ณ ครั้งพุทธกาล… พระพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่กลางป่า ช่วงปลายฝน ต้นหนาว
มีชายคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพ เป็นคนเลี้ยงโค (นายโคบาล)
ได้มาพบเข้ากับพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่ทราบว่าเป็น พระพุทธองค์ จึงเข้าไปถามว่า
นายโคบาล : “ขอโทษขอรับ ท่านเป็นใคร ?”
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสตอบว่า : “เรา ตถาคต”
นายโคบาล ตกใจ บอกว่า : “พระองค์มานั่งอยู่กลางป่าได้อย่างไร พระองค์มีความสุขไหม ?”
พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสตอบว่า : “เธอรู้ไหม ในบรรดาคนที่มีความสุขที่สุดในโลก ฉันเป็นหนึ่งในนั้น”
นายโคบาลได้ยินพระดำรัสเช่นนั้น ถึงกับตัวชาและมีความปิติ ด้วยอำนาจของพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า : “เธอกำลัง ทำอะไร”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “กระหม่อมฉัน ตามหาวัว 16 ตัว ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า : “แล้วตอนนี้ วัว อยู่ไหน”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “วัวหาย ทั้งหมดเลยขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า : “เธอ คิดว่าฉันมีวัวไหม?”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “ไม่มี ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า : “คน ไม่มีวัวอย่างฉัน มีโอกาสทุกข์เพราะไม่มีวัวไหม ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “ไม่มี ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสว่า : “เห็นไหมว่า คนมีวัว ทุกข์เพราะวัว คนไม่มีวัว ก็ไม่ทุกข์”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “ในเมืองนี้ ใครมีอำนาจ มีเงินทองมากที่สุด ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “พระเจ้าพิมพิสาร ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “พระเจ้าพิมพิสาร มีอำนาจเงินทองที่สุดในเมือง มานั่งเล่นกลางป่าอย่างฉัน ได้ไหม”
นายโคบาล ตอบว่า : “ไม่ได้ ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “ก็มีอำนาจ เงินทองขนาดนั้น ทำไมมานั่งเล่นอย่างฉันไม่ได้ ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “ถ้าพระเจ้าพิมพิสาร ออกมานั่งเล่นชายป่า อย่างพระองค์ ก็จะถูกปฏิวัติได้ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสส่งท้ายว่า : “เห็นไหม ระหว่างฉันกับพระเจ้าพิมพิสาร ใครมีความสุขกว่ากัน”
นายโคบาล ตอบกลับอย่างแจ้งในปัญญา : “พระพุทธองค์ ขอรับ”
พระพุทธศาสนา สอนว่า วิถีแห่งความสุขไม่ได้อยู่ที่ความมี หรือ ความจน อยู่ที่เรา ยินดีในสิ่งที่มี รู้จักพอดีในสิ่งที่ได้ เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
โค 16 ตัว ที่ทุกคนเลี้ยงไว้ มีตั้งแต่ พระราชา เศรษฐี ประชาราษฎร์ทั่วไป พ่อค้า ฯลฯ พระพุทธเจ้าไม่มี พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มี พระอรหันต์ไม่มี
พระอนาคา พระสกิทาคา พระโสดาบัน มีน้อย ปุถุชนทั่วไปมีมากหนาแน่น … เรียกว่า # อุปกิเลส 16
อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่ทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง
อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการ คือ
- ความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่
- ความพยาบาท
- ความโกรธ
- ความผูกเจ็บใจ
- ความลบหลู่บุญคุณ
- ความตีเสมอ
- ความริษยา
- ความตระหนี่
- ความเจ้าเล่ห์
- ความโอ้อวด
- ความหัวดื้อถือรั้น
- ความแข่งดี
- ความถือตัว
- ความดูหมิ่น
- ความมัวเมา
- ความประมาทเลินเล่อ ดังนี้แล
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก : Dhammasb และ chonburipost
นายโคบาล : “ขอโทษขอรับ ท่านเป็นใคร ?”
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสตอบว่า : “เรา ตถาคต”
นายโคบาล ตกใจ บอกว่า : “พระองค์มานั่งอยู่กลางป่าได้อย่างไร พระองค์มีความสุขไหม ?”
พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสตอบว่า : “เธอรู้ไหม ในบรรดาคนที่มีความสุขที่สุดในโลก ฉันเป็นหนึ่งในนั้น”
นายโคบาลได้ยินพระดำรัสเช่นนั้น ถึงกับตัวชาและมีความปิติ ด้วยอำนาจของพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า : “เธอกำลัง ทำอะไร”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “กระหม่อมฉัน ตามหาวัว 16 ตัว ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า : “แล้วตอนนี้ วัว อยู่ไหน”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “วัวหาย ทั้งหมดเลยขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า : “เธอ คิดว่าฉันมีวัวไหม?”
นายโคบาล ตอบกลับไปว่า : “ไม่มี ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า : “คน ไม่มีวัวอย่างฉัน มีโอกาสทุกข์เพราะไม่มีวัวไหม ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “ไม่มี ขอรับ”
พระพุทธองค์ ตรัสว่า : “เห็นไหมว่า คนมีวัว ทุกข์เพราะวัว คนไม่มีวัว ก็ไม่ทุกข์”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “ในเมืองนี้ ใครมีอำนาจ มีเงินทองมากที่สุด ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “พระเจ้าพิมพิสาร ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “พระเจ้าพิมพิสาร มีอำนาจเงินทองที่สุดในเมือง มานั่งเล่นกลางป่าอย่างฉัน ได้ไหม”
นายโคบาล ตอบว่า : “ไม่ได้ ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ : “ก็มีอำนาจ เงินทองขนาดนั้น ทำไมมานั่งเล่นอย่างฉันไม่ได้ ?”
นายโคบาล ตอบว่า : “ถ้าพระเจ้าพิมพิสาร ออกมานั่งเล่นชายป่า อย่างพระองค์ ก็จะถูกปฏิวัติได้ขอรับ”
พระพุทธเจ้า ตรัสส่งท้ายว่า : “เห็นไหม ระหว่างฉันกับพระเจ้าพิมพิสาร ใครมีความสุขกว่ากัน”
นายโคบาล ตอบกลับอย่างแจ้งในปัญญา : “พระพุทธองค์ ขอรับ”
พระพุทธศาสนา สอนว่า วิถีแห่งความสุขไม่ได้อยู่ที่ความมี หรือ ความจน อยู่ที่เรา ยินดีในสิ่งที่มี รู้จักพอดีในสิ่งที่ได้ เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
โค 16 ตัว ที่ทุกคนเลี้ยงไว้ มีตั้งแต่ พระราชา เศรษฐี ประชาราษฎร์ทั่วไป พ่อค้า ฯลฯ พระพุทธเจ้าไม่มี พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มี พระอรหันต์ไม่มี
พระอนาคา พระสกิทาคา พระโสดาบัน มีน้อย ปุถุชนทั่วไปมีมากหนาแน่น … เรียกว่า # อุปกิเลส 16
อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่ทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง
อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการ คือ
- ความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่
- ความพยาบาท
- ความโกรธ
- ความผูกเจ็บใจ
- ความลบหลู่บุญคุณ
- ความตีเสมอ
- ความริษยา
- ความตระหนี่
- ความเจ้าเล่ห์
- ความโอ้อวด
- ความหัวดื้อถือรั้น
- ความแข่งดี
- ความถือตัว
- ความดูหมิ่น
- ความมัวเมา
- ความประมาทเลินเล่อ ดังนี้แล
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก : Dhammasb และ chonburipost