่างๆ อีก และผลผลิตก็จะไม่ได้เยอะ ไม่เพียงพอต่อการจะส่งขาย
เพราะเราส่งขายไปให้กับโรงงาน และตลาดกลางที่เขานำเอาไปเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ต่อไป โดยส่งเข้าโรงงาน สำหรับการส่งขายไปยังตลาดต่างประเทศร้อยละ 40 ส่วนตลาดการค้าขายภายในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 60 ซึ่งการส่งไปยังโรงงาน จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบสารเคมีค่อนข้างมาก ต้องเอามะเขือพวงไปตรวจสอบกับแล็บ เพื่อขอเอกสารการตรวจสารเคมี ให้ได้เอกสารรับรอง”
สำหรับรายได้จากหารขายมะเขือพวง ตระไคร้ และข่า ที่ปลูกอยู่ในสวนทำเงินได้ประมาณเดือนละ 250,000 -300,000 บาท เป็นรายได้ที่หักต้นทุนออกไปแล้ว
ส่วนวิธีการหาตลาด คุณศิริพร แนะนำว่า “เกษตรกรโดยทั่วไป เขามักทำตามกระแส ปลูกแห่ๆ ตามกันไป เห็นว่าอะไรแพงก็ปลูกกันไป ซึ่งแท้จริงแล้ว ควรต้องหาตลาด ศึกษาตลาดก่อนการปลูก เพราะอะไรก็ตามที่ปลูกกันมาก พอถึงฤดูกาลออกผลผลิต ก็จะออกพร้อมกัน ปริมาณสินค้าก็จะมีเยอะในท้องตลาด ราคาก็จะลง เพราะเกิดจากการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง และเกิดจากการที่คนปลูกไม่รู้ว่า ปลูกไปแล้วผลผลิตที่ได้จะมีใครมารับซื้อหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรในท้องตลาดถูกลง เพราะเราปลูกกันตามกระแส ดังนั้น 1. การปลูก เพื่อขายอะไรต้องรู้จักตลาด หาให้เจอเสียก่อนว่าจะปลูกอะไรไปขายที่ไหน 2. ต้องทำครบวงจร ควรเป็นทั้งผู้ผลิต ปลูกเอง ขายเอง ดูแลบริหารงานให้ไปถึงตลาดเอง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และที่สำคัญหากจะทำการเกษตรเพื่อส่งขายไปยังโรงงานต่างๆ จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานและสารเคมีให้ได้ ต้องทำการจดบันทึกรายละเอียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรส่วนมากไม่สามารถทำผลผลิตให้ได้มาตรฐานได้”
โดยทั่วไปสำหรับครัวไทย มะเขือพวง มักใช้เป็นวัตถุในการปรุงอาหารหลากหลายแบบ อย่างเช่น ใช้ตำผสมลงในน้ำพริกหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา ใช้ใส่ในแกง เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า แกงอ่อม ซุบ กินดิบเป็นผักจิ้ม หรือกินสุกโดยการเผา ปิ้ง หรือย่าง แถมยังช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
สวนมะเขือพวงของคุณศิริพร กุศล (คุณดำ) และคุณพยุง กันญา (คุณยุง) ตั้งอยู่ที่คลองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นสวนที่ปลูกมะเขือพวงส่งเข้าโรงงานไปยังตลาดต่างประเทศและส่งขายไปยังตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ
ลาออกจากงานประจำ
หันทำเกษตร อาชีพของตนเอง
คุณศิริพร เริ่มต้นเล่าให้ฟังถึงการหันมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรว่า เดิมก็ทำงานเป็นพนักงานประจำ ในตำแหน่งพนักงานขาย ของบริษัทต่างชาติมากว่า 20 ปี ซึ่งได้เงินเดือนมากถึงเดือนละแสนบาท ก่อนจะมีความคิดอยากลาออกจากงานที่ทำก็เพราะมีความคิดว่าในบันปลายชีวิตอยากมีงานอะไรที่ทำด้วยตนเอง เป็นชิ้นเป็นอัน และที่สำคัญคือเป็นของตนเอง จึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัท แล้วมาเริ่มศึกษาการทำเกษตร ตอนเริ่มต้นในครั้งแรก เริ่มทดลองในพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนของตนเองมาทดลองปลูกพืชผัก อีกอย่างการหันมาทำเกษตรนี้ก็ได้ไอเดียมาจากรุ่นพี่ที่รู้จักกัน เขาปลูกมะลิ ก็ได้ไอเดียจากตรงนี้ด้วยอีกส่วน
ตอนแรกที่เลือกพืชมาปลูก ก็สนใจพืชอย่างข่า เพราะคิดว่าจะสามารถทำได้ แต่พอมาคิดดู ทดลองดูแล้ว ก็ได้พบว่า พอหักต้นทุน หักค่าใช้จ่ายนั้นนี่ ก็เหลือไม่เยอะแล้ว จึงไม่ได้ทำต่อ เปลี่ยนมาให้ความสนใจพืช อย่างมะเขือพวงแทน และเป็นที่น่าสนใจว่าตลาดยังมีความต้องการอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารแล้ว ยังเป็นพืชสมุนไพร ที่จะสามารถส่งขายไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางได้ อีกทั้งละแวกบ้านแถวนี้ เขาก็ทำสวน ปลูกสวนกล้วยกันเป็นส่วนมาก เราอยากแตกต่างจึงมาปลูกพืชอย่างมะเขือพวง”
