3 ท่าบริหารแก้และป้องกันอาการนิ้วล๊อค ปวดนิ้ว ปวดข้อนิ้ว

3 ท่าบริหารแก้และป้องกันอาการนิ้วล๊อค ปวดนิ้ว ปวดข้อนิ้ว


ยุคโซเชียลมีเดียกำลังเป็นที่นิยมทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน คงจะปฎิเสธว่าการอัพเดพข่าวสารหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ อีกมากมายที่เราสามารถทำได้ในโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว แต่…เมื่อคุณใช้นิ้วมือจิ้มหน้าจอมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคนิ้วล็อกมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นเราจึงมีท่าบริหารมือและนิ้วมาฝาก ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยจ้า

สุขภาพนิ้วก็เป็นเรื่องสำคัญการบริหารนิ้วมือแบบง่ายๆ ก็สามารถช่วยให้คุณห่างไกลโรคนิ้วล็อคได้แล้วล่ะค่ะ

การป้องกันอาการนิ้วล๊อค

1. ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้

2. ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ

3. นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ และไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานาน

4. เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น

5. ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น

6. คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก

7. หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว

8. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที

9.ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่น และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น

10.ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น