มูลนิธิชัยพัฒนา แก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง จ.ศรีสะเกษ
โครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร
สำหรับโครงการนี้ ก่อกำเนิดขึ้นจาก นายพิชัย ธรสาธิตกุล ประธานกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลท่าตูม ได้มีหนังสือที่ พิเศษ/2557 วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เพื่อขอพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการขุดลอกหน้าฝายตรอกล่าง (บริเวณลำห้วยหวะ) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร
จากนั้น กรมชลประทาน (โดยโครงการชลประทานศรีสะเกษ) ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ จุดดำเนินการอยู่ที่ บ้านตรอก ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในลำห้วยหวะ ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลุ่มน้ำห้วยสำราญ ฝายบ้านตรอกล่าง ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน ในปี พ.ศ.2533 (ทดแทนฝายประชาอาสาที่ก่อสร้างปี 2520 เดิมที่พังเสียหาย บริเวณหน้าฝายมีสภาพตื้นเขิน จากตะกอนทรายหน้าฝายจำนวนมากทำให้การเก็บกักน้ำได้น้อย เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร
โครงการชลประทานศรีสะเกษ ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) วงเงินงบประมาณ 2,898,000 บาท เพื่อดำเนินการขุดลอกหน้าฝายบ้านตรอกล่าง พร้อมท่อลอดรับน้ำ 2 แห่ง
ในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 10.10 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการวิถีชีวิตชาวบ้าน และทรงติดตามการดำเนินโครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง
ในการนี้ ทรงปล่อยพันธุ์ปลา 6 ชนิด ได้แก่ ปลาสวาย, ปลาเทโพ, ปลากระแห, ปลาสร้อยขาว, ปลาตะเพียนทอง และปลาตะเพียนขาว รวมจำนวน 99 ตัว ลงสู่ฝายน้ำบ้านตรอกล่าง เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
หลังจากดำเนิน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการขุดลอกหน้าฝายตรอกล่าง บริเวณลำห้วยหวะ แล้วเสร็จ สามารถ เพิ่มปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ 112,000 ลูกบาศก์เมตร , ราษฎรในพื้นที่ตำบลตูม 200 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์ , ช่วยเหลือพื้นที่เกษตร 500 ไร่ , ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย เนื่องจากมีลักษณะเป็นแก้มลิง ช่วยชะลอการไหลของน้ำในลำห้วยสำราญก่อนถึงเทศบาล เมืองศรีสะเกษ , เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาประมงน้ำจืด , เป็นแหล่งหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีจำนวนมาก และ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง
ที่มา http://travel.thaiza.com
โครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรในพื้นที่ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร
สำหรับโครงการนี้ ก่อกำเนิดขึ้นจาก นายพิชัย ธรสาธิตกุล ประธานกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลท่าตูม ได้มีหนังสือที่ พิเศษ/2557 วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เพื่อขอพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการขุดลอกหน้าฝายตรอกล่าง (บริเวณลำห้วยหวะ) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎร
จากนั้น กรมชลประทาน (โดยโครงการชลประทานศรีสะเกษ) ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ จุดดำเนินการอยู่ที่ บ้านตรอก ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในลำห้วยหวะ ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลุ่มน้ำห้วยสำราญ ฝายบ้านตรอกล่าง ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน ในปี พ.ศ.2533 (ทดแทนฝายประชาอาสาที่ก่อสร้างปี 2520 เดิมที่พังเสียหาย บริเวณหน้าฝายมีสภาพตื้นเขิน จากตะกอนทรายหน้าฝายจำนวนมากทำให้การเก็บกักน้ำได้น้อย เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร
โครงการชลประทานศรีสะเกษ ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) วงเงินงบประมาณ 2,898,000 บาท เพื่อดำเนินการขุดลอกหน้าฝายบ้านตรอกล่าง พร้อมท่อลอดรับน้ำ 2 แห่ง
ในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 10.10 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการวิถีชีวิตชาวบ้าน และทรงติดตามการดำเนินโครงการฝายน้ำบ้านตรอกตอนล่าง
ในการนี้ ทรงปล่อยพันธุ์ปลา 6 ชนิด ได้แก่ ปลาสวาย, ปลาเทโพ, ปลากระแห, ปลาสร้อยขาว, ปลาตะเพียนทอง และปลาตะเพียนขาว รวมจำนวน 99 ตัว ลงสู่ฝายน้ำบ้านตรอกล่าง เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
หลังจากดำเนิน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการขุดลอกหน้าฝายตรอกล่าง บริเวณลำห้วยหวะ แล้วเสร็จ สามารถ เพิ่มปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ 112,000 ลูกบาศก์เมตร , ราษฎรในพื้นที่ตำบลตูม 200 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์ , ช่วยเหลือพื้นที่เกษตร 500 ไร่ , ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย เนื่องจากมีลักษณะเป็นแก้มลิง ช่วยชะลอการไหลของน้ำในลำห้วยสำราญก่อนถึงเทศบาล เมืองศรีสะเกษ , เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาประมงน้ำจืด , เป็นแหล่งหากินของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีจำนวนมาก และ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง
ที่มา http://travel.thaiza.com