จากงานสวนเพียง 1 ไร่ ที่เริ่มต้น มาสู่การทำสวน 40 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกมะเขือพวงมากกว่าปลูกพืชอย่างอื่นๆ อาทิ ปลูกตระไคร้ และข่า เป็นพืชเสริมเพียง 5 ไร่
การปลูกมะเขือพวง มีกระบวนการปลูกไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องดูแลเยอะเหมือนอย่างข่า รวมทั้งขั้นตอนการใส่ปุ๋ย แรงงานก็ไม่ยุ่งยากมาก แต่ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่ ขั้นตอนการเตรียมดินให้เหมาะสมกับการลงปลูก ซึ่งคุณศิริพร บอกว่า ในการปลูกพืชแต่ละชนิดมีความยากง่าย ไม่เหมือนกัน อย่างมะเขือพวง จะว่าปลูกง่ายก็ไม่ได้ง่าย จะว่าปลูกยากก็ไม่เชิง เพราะทุกการปลูกจะต้องมีการเรียนรู้ ศึกษาข้อมูลในการปลูก อีกอย่างเพราะตัวเราเองไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการเกษตร จึงทำให้ต้องเริ่มศึกษารายละเอียดในการปลูกตั้งแต่แรก และที่เลือกมะเขือพวงเพราะมองเห็นโอกาสทางการตลาด
ปลูกมะเขือพวง 3 เดือน เก็บขายได้
ปลูกครั้งเดียวอยู่นานเกือบ 10 ปี
มะเขือพวงเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 3 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว และหากดูแลดีๆ ก็จะสามารถมีอายุอยู่ได้นานถึงเกือบ 10 ปี เป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เป็นพืชทนแล้ง แต่ขาดน้ำไม่ได้ ซึ่งถ้าหากจะสังเกตในช่วงหน้าแล้ง ราคามะเขือพวงจะค่อนข้างดีมาก ไม่ชอบพื้นหลุมที่แฉะ เพราะไม่งั้นจะทำให้รากเน่า โคนเน่าได้ คุณศิริพร บอก
“ผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 100 กิโลกรัม การเก็บเกี่ยวก็จะเก็บทุกๆ 15 วัน คือ 1 เดือน เก็บได้ 2 ครั้ง แต่หากจะเก็บทุกวันก็สามารถทำได้ เพียงแต่มองว่ามันไม่ค่อยคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในช่วงที่เก็บเกี่ยว ทั้งค่าคนแรงคนงาน การดูแลต่างๆ อีก และผลผลิตก็จะไม่ได้เยอะ ไม่เพียงพอต่อการจะส่งขาย
เพราะเราส่งขายไปให้กับโรงงาน และตลาดกลางที่เขานำเอาไปเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ต่อไป โดยส่งเข้าโรงงาน สำหรับการส่งขายไปยังตลาดต่างประเทศร้อยละ 40 ส่วนตลาดการค้าขายภายในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 60 ซึ่งการส่งไปยังโรงงาน จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบสารเคมีค่อนข้างมาก ต้องเอามะเขือพวงไปตรวจสอบกับแล็บ เพื่อขอเอกสารการตรวจสารเคมี ให้ได้เอกสารรับรอง”
สำหรับรายได้จากหารขายมะเขือพวง ตระไคร้ และข่า ที่ปลูกอยู่ในสวนทำเงินได้ประมาณเดือนละ 250,000 -300,000 บาท เป็นรายได้ที่หักต้นทุนออกไปแล้ว
ส่วนวิธีการหาตลาด คุณศิริพร แนะนำว่า “เกษตรกรโดยทั่วไป เขามักทำตามกระแส ปลูกแห่ๆ ตามกันไป เห็นว่าอะไรแพงก็ปลูกกันไป ซึ่งแท้จริงแล้ว ควรต้องหาตลาด ศึกษาตลาดก่อนการปลูก เพราะอะไรก็ตามที่ปลูกกันมาก พอถึงฤดูกาลออกผลผลิต ก็จะออกพร้อมกัน ปริมาณสินค้าก็จะมีเยอะในท้องตลาด ราคาก็จะลง เพราะเกิดจากการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง และเกิดจากการที่คนปลูกไม่รู้ว่า ปลูกไปแล้วผลผลิตที่ได้จะมีใครมารับซื้อหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรในท้องตลาดถูกลง เพราะเราปลูกกันตามกระแส ดังนั้น 1. การปลูก เพื่อขายอะไรต้องรู้จักตลาด หาให้เจอเสียก่อนว่าจะปลูกอะไรไปขายที่ไหน 2. ต้องทำครบวงจร ควรเป็นทั้งผู้ผลิต ปลูกเอง ขายเอง ดูแลบริหารงานให้ไปถึงตลาดเอง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และที่สำคัญหากจะทำการเกษตรเพื่อส่งขายไปยังโรงงานต่างๆ จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานและสารเคมีให้ได้ ต้องทำการจดบันทึกรายละเอียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรส่วนมากไม่สามารถทำผลผลิตให้ได้มาตรฐานได้”
ขอบคุณข่าวจาก https://www.sentangsedtee.com/featured/article_31497