9 ประโยชน์ของขนุนที่เราไม่เคยรู้มาก่อน กินป้องกันมะเร็ง บำรุงประสาท ป้องกันภาวะโลหิตจาง

9 ประโยชน์ของขนุนที่เราไม่เคยรู้มาก่อน กินป้องกันมะเร็ง บำรุงประสาท และป้องกันภาวะโลหิตจาง

ขนุน เป็นผลไม้กลิ่นแรงที่หลายคนไม่ค่อยโอเคกับผลไม้ชนิดนี้สักเท่าไร โดยที่หารู้ไม่ว่าถ้ามองข้ามกลิ่นขนุนไป เราจะพบกับประโยชน์ของขนุนอีกมากมายจนคาดไม่ถึง และขอใบ้ให้เลยว่า ประโยชน์ของขนุนทั้ง หมดนี้ โอ๊ย…มันเด็ดดวงที่สุดอะ !

ขนุน ผลไม้ในหลากหลายชื่อ… เริ่มจากขนุนในชื่อภาษาอังกฤษที่เขาเรียกกันว่า แจ๊คฟรุต (Jackfruit) หรือในภาษาเหนือที่เรียกขนุนว่าบะหนุน ส่วนขนุน ภาษาอีสานก็เอิ้นกันว่า บักมี่ ส่วนในชื่อทางวิทยาศาสตร์ของขนุนมีอยู่ว่า Artocarpus heterophyllus Lam.

ขนุนเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงราว 15-30 เมตร เป็นต้นไม้มียางสีขาวคล้ายน้ำนม เมื่อตัดผลก็จะมีน้ำยางไหลออกมาเช่นกัน ตัวใบเป็นใบเดี่ยว ขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือช่วงธันวาคม-มกราคม และช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งส่วนดอกนี่แหละที่จะเจริญเติบโตเป็นผลขนุนทรงกลมค่อนไปทางวงรี และผลจะมีหนามเล็ก ๆ โดยรอบ ส่วนข้างในผลก็จะมีเนื้อให้เราได้รับประทาน พร้อมทั้งประโยชน์ที่หาได้จากผลขนุนอีกอื้อเลย


นอกจากนี้ขนุนยังมีอีก 9 ประโยชน์เจ๋ง ๆ ที่ดูได้จากบรรทัดข้างล่างนี้ด้วยนะ

1. ป้องกันมะเร็ง น่าจะเห็นมาจากข้อมูลด้านบนแล้วว่าขนุนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนต์ ทั้งยังมีวิตามินซีสูง ขนุนจึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากคุณค่าทางสารอาหารที่กล่าวมาจะช่วยปกป้องเซลล์ร่างกายจากการถูกทำลาย พร้อมทั้งช่วยซ่อมแซมเซลล์ในส่วนที่สึกหรอได้ด้วย

2. ป้องกันภาวะโลหิตจาง ขนุนมีทั้งธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือด รวมทั้งยังมีแมกนีเซียม ธาตุที่มีความสำคัญต่อเม็ดเลือดขาวอยู่อีกต่างหาก ฉะนั้นคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคโลหิตจาง ธาตุอาหารดี ๆ ในขนุนเหล่านี้จะช่วยปกป้องสุขภาพของคุณให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้

3. ลดความดันโลหิต อย่าลืมว่าขนุนเเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมค่อนข้างสูง จึงมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งก็แปลว่าเมื่อความดันโลหิตอยู่ในจุดที่สมดุล อาการโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน หรือปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดก็จะลดลงด้วยยังไงล่ะ

4. เสริมทัพระบบย่อยอาหาร ขนุนปริมาณ 100 กรัมมีไฟเบอร์ราว ๆ 3.6 กรัม ซึ่งนับว่ามีไฟเบอร์ค่อนข้างใช้ได้เลยล่ะ ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาท้องผูก หรือระบบย่อยไม่ค่อยทำงาน ขนุนก็ช่วยจัดการให้ได้ ที่สำคัญขนุนยังช่วยป้องกันลำไส้แปดเปื้อน เมื่อร่างกายขับถ่ายสารก่อมะเร็งออกทางลำไส้ใหญ่ด้วยนะ กินขนุนอ้วนไหม

