แชร์เก็บไว้เลย! ใครทำใครได้ สุดยอดวิธียืดอายุ 10 อวัยวะของเราให้แข็งแรง ไม่ป่วย

แชร์เก็บไว้เลย! ใครทำใครได้ สุดยอดวิธียืดอายุ 10 อวัยวะของเราให้แข็งแรง ไม่ป่วย

เห็นมีประโยชน์สำหรับทุกคน เลยนำมาให้อ่านอีกเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ใครทำใครได้

สุดยอดวิธียืดอายุ 10 อวัยวะ


เราเคยชินกับความรู้ที่ว่า อวัยวะจะเสื่อมไปตามเวลา วิธีการยืดอายุอวัยวะมีร้อยแปดพันประการ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ดร.โรแนน แฟคโทรา แห่งสถาบันการแพทย์ Cleveland Clinic ประเทศสหรัฐอเมริกา เด็ดยอดวิธียืดอายุอวัยวะต่างๆ ไว้ในนิตยสาร Times ดังนี้

1. สมอง

Fact:
หลังอายุ 70 ปี จะเริ่มพบความผิดปกติที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในคราวเดียว
How-to:
(1) นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์ (Neurobics Exercise) หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง ทำงานประสานกัน เช่น ทำสวน เย็บผ้า ทำกับข้าว ช่วยให้สมองทั้งซีกซ้ายและขวาได้รับการกระตุ้นและทำงานไปพร้อมกัน
(2) กิน ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช แหล่งสุดยอดสารอาหารบำรุงเป็นประจำ
(3) ฝึกเจริญสติก่อนนอน ใช้วิธีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก จนกว่าจะหลับ ช่วยลดความเครียดและทำให้สมองปลอดโปร่งในวันรุ่งขึ้น

2. ดวงตา

Fact:
หลังอายุ 40 ปี ต่อจากนั้น ทุกๆ ปี ดวงตา จอประสาตา เลนส์ตาจะเสื่อมลง ในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
How-to:
(1) สวมแว่นกันแดด ก่อนทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกครั้ง (2) ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ ควรพักสายทุกๆ 45 นาที อย่างน้อย 5-10 นาที
(3)งดใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอน

3. หู

Fact:
หลังอายุ 60 ปี การได้ยินจะค่อยๆ ลดลงทุกปี และทุกๆ 1 ใน 3 คนมีปัญหาเรื่องการได้ยินเมื่อเข้าสู่วัยนี้
How-to:
(1) หลีกเลี่ยงการทำงานหรืออาศัยอยู่ในที่ๆ มีเสียงดัง หากจำเป็นต้องใส่เครื่องป้องกัน
(2) งดสั่งน้ำมูกแรงๆ หรือ กลั้นจาม เพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูมีปัญหา
(3) งดแคะหูเอง เพราะขี้หูเป็นขี้ผึ้งรักษาความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ การแคะหูทำให้เกิดการอักเสบและเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้

4. ปอด

Fact:
หลังอายุ 30 ปี ต่อจากนั้น ทุกๆ ปี ประสิทธิภาพการทำงานของปอดจะลดลงราวร้อยละ 1
How-to:
(1) ว่ายน้ำ หรือ วิ่ง อย่างน้อยวันละ 45 นาที – 1 ชั่วโมง
(2) ใช้สมุนไพรไทยปรับธาตุ จิบยาตรีผลา ก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว มีสรรพคุณช่วยปรับธาตุ บำรุงปอด แก้ไอ ลดเสมหะได้
(3) หลีกเลี่ยง ควันธูป ควันจากการประกอบอาหาร ฝุ่นขนาดเล็ก และสารเคมีที่มีไอระเหยต่างๆ

5. หัวใจ

Fact:
หลังอายุ 65 ปี จะเริ่มมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจที่ลดลงสวนทางกับอัตราการหนาตัวของผนังหัวใจที่เพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 20-30 ปี เฉลี่ยทุกๆ 10 ปี อัตราการสูบฉีดโลหิตสูงสุดจะลดลงราวร้อยละ 10
How-to:
(1) งดอาหารหวาน มัน เค็ม รักษาความดันโลหิตและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (2) ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง โยคะ ร่วมถึงการยกน้ำหนัก ช่วยให้หัวใจทำงานต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง
(3) ปลูกต้นไม้ ไปทำกิจกรรมในสวนสาธารณะ หรือมีสัตว์เลี้ยง ผู้ที่มีงานอดิเรกเหล่านี้ มีความเสี่ยงโรคหัวใจน้อยกว่าคนทั่วไป

