แชร์เก็บไว้เลย!! สอนวิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง มีพื้นที่น้อยก็เพาะได้ แถมยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย!! อย่างนี้มีแต่รวยกับรวย!!?

สำหรับวิธีการเพาะเห็ดเข็มทองมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดอื่นๆ คือ ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมเชื้อเห็ด โดยการนำเส้นใยเห็ดที่อยู่ในอาหารวุ้นพีดีเอขยายลงในเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่าน การฆ่าเชื้อมาแล้ว หลังจากเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างแล้วก็ให้นำเมล็ดข้าวฟ่างมาลงวัสดุ เพาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยวัสดุเพาะที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ



ขี้เลื่อยผสมรำละเอียดร้อยละ 10 ถึง 20 นอกจากนี้อาจจะผสมแกลบร้อยละ 5 ถึง 10 และอาหารเสริมอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเชื้อเห็ดแต่ละสายพันธุ์ ส่วนผสมของวัสดุเพาะควรมีความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 58 ถึง 62 นอกจากนี้ยังมีสูตรสำหรับการเพาะเห็ดอีกสูตรหนึ่งซึ่งประกอบด้วยขี้เลื่อย ไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม รำละเอียด 20 กิโลกรัม ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม น้ำ 60 กิโลกรัม

-วัสดุทั้งหมดนี้นำเข้าคลุกให้เข้ากันอย่างดี จะมีความชื้นร้อยละ 60-65 นำอาหารที่เตรียมนี้ไปบรรจุที่ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 คูณ 12 นิ้ว อาจบรรจุในถุงพลาสติกอัดได้ อัดให้แน่นจะได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม ใส่คอขวด ปิดจุกสำลี นอกจากนี้อาจใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้ ความจุ 1 ลิตร ปากกว้าง 6 เซนติเมตร ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติกแบบมีที่กรองอากาศ ซึ่งนิยมทำกันมากในประเทศญี่ปุ่น



สำหรับในประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ ขี้เลื่อยผสมกับรำละเอียดในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 แต่ในประเทศอเมริกาใช้ข้าวโพดบดแทนขี้เลื่อย หลังจากนั้นให้นำขวดหรือถุงเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องที่อุณหภูมิ อยู่ระหว่าง 18 ถึง 20 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 25 ถึง 30 วัน เชื้อก็เจริญเต็ม เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวดหรือถุง

ให้เปิดฝาออกแล้วใช้เหล็กปลายแบนงอเหมือนช้อน ขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็นเชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ นำไปไว้ หรือลดอุณหภูมิห้องลงมาที่ 10 ถึง 15 องศาเซลเซียส แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด ความชื้นร้อยละ 80 ถึง 85 ไม่ต้องใช้แสงสว่าง รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ ใช้เวลา 5 ถึง 10 วัน ก็จะสร้างตุ่มดอก แล้วเลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 ถึง 3 เซนติเมตร

หลังจากนั้นให้นำแผ่นพลาสติกหรือกระดาษห่อหุ้มปากขวดหรือปากถุงเป็นทรงกรวย เพื่อประคองให้ลำต้นขึ้นตั้งตรงเป็นกลุ่ม จนกระทั่งได้ดอกสูง 12 ถึง 14 เซนติเมตร จึงเอาพลาสติกออกเก็บดอกเห็ดโดยจับโคนดอกบิดดึงให้หลุดออกทั้งกอ เพราะบริเวณโคนดอกจะเชื่อมติดกันด้วยเส้นใยเห็ด เก็บดอกครั้งเดียวเพราะดอกชุดต่อไปจะออกน้อย คุณภาพไม่ดีไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่าย ระยะเวลาตั้งแต่สร้างตุ่มดอกจนถึงเก็บเห็ดได้ใช้เวลา 25 ถึง 28 วัน ได้ผลผลิต 150 ถึง 200 กรัมต่อขวด เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต



และให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี ลำตันอวบแน่น จึงจำเป็นต้องเปิดดอกที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 3 ถึง 8 องศาเซลเซียส พร้อมทั้งให้แสงสว่างและเพิ่มการถ่ายเทอากาศมากขึ้น ความชื้นประมาณร้อยละ 85 ก็จะทำให้ได้ผลผลิตสูง รวมทั้งดอกเห็ดก็มีคุณภาพด้วย

ในสมัยก่อนเห็ดเข็มทองเป็นเห็ดเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี เป็นต้นนำเข้ามาขายในประเทศไทยในราคากิโลกรัมละหลายร้อยบาท เพราะต้องขนส่งทางเครื่องบิน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะและส่งไปขายในประเทศไต้หวันได้แล้วโดย



เฉพาะในโรงเพาะเห็ดในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งสามารถผลิตได้วันละเกือบ 5 ตัน นอกจากนี้ก็ยังมีโรงเพาะเห็ดในจังหวัดปทุมธานี และโรงเพาะเห็ดที่จังหวัดชลบุรีที่สามารถผลิตออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ภายในประเทศ ทำให้ราคาของเห็ดเข็มทองนั้นปัจจุบันเหลือแค่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทเท่านั้น เอง ดังนั้นท่านผู้ฟังหรือเกษตรกรที่สนใจจำเป็นต้องสร้างห้องเปิดดอกที่ใช้ เครื่องปรับอากาศควบคุมอุณหภูมิ โดยเห็ดเข็มทองจะใช้อุณหภูมิเปิดดอกที่ 5 ถึง 15 องศาเซลเซียส โดยเกษตรกรต้องเก็บครั้งเดียวทั้งหมด แล้วจึงนำก้อนเห็ดรุ่นใหม่ลงเพาะได้ เห็ดเข็มทองจะให้ผลผลิตถุงละประมาณ 270 กรัม โดยมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท



ต้นทุนครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ สำหรับราคาจำหน่ายก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อหักต้นทุนแล้วการจำหน่ายเห็ดเข็มทองจะได้กำไรจากการขายส่ง กิโลกรัมละ 20 ถึง 40 บาท ซึ่งเห็ดเข็มทองยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก เพียงแต่ท่านผู้ฟังหรือเกษตรกรต้องมีความพร้อม และศึกษาด้านการเพาะอย่างจริงจัง ก็สามารถผลิตในเชิงการค้าได้

ที่มา : ศูนย์รวมความรู้การเกษตร
รูปภาพจากอินเตอร์