น่าสน ใครเป็นโรคเบาหวานอยู่ ให้กิน 9 สมุนไพรชนิดนี้ แล้วจะได้ผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์

ใครเป็นโรคเบาหวานอยู่ ให้กิน 9 สมุนไพรชนิดนี้ แล้วจะได้ผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์

ช้าพลู (Wild Pepper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper  sarmentosum Roxb. Hunter ชื่อวงศ์ Piperaceae จัดเป็น สมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแนะนำผู้ป่วยเบาหวาน  เนื่องจากมีสรรพคุณดังนี้

1. สารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก  

2. อุดมไปด้วยแคลเซียม  วิตามินเอ  วิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก

3. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

4. ไม่มีผลในการลดน้ำตาลในคนปกติอีกด้วย

ตำรับยาพื้นบ้านในไทยใช้ช้าพลูทั้งห้าต้ม (ทั้งต้นจนถึงราก)  แก้เบาหวาน  ซึ่งมีการศึกษาโดยต้ม ช้าพลูทั้งห้าแล้วทดสอบในกระต่ายพบว่า  ช้าพลูต้มสามารถช่วยลดน้ำตาลได้ดีในกระต่ายที่เป็นเบาหวาน  แต่ไม่ลดในกระต่ายปกติ

วิธีการ

1. นำช้าพลูทั้งห้า 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 ขัน  

2. เคี่ยวให้เหลือ 1 ขัน  

3. กินครั้งละครึ่งแก้วกาแฟ ก่อนอาหาร ๑ มื้อ

มะระขี้นก (Bitter Cucumber)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.  ชื่อวงศ์ Cucurbitaceae   เป็นสมุนไพรที่ปลูกง่าย ยอดอ่อน  ผลอ่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้ มีสรรพคุณดังนี้

1. อุดมไปด้วยวิตามินเอและซีสูง

2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือดพบว่าสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของน้ำคั้น  ชาชง  

3. กระตุ้นการหลั่งอินซูลินยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส อ

4. เพิ่มการใช้กลูโคสของตับ  โดยองค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  คือ p-lnsulin , Charantin และ Visine ตำรับยาพื้นบ้านในไทยน้ำคั้นสดมะระขี้นก  

วิธีการ

1. นำผลมะระขี้นกสด 8-10 ผล เอาเมล็ดในออก  

2. ใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ประมาณ 100 มล.)  หรือกินทั้งกาก  แบ่งกินวันละ  3 เวลาต่อเนื่อง

ตำรับยาพื้นบ้านในไทยชามะระขี้นก

วิธีการ

1. นำเนื้อมะระขี้นกผลเล็กซึ่งมีตัวยามากมาผ่าเอาแต่เนื้อ  

2. หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  ตากแดดให้แห้ง

3. ชงกับน้ำเดือดโดยใช้มะระขี้นก 1-2 ชิ้น  ต่อน้ำ 1 ถ้วย  ดื่มแบบชาครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา  หรือต้มเอาน้ำมาดื่มหรือใส่กระติกน้ำร้อนดื่มแทนน้ำไม่เกิน 1 เดือน เห็นผล

ตำรับยาพื้นบ้านในไทยแคปซูลหรือลูกกลอนมะระขี้นก  

วิธีการกิน 1. ให้กินแคปซูลหรือลูกกลอนมะนะขี้นก  500-1,000 มก.  วันละ 1-2  ครั้ง

คำเตือน: คนท้อง เด็ก  และคนที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน

เตยหอม (Pandan) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb.  ชื่อวงศ์ Pandanaceae มีสรรพคุณดังนี้

1. มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือก  

2. ลดความดันโลหิต  

3. ลดอัตราการเต้นของหัวใจ  

4. ขับปัสสาวะ  แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกในเมืองไทย

วิธีการ

1. นำรากเตยหอมประมาณ 1 ขีด สับเป็นท่อนเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร

2. เมื่อเดือดแล้ว จากนั้นเคี่ยวต่อประมาณ 15-20 นาที นำยาที่ได้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว  วันละ 3  ครั้ง   หรือ

1. นำใบเตยร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นโดยนำใบเตยหอม  32 ใบ ใบสัก 9 ใบ  

2. นำมาหั่นตากแดด  แล้วชงดื่มแบบชา  หรือใส่หม้อดินต้ม  กินเป็นยาต่างน้ำทุกวัน ควรกินอย่างน้อย 1 เดือน

กะเพรา (Holy Basil)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L. ชื่อวงศ์ Labiatae  มีสรรพคุณดังนี้

1. มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  รักษาหืด  

2. ต้านความเครียด  

3. ยับยั้งการเกิดมะเร็ง  

4. ต้านฮิสทามีน  

5. ต้านอนุมูลอิสระ

6. ต้านการอักเสบ แก้ไข้  แก้ปวด  

7. ลดคอเลสเตอรอล  

8. ลดน้ำตาลในเลือด  

9. เซลล์ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น  

วิธีการ (เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานเล็กน้อยถึงปานกลาง)

1. นำผงใบกะเพรามาทำเป็นชา  โดยใช้ประมาณ 1 ช้อนชา  กับน้ำร้อน 1  ถ้วย  ดื่มวันละ 2  ครั้ง

2. แคปซูลกะเพรา ให้กินวันละ  2.5  กรัมต่อวัน  

3. น้ำมันกะเพรา  2-5  หยด ต่อวัน คำเตือน:  ไม่ควรใช้กะเพราในคนท้องและหญิงให้นมบุตร

ตำลึง (lvy gourd) ชื่อวิทยาศาสตร์  Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อวงศ์ CuCurbitaceae สามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็น ใบ ราก ผลมีสรรพคุณดังนี้

1. อุดมไปด้วยวิตามินเอสูงมาก  รองมาจากใบยอ  แมงลัก  โหระพา  

2. อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงกว่ามะนาว (วิตามินซี 30  มก. ต่อ 100 ก. มะนาวมี 20 มก.)

3. อุดมไปด้วยวิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวหนัง  มีธาตุเหล็ก  ช่วยบำรุงเลือด

4. ช่วยระบายเพราะมีกากใยสูง

วิธีการ

1. นำยอดตำลึง 1 กำมือ  หรือขนาดที่กินพออิ่ม

2. โรยเกลือ  หรือ เหยาะน้ำปลา (เพื่อความอร่อย)  

3. ห่อด้วยใบตองเผาไฟจนสุก  แล้วกินให้หมดหรือกินจนอิ่ม  กินก่อนนอนติดต่อกัน 3 เดือน

ว่านหางจระเข้ (Aloe)  ชื่อวิทยาศาสตร์  Aloe vera Linn.  ชื่อวงศ์ Aloaceae  มีสรรพคุณดังนี้

1. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด 

2. กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย   วิธีการ

1. กินเนื้อว่านหางจระเข้สดวันละ 15 กรัม  ติดต่อกันอย่างน้อย  4 สัปดาห์

อบเชยจีน (Chainese Chinnamon) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl /  Chinnamonmum aromaticum nees  ชื่อวงศ์ Lauraceae มีสรรพคุณดังนี้

1. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  โดยพบว่าในอบเชยมีวาร Methylhydroxy  Chalone Polymer (MHCP) ที่ทำให้เซลล์ไขมันตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้น  จึงเป็นเหตุผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด  

2. ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์  ลดไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล)  และลดคอเลสเตอรอลได้ด้วย

วิธีการ

1. นำผงอบเชยจีนประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน  แบ่งเป็นเช้าครึ่งช้อนชา  เย็นครึ่งช้อนชา กินกับเครื่องดื่ม เช่น นม  โอวัลติน  ชา  กาแฟ  โยเกิร์ต   หรือ

2. บรรจุแคปซูลกิน ควรกินติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน นอกจากนี้  เพียงเอาชิ้นอบเชยแช่ในถ้วยชาก็สามารถใช้ลดน้ำตาลได้  

อินทนิลน้ำ (Queen’s Flower)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia  speciosa (L.) Pers.  ชื่อวงศ์ Lythraceae  มีสรรพคุณดังนี้

1. มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีสาระสำคัญชื่อ Corosolic acid  ออกฤทธิ์เหมือนอินซูลิน  จัดเป็นอินซูลินจากธรรมชาติ  ไม่พบผลข้างเคียง  

2. ช่วยชะลอการย่อยแป้งในระบบทางเดินอาหารและทำให้การลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ดีขึ้น   เทคนิคการเลือกใบอินทนิลน้ำที่ดีเหมาะกับการนำมาทำยา  คือ ใบแก่ใกล้ผลัดใบ  นอกจากนี้  เมล็ดแห้งของอินทนิลน้ำก็สามารถช่วยลดน้ำตาลได้เช่นกัน”

วิธีการ

1. นำใบอินทนิลน้ำแก่ 100  กรัม  น้ำสะอาด 1 ลิตร  ต้มให้เดือด  

2. จากนั้นเคี่ยวไฟอ่อนอีก 15  นาที  ดื่มเป็นยาครั้งละ  1  ถ้วย  เช้า  กลางวัน  เย็น  ดื่มต่อเนื่องประมาณ  3  สัปดาห์  จึงสังเกตผลได้ หรือ

1. นำใบอินทนิลน้ำแห้ง  8-9 ใบ คั่วให้กรอบ  

2. นำมาต้มน้ำ  ดื่มต่างน้ำชา  สามารถต้มแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้  ดื่มได้เรื่อยๆ ติดต่อกันอย่างน้อย 12  หม้อ คำเตือน:  เด็ก  คนท้อง  และมารดาระหว่างให้นมบุตร คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ห้ามใช้อินทนิลน้ำ  ในคนที่เป็นเบาหวานควรมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดประจำเพื่อปรับขนาดยา 

หว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels  ชื่อวงศ์ Myrtaceae มีสรรพคุณดังนี้

1. มีฤทธิ์ของการลดน้ำตาลในเลือด

2. มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายอินซูลิน  ช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน   กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน  

3. เพิ่มปริมาณไกลโคเจนในตับ  

วิธีการ

1. นำเมล็ดสดของลูกว้า 100  กรัม (1ขีด) น้ำสะอาด 1 ลิตร

2. นำเมล็ดลูกหว้ามาโขลกใส่หม้อต้มให้เดือด  เคี่ยวไฟอ่อนๆ 15  นาที  ให้ตัวยาออกมา  กินครั้งละ  1 ถ้วยชา  วันละ  3 มื้อ  เป็นเวลา 1 เดือน  อาการเบาหวานจะทุเลาลง  สามารถลดยาหรือใช้สมุนไพรในการดูแลอย่างเดียวได้  แต่ควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดเสมอ (สามารถใช้เมล็ดแห้งแทนได้  ในกรณีไม่มีเมล็ดสด) หรือ

1. ยาผงหรือแคปซูลหว้า  นำผงลูกหว้าแห้ง  250 มิลลิลิตร  บรรจุแคปซูล  หรือใช้ละลายน้ำ  กินวันละ 3 เวลา  อาจเพิ่มขนาดได้ถึง 4 กรัมต่อวัน  ควรกินติดต่อกัน 1 เดือน  และสังเกตผลระดับน้ำตาลในเลือดนอกจากนี้ยังสามารถใช้ผลสดหรือผลแห้งของลูกหว้า มาต้มเป็นน้ำสมุนไพรลูกหว้า

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ใครที่กำลังเป็นโรคเบาหวานหรือมีญาติหรือคนรู้จักเป็นเบาหวานก็สามารถนำวิธีการด้านไปทำตามหรือไปบอกต่อแก่ผู้ที่เป็นเบาหวาน แล้วรอดูผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์ใจกัน แต่ถ้าอาการของเบาหวานยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์จะเป็นการดีที่สุด 

ที่มา...http://www.littleza.com/ / Cr. ThaiJobsGov.com