6. ไต

Fact:
หลังอายุ 50 ปี ไตจะเริ่มเสื่อมลงทีละน้อยๆ จนคุณแทบไม่รู้สึก
How-to:
(1) ดื่มน้ำให้เพียงพอ สถาบันการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine : IOM) ระบุว่า ผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป ต้องดื่มน้ำถึง 13 แก้วต่อวัน ขณะที่ผู้หญิงวัยเดียวกันต้องการน้ำวันละ 9 แก้ว
(2) งดปรุงแต่งรสอาหารโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล เกลือ หรือซอสต่างๆ
(3) ควบคุมน้ำหนักตัว และความดันโลหิตไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน

7. สำไส้

Fact:
หลังอายุ 60 ปี ปุ่มเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็กจะบางลง ร่างกายจึงดูดซึมสารอาหารได้น้อยลงตามไปด้วย
How-to:
(1) ย่อยง่าย กินปลา ถั่ว เห็ด รวมถึงผักผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารทอด (2) กินโยเกิร์ต 1 ถ้วยทุกวัน เสริมโปรไบโอติก เพิ่มปริมาณแบคทีเรียดีในลำไส้
(3) ฝึกโยคะ 4 ท่า ช่วยระบบย่อยทุกเช้าหลังตื่นนอน ดังนี้ ท่าแมว ท่าสุนัข ท่าสามเหลี่ยม ท่าสะพาน และปิดท้ายด้วยท่าศพ ครั้งละ 3-5 ลมหายใจ แต่ละท่าทำ 5 ครั้ง นับเป็น 1 เซ็ต

8. ผิวหนัง

Fact:
หลังอายุ 18 ปี ต่อจากนั้น ทุกๆ ปี คอลลาเจนและอิลาสตินในผิวหนังจะลดลงประมาณร้อยละ 1
How-to:
(1) ทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของไทเทเนียมหรือสังกะสีเป็นประจำ
(2) กินถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ตระกูลส้มและเบอร์รี่ เป็นประจำ
(3) มาร์คหน้าด้วยโยเกิร์ตผสมข้าวโอ๊ต หรือ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ เพื่อฟื้นฟูผิวหลังออกแดดเสมอ

9. กระดูก

Fact:
หลังอายุ 35 ปี ต่อจากนั้นทุกๆ ปีความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงราวร้อยละ 1 และจะมีอัตราลดลงเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (ในเพศหญิง)
How-to:
(1) ยกน้ำหนัก หรือ กระโดดขึ้น-ลง 20 ครั้ง วันละ 2 เซ็ต
(2) เพิ่มเมนูไทยๆ เปี่ยมแคลเซียม เช่น น้ำพริกกะปิปลาทูทอดกับผักสด อย่างน้อย 3-4 มื้อต่อสัปดาห์
(3) ระวังการใช้ยาสเตียรอยด์และยาลูกกลอนที่มีผลทำให้กระดูกพรุน

10. กล้ามเนื้อ

Fact:
หลังอายุ 40 ปี ต่อจากนั้นทุกๆ ปี มวลกล้ามเนื้อจะลดลงและเปลี่ยนเป็นไขมัน อัตรานั้นไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
How-to:
(1) วิดพื้น สวอท และยกน้ำหนักแต่ละท่าทำ 15 -20 ครั้ง นับเป็น 1เซ็ต ทำทุกวันอย่างน้อยครั้งละ 2 เซ็ต

สุดท้าย การกินอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง เช่น ผักหลากสี ผลไม้รสเปรี้ยว รสฝาดขม ช่วย
ชะลอกระบวนการเสื่อมของเซลล์ตามปกติได้ อย่าลืมเสริมด้วย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำสมาธิ และหาโอกาสออกไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ เพื่อลดความเครียด (ตัวการเร่งให้เกิดกระบวนการเสื่อมของเซลล์) เท่านี้ก็ช่วยยืดอายุให้อวัยวะต่างๆ ได้เช่นกัน

ที่มา: ขอขอบคุณ
รศ. ดร. ภญ. อรพรรณ มาตังคสมบัติ
อดีต คณบดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล