Home »
Uncategories »
หลวงพ่อเกษร พระหมอของชาวฉะเชิงเทรา บริวารหลวงพ่อโสธร
หลวงพ่อเกษร พระหมอของชาวฉะเชิงเทรา บริวารหลวงพ่อโสธร
หลายคนคงเคยได้ยินตำนานของ หลวงพ่อโสธร
มาแล้วบ้าง ถ้าพูดถึงในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์แล้ว เรียกได้ว่า
ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว หลวงพ่อโสธร
นับได้ว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยเลยทีเดียว
หากใครได้กราบไหว้ก็จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
นอกจากนี้ยังมี หลวงพ่อเกษร หากพูดถึงชื่อนี้หลายคนไม่ค่อยคุ้นหูนัก
แต่หากพูดถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน หลวงพ่อเกษร
เป็นพระพุทธรูปที่ด้านหลังองค์พระหลวงพ่อโสธร
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติมาช้านาน เหมือนกัน
ชาวฉะเชิงเทราเรียกว่า พระหมอ เพราะหากเจ็บป่วยให้ไปขอพรจากท่าน
ก็จะหายเจ็บ หายป่วย ได้ ซึ่งนี่ก็เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล

หลวงพ่อเกษร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก พุทธศิลป์แบบเขมร
ทำมาจากศิลาหรือหิน สูงประมาณ 2 ศอก
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ 5
โดยได้ประดิษฐานบนฐานชุกชีแถวหน้าขวามือสุดของหลวงพ่อพระพุทธโสธร
ในโบสถ์วัดโสธร หลวงพ่อเกษร
เป็นพระบริวารของหลวงพ่อพระพุทธโสธร มีอานุภาพในเรื่องของการเมตตารักษาโรค
ให้หายและทุเลาลงไป ถือได้ว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร
จึงได้ถวายนามหลวงพ่อเกษรว่าเป็น พระหมอ
ในปัจจุบันได้ถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานด้านหลังซ้ายมือขององค์หลวงพ่อพระพุทธโสธร
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเกิดความเป็นระเบียบขององค์พระปฏิมากรที่ประดิษฐานบนฐานชุกชี
ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเกษร นั้น
ก็เกิดจากการที่มีคนมาไหว้หลวงพ่อพุทธโสธร
แล้วบนบานศาลกล่าวต่อหลวงพ่อเกษรให้หายจากโรคต่างๆที่กำลังระบาดอยู่ เช่น
โรคห่า และโรคฝีดาษ หรือโรคภัยไข้เจ็บทั้งที่หนักบ้างเบาบ้าง
ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะหายจากโรคนั้น จนกลายเป็นที่เรียกขานของชาวบ้านกันว่า
พระหมอ และมาหายจากโรคร้ายแล้ว ก็จะพากันนำเอาสิ่งของมาถวายหลวงพ่อเกษรต่าง
ๆเช่น น้ำมะพร้าวอ่อนและจีบหมากจีบพลู 9 คำ เป็นต้น
สำหรับประวัตินั้น
มีเรื่องเล่าสืบเนื่องกันมาว่า
มีชายสูงอายุผู้หนึ่งศรัทธาและตั้งใจเดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อโสธร
ได้พบเห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกและได้ยกมือไหว้
ก่อนขึ้นรถไฟจากสถานีมักกะสันมาแปดริ้ว
ระหว่างทางได้ยินเจ้าหน้าที่รถไฟบ่นว่า
ไม่น่าเอาพระพุทธรูปมาวางใกล้บันไดเลย ชายสูงอายุก็ไม่ได้สนใจอะไร
ครั้นมาถึงวัดโสธรก็เกิดอัศจรรย์ใจที่ได้พบเห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกเหมือนกับองค์ที่ยกมือไหว้
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถอยู่แล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://muangcha.com
ขอบคุณภาพจาก : Mod Jpt Chanathip