ถึงเวลาหายโง่เสียที ! มิน่าทำไมแอร์ไม่เย็น แต่ค่าไฟพุ่งปรี๊ด...ที่แท้มีความลับอยู่บนปุ่มรีโมทนี่เอง
เข้ามาอ่านเร็วๆ เข้า เมื่ออ่านจบแล้วก็รีบๆ ช่วยกันแชร์ด้วยนะ ถ้าเรารู้ความลับที่ซ่อนอยู่บนปุ่นรีโมทแอร์แล้วล่ะก็ จะได้ไม่เสียรู้เสียเงินค่าไฟแพงๆ อีกต่อไป
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แอร์มีหน้าที่ปรับอุณณหภูมิในห้องให้ลดลงและคงที่ นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการควบคุมความชื่นอีกด้วย แต่หลักๆ แล้วเราก็ใช้แอร์เพื่อความเย็น ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจพื้นฐานของปุ่มการทำงานบนรีโมทซะก่อน ว่าแอร์ที่ถูกผลิตมานั้นมีโหมดการทำงานของมัน ถ้าเราตั้งโหมดไหนเอาไว้ มันก็จะจดและทำงานตามโหมดนั้นไปเรื่อยๆ ตลอดการทำงาน กระทั่งเปลี่ยนโหมดใหม่นั่นเอง
บางบ้านที่มีคนแก่อยู่ด้วยอาจจะเผลอไปโดนโหมดการทำงานที่เพี้ยนไปจากเดิม ส่งผลให้แอร์ไม่เย็น ยิ่งเร่งก็ยิ่งไม่เย็นจนต้องส่งช่างมาซ่อม ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เป็นอะไรเลย เพียงแต่ผู้สูงอายุไม่เข้าใจการปรับเปลี่ยนของระบบการทำงาน โดยพื้นฐานแล้วแอร์จะมีอยู่ 4 โหมดด้วยกันคือ Auto, fan, cool, สำหรับรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะระบบอินเวอร์เตอร์จะมีฟังชั่นเสริมเข้ามา คือระบบ Heat นั่นเอง วันนี้เราจึงมาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กับระบบต่างๆ เพื่อที่จะได้เลือกใช้งานได้ถูกประเภท
Auto
ระบบนี้จะทำการปรับอุณหภูมิให้เราอัตโนมัติ ทั้งเรื่องความเย็นและเรื่องพัดลม โหมดนี้จะทำการสลับไปมาระหว่าง Cool กับ Dry หมายถึง ถ้าเราเซ็ทอุณหภูมิเอาไว้ที่ 24องศา แต่ในขณะนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 25 องศา ระบบนี้ก็จะปรับอุณหภูมิให้เราเอง จริงๆ การทำงานของระบบ Auto ค่อนข้างซับซ้อน แต่ไม่มีประโยชน์อะไรกับเราสักเท่าไหร่
Cool
ระบบนี้ถูกใช้งานมากที่สุดในบ้านเรา เนื่องจากระบบนี้เราสามารถปรับอุณหภูมิได้ตามใจจนกว่าเราจะพอ เมื่อเรากดปุ่มปุ๊บความเย็นและพัดลมจะทำงานทันที การออกแบบปุ่มcool สำหรับเมืองหนาวที่มีระยะยาวนานนั้นจะถูกใช้ปุ่มนี้แค่ช่วงหน้าร้อนสั้นๆ แต่สำหรับบ้านเราหน้าร้อนยาวนาน จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปุ่มนี้จึงถูกใช้มากที่สุด
Dry
โหมดนี้ถ้าไม่ได้อยู่ในห้องที่จำเป็นต้องควบคุมความชื้นก็ถือว่าไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ สำหรับการทำงานของโหมดนี้คือ โหมดการทำงานแบบ Dry หรือโหมดลดความชื้น ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์รูปหยดน้ำ เมื่อกดปุ่มแล้วผู้ใช้งานจะไม่สามารถปรับตั้งอุณหภูมิได้ และแอร์จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องลดความชื้นในอากาศ จนความชื้นในอากาศพากันมาควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ไหลออกไปตามท่อน้ำทิ้ง