5. นอนไม่หลับ ขนุนช่วยได้ นอนไม่หลับลองกินขนุนช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นดูสิ เพราะขนุนมีแมกนีเซียมและธาตุเหล็กที่จะช่วยสนับสนุนให้ฮอร์โมนเมลาโทนินทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เรานอนหลับสบายขึ้นนั่นเอง

6. บำรุงสายตาและผิวพรรณ วิตามินเอที่มีอยู่ในขนุนคือพระเอกของประโยชน์ข้อนี้เองค่ะ โดยเจ้าวิตามินเอในขนุนจะช่วยบำรุงสายตาให้มองเห็นชัดเจน ป้องกันโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อม ส่วนสรรพคุณด้านบำรุงผิวก็เพราะมีสารต้านความเสื่อมของผิวพรรณ และช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดและริ้วรอยอีกด้วย

7. รักษาแผลพุพอง แผลเปื่อย ยารักษาแผลเปื่อยและแผลพุพองบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง ทว่าขนุนไม่มีแน่ ๆ เพราะขนุนเป็นผลไม้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรียและไวรัส หนำซ้ำยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยปกป้องเซลล์ผิวหนังจากการถูกทำลายนั่นเอง

8. บำรุงกระดูก แคลเซียมดี ๆ ที่มีอยู่ในขนุนจะช่วยบำรุงดูแลกระดูกของเราได้ และหากอยากบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ขนุนจัดเป็นผลไม้ที่อยู่ในเมนูแนะนำอันดับต้น ๆ เลยล่ะ เนื่องจากไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยแคลเซียมเท่านั้น แต่ขนุนยังมีมิตรแท้ต่อแคลเซียมอย่างวิตามินซีและแมกนีเซียม ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

9. บำรุงประสาท ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะแบบนี้ต้องจัดขนุนด่วน ๆ เพื่อให้วิตามินและสารอาหารสำคัญต่อระบบประสาทอย่างไทอามีน ไนอาซิน และเกลือแร่เข้าไปช่วยบู๊ทพลังการทำงานของระบบประสาทและสมอง

นอกจากนี้ขนุนยังมีสรรพคุณทางยาอีกมาก อย่างที่เกริ่นไปในช่วงแรกว่าขนุนมีประโยชน์แทบทุกส่วน ดังนั้นมาลองดูกันเลยว่าขนุนจะมีทีเด็ดจากตรงไหนอีกบ้าง กินขนุนอ้วนไหม


สรรพคุณทางยาของขนุน

ใบ มีรสฝาด ใช้บดโรยแผลมีหนองเรื้อรัง

ราก บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท แก้โรคลมชัก

ยาง มีรสฝาด แก้แผลอักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

เนื้อหุ้มเมล็ดสุก บำรุงกำลัง บำรุงการทำงานของหัวใจ เป็นยาระบายอ่อน ๆ อีกทั้งยังนำไปหมักเหล้าได้

เนื้อในเมล็ด (จากเมล็ดขนุนต้ม) มีรสมัน บำรุงน้ำนม บำรุงกำลัง

เนื้อขนุนสุก เป็นยาระบายอ่อน ๆ

จากสรรพคุณทางยาดังกล่าว อาจตอบโจทย์คำถามสุดฮิตดังต่อไปนี้ได้ด้วย

ไม่ใช่น้อย ๆ เลยจริง ๆ กับประโยชน์และสรรพคุณทางยาของขนุน รู้อย่างนี้แล้วใครยังไม่เคยลิ้มลองขนุนเพราะเหม็นกลิ่นฉุน ๆ คงต้องคิดดูใหม่อีกทีแล้วล่ะเนอะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก… โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่