Fan
โหมดนี้เราไม่ค่อยใช้กันเนื่องจาก เมื่อเปิดแล้วจะตัดความเย็นจากน้ำยาแอร์ออกไป แต่ประโยชน์ของมันคือ ช่วยลดกลิ่นอันไมพึงประสงค์ได้ สมมุติว่าคุณต้องการขจัดกลิ่นอับคุณสามารถเปิดโหมด fan ทิ้งเอาไว้ 15-20 นาทีก่อนปิด สำหรับการทำงานของโหมดนี้คือ
เมื่อกดปุ่มแล้วผู้ใช้งานก็สามารถปรับความเร็วพัดลมได้ แต่ไม่สามารถตั้งอุณหภูมิได้ และลมที่พัดออกมาก็ไม่ใช่ลมความเย็น
Heat
โหมดนี้จะแทนด้วยรูปพระอาทิตย์ คือ จะช่วยเพิ่มความร้อนให้กับห้อง ทำหน้าที่สวนทางกับแอร์ทั่วๆ ไป ปุ่มนี้จะมีเฉพาะแอร์รุ่นท็อปแพงๆ เท่านั้น แต่ก็ถือว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน ขนาดภาคเหนือที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ยังมีฤดูหนาวระยะสั้นๆ เท่านั้นเอง ฉะนั้นปุ่มนี้จึงดูไม่ค่อยมีความสำคัญสำหรับเมืองไทยสักเท่าไหร่
เอาล่ะ เมื่อเราเข้าใจการทำงานของแต่ละโหมดบนมือถือแล้วเราก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่ร้อนจัดแต่เผลอกดผิดเป็นปุ่มHeat เร่งอุณหภูมิเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น แบบนี้นอกจากจะเสียค่าไฟแล้ว ความดันก็อาจจะพุ่งกระฉูดจนเจ็บป่วยได้เหมือนกันนะ ถ้าใครเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ช่วยกันแชร์บอกต่อโลดจ้า
ที่มา...http://www.detsood.com/3025-content/
เข้ามาอ่านเร็วๆ เข้า เมื่ออ่านจบแล้วก็รีบๆ ช่วยกันแชร์ด้วยนะ ถ้าเรารู้ความลับที่ซ่อนอยู่บนปุ่นรีโมทแอร์แล้วล่ะก็ จะได้ไม่เสียรู้เสียเงินค่าไฟแพงๆ อีกต่อไป
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แอร์มีหน้าที่ปรับอุณณหภูมิในห้องให้ลดลงและคงที่ นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการควบคุมความชื่นอีกด้วย แต่หลักๆ แล้วเราก็ใช้แอร์เพื่อความเย็น ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจพื้นฐานของปุ่มการทำงานบนรีโมทซะก่อน ว่าแอร์ที่ถูกผลิตมานั้นมีโหมดการทำงานของมัน ถ้าเราตั้งโหมดไหนเอาไว้ มันก็จะจดและทำงานตามโหมดนั้นไปเรื่อยๆ ตลอดการทำงาน กระทั่งเปลี่ยนโหมดใหม่นั่นเอง
บางบ้านที่มีคนแก่อยู่ด้วยอาจจะเผลอไปโดนโหมดการทำงานที่เพี้ยนไปจากเดิม ส่งผลให้แอร์ไม่เย็น ยิ่งเร่งก็ยิ่งไม่เย็นจนต้องส่งช่างมาซ่อม ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เป็นอะไรเลย เพียงแต่ผู้สูงอายุไม่เข้าใจการปรับเปลี่ยนของระบบการทำงาน โดยพื้นฐานแล้วแอร์จะมีอยู่ 4 โหมดด้วยกันคือ Auto, fan, cool, สำหรับรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะระบบอินเวอร์เตอร์จะมีฟังชั่นเสริมเข้ามา คือระบบ Heat นั่นเอง วันนี้เราจึงมาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กับระบบต่างๆ เพื่อที่จะได้เลือกใช้งานได้ถูกประเภท
Auto
ระบบนี้จะทำการปรับอุณหภูมิให้เราอัตโนมัติ ทั้งเรื่องความเย็นและเรื่องพัดลม โหมดนี้จะทำการสลับไปมาระหว่าง Cool กับ Dry หมายถึง ถ้าเราเซ็ทอุณหภูมิเอาไว้ที่ 24องศา แต่ในขณะนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 25 องศา ระบบนี้ก็จะปรับอุณหภูมิให้เราเอง จริงๆ การทำงานของระบบ Auto ค่อนข้างซับซ้อน แต่ไม่มีประโยชน์อะไรกับเราสักเท่าไหร่
Cool
ระบบนี้ถูกใช้งานมากที่สุดในบ้านเรา เนื่องจากระบบนี้เราสามารถปรับอุณหภูมิได้ตามใจจนกว่าเราจะพอ เมื่อเรากดปุ่มปุ๊บความเย็นและพัดลมจะทำงานทันที การออกแบบปุ่มcool สำหรับเมืองหนาวที่มีระยะยาวนานนั้นจะถูกใช้ปุ่มนี้แค่ช่วงหน้าร้อนสั้นๆ แต่สำหรับบ้านเราหน้าร้อนยาวนาน จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปุ่มนี้จึงถูกใช้มากที่สุด
Dry
โหมดนี้ถ้าไม่ได้อยู่ในห้องที่จำเป็นต้องควบคุมความชื้นก็ถือว่าไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ สำหรับการทำงานของโหมดนี้คือ โหมดการทำงานแบบ Dry หรือโหมดลดความชื้น ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์รูปหยดน้ำ เมื่อกดปุ่มแล้วผู้ใช้งานจะไม่สามารถปรับตั้งอุณหภูมิได้ และแอร์จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องลดความชื้นในอากาศ จนความชื้นในอากาศพากันมาควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ไหลออกไปตามท่อน้ำทิ้ง
Fan
โหมดนี้เราไม่ค่อยใช้กันเนื่องจาก เมื่อเปิดแล้วจะตัดความเย็นจากน้ำยาแอร์ออกไป แต่ประโยชน์ของมันคือ ช่วยลดกลิ่นอันไมพึงประสงค์ได้ สมมุติว่าคุณต้องการขจัดกลิ่นอับคุณสามารถเปิดโหมด fan ทิ้งเอาไว้ 15-20 นาทีก่อนปิด สำหรับการทำงานของโหมดนี้คือ
เมื่อกดปุ่มแล้วผู้ใช้งานก็สามารถปรับความเร็วพัดลมได้ แต่ไม่สามารถตั้งอุณหภูมิได้ และลมที่พัดออกมาก็ไม่ใช่ลมความเย็น
Heat
โหมดนี้จะแทนด้วยรูปพระอาทิตย์ คือ จะช่วยเพิ่มความร้อนให้กับห้อง ทำหน้าที่สวนทางกับแอร์ทั่วๆ ไป ปุ่มนี้จะมีเฉพาะแอร์รุ่นท็อปแพงๆ เท่านั้น แต่ก็ถือว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน ขนาดภาคเหนือที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ยังมีฤดูหนาวระยะสั้นๆ เท่านั้นเอง ฉะนั้นปุ่มนี้จึงดูไม่ค่อยมีความสำคัญสำหรับเมืองไทยสักเท่าไหร่
เอาล่ะ เมื่อเราเข้าใจการทำงานของแต่ละโหมดบนมือถือแล้วเราก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่ร้อนจัดแต่เผลอกดผิดเป็นปุ่มHeat เร่งอุณหภูมิเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น แบบนี้นอกจากจะเสียค่าไฟแล้ว ความดันก็อาจจะพุ่งกระฉูดจนเจ็บป่วยได้เหมือนกันนะ ถ้าใครเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ช่วยกันแชร์บอกต่อโลดจ้า
ที่มา...http://www.detsood.com/3025